ผมเชื่อว่าเราน่าจะเห็นภาพกันพอสมควรว่า ธุรกิจที่เติบโตมา 40-50 ปี วิทยุโทรทัศน์-วิทยุกระจายเสียง ถูกสื่อใหม่ช่วงเวลาไม่ถึง 10 ปีแย่งชิงมวลชนอย่างราบคาบ แต่ถามว่าเราจะต้องทิ้งธุรกิจวิทยุโทรทัศน์ไหม ? มันคงเป็นไปไม่ได้ มันเป็นสื่อที่มีต้นทุนการเข้าถึงต่ำมากๆ โดยเฉพาะคนที่ด้อยโอกาสขาดโอกาส
ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ สิ่งที่เราจะต้องตอบโจทย์เรื่องทีวีให้ได้ก็คือ ’คุณค่าและคุ้มค่า‘ เรามักจะพูดถึงความมีคุณค่าของสถานีหรือองค์การเราเสมอ แต่เราก็มักจะถูกตั้งคำถามถึงความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจอยู่เสมอ และค่อนขอดด้วยเงิน 2,000 ล้าน++ อยู่เสมอ
อันนี้เป็นประเด็นที่ผมคิดว่ากับทีวีกับสื่อดั้งเดิมเรายังจำเป็นต้องยึดเอาไว้ ขณะเดียวกันสื่อใหม่เราต้องปรับตัว ปรับตัวไม่ได้หมายถึงการกระโจนเข้าสู่สื่อใหม่ในแบบที่ทุกแพลตฟอร์มทุกพื้นที่ แต่เราต้องทำความเข้าใจกับสิ่งนั้นอย่างลึกซึ้ง วันนี้เจนเอ็กซ์เจนวายค้นหาข้อมูลผ่าน Google เจนซีค้นหาผ่าน TikTok เจนอัลฟ่าบอกวันนี้ถาม ChatGPT, Gemini แต่คำถามคือเมื่อกระโดดเข้าสู่เทคโนโลยีใหม่ ๆ ช่องทางใหม่ เรารู้หรือเปล่าว่า AI ที่เราใช้อะไรอยู่เบื้องหลังตรงนั้นบ้าง เรารู้วิธีใช้เราไปถึงตรงนั้นแต่เราอาจจะยังไม่ได้เข้าใจวิธีการจัดการ
ซึ่งสินค้าข้อมูลข่าวสารเป็นสินค้าสาธารณะ ซึ่งเรามีหน้าที่บทบาทในการทำสิ่งเหล่านี้ให้กับประชาชน ผมมองเรื่องของ Pestel Analysis คือโมเดลการวิเคราะห์ในภาพรวม ผมมองเป็นสองมิติ มิติหนึ่งก็คือว่าถ้าเรามีหน้าที่ในการส่งสินค้าหรือข่าวสาร Politics ไทยพีบีเอสเป็นตัวต่อเนื่องจาก itv ที่เกิดขึ้นหลังพฤษภาที่มีคนล้มตายเพราะเข้าไม่ถึงข้อมูลข่าวสาร มีปัญหาเพราะโครงสร้างผู้ถือหุ้น โครงสร้างใหม่ที่เกิดขึ้นกับไทยพีบีเอสผ่านมายังมีคนล้มตาย ด้วยอาจจะเข้าไม่ถึงข้อมูลมีคนควบคุมข้อมูลคนสังเคราะห์ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเพียงพอให้
Economics วันนี้เศรษฐกิจภูมิศาสตร์แบ่งเป็น 2 ขั้ว แต่ประชาชนคนไทยยังไม่เข้าใจการทำ Personal finance หรือการเงินส่วนบุคคล จะใช้ยังไง ? จะจ่ายยังไง ? ภาพใหญ่ที่เราพูดถึงเรื่องของเงินเฟ้อเงินฝืด ผมว่าอันนั้นเป็นภาพที่สำคัญ แต่การที่ย่อยให้ง่ายที่สุดเรายังทำหน้าที่ได้ไม่พอใช่ไหม ? ผมยังคิดว่าเราจำเป็นต้องท้าทายกับเรื่องนี้
เรื่องทางสังคม Sex Crime Violence น้ำเลือด-น้ำกาม-น้ำหนอง นองผ่านทางสื่อเต็มไปหมด เราจะทำยังไงให้มีภูมิคุ้มกันในการที่จะป้องกัน เรามีสก๊อยเรามีแว๊น เราปฏิเสธไม่ได้นะครับว่าเรามีความจำเป็นจะต้องทำบาง ข้อมูลบางส่วนให้เข้าถึงสก๊อยและแว๊น แม้กระทั่งเด็กที่ท้องก่อนวัยอันควร เราควรต้องมีช่องทางในการสื่อสารให้กับเขา
เทคโนโลยีมีการเร่งตัว Mobile first เราพูดถึงเทคโนโลยีพูดถึงการใช้ถึงการกลัวตกขบวน แต่การใช้อย่างมีประสิทธิภาพใช้อย่างรู้ทัน ผมคิดว่าเป็นหน้าที่ของเรา
Environment สิ่งแวดล้อม ผมเชื่อว่าเรายังเจอปลาต่างถิ่น ฝุ่นจากการเผา แต่ผมเชื่อว่าเราสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ประเทศไทยและทั่วโลกใช้หลอดน้อยลงเพราะว่าหลอดไปติดที่จมูกเต่าและภาพนั้นกระจายไปทั่วโลก คนลดการใช้หลอด, Project me too และอีกหลายอย่างที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าเข้าใจบริบทของสื่อ
เรื่องของกฎหมายครับ ทรัพย์สินทางปัญญา, การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลแม้กระทั่งสิทธิผู้บริโภค เรายังไม่สามารถที่จะทำให้ประชาชนได้รับสิทธิ์ที่ตัวเองควรที่จะรับสิทธิ์ได้ นี่คือสิ่งที่ผมคิดว่าเป็นโจทย์ใหญ่ ในกรณีที่เรามองเรื่องภาพสื่อที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมหรือการกำกับดูแลออนไลน์และสื่อทั่วไป เรามีหน้าที่ในการถูกพูดถึงและเรามีหน้าที่ในการสร้างภูมิคุ้มกันให้ได้ และเราจะต้องเข้าสู่การทำเนื้อหาอย่างฉลาด น่าสนใจ สนุกน่าตื่นเต้นและมีคนติดตาม
5’ Forces Model ได้มีการพูดถึงในตัวอุตสาหกรรม ผู้เล่นใหม่ยังคงตั้งคำถามไม่ได้ครับว่ามันจะเกิดอะไรขึ้น หลังจากหมดใบอนุญาตการแข่งขันชะงักตัวกันอยู่แบบนี้ เราอยู่ในสภาวะที่กลับไม่ได้ไปไม่ถึง นี่คือสื่อที่ควรหรือตามเทคนิคอยู่ภายใต้การกำกับดูแลควรจะต้องส่งผ่านข้อมูลที่ดี ดีไม่ได้หมายถึงดีที่เรตติง คุณค่าที่ถูกกรองแล้วและมีการกำกับดูแล แต่ปรากฏว่าสื่อในภาพรวมกำลังง่อยเปลี้ยเสียขา ส่วนนึงเป็นเพราะว่าเราเจอสื่อใหม่ที่กลายมาเป็นสินค้าทดแทนกลายมาเป็นสินค้าและกลายมาเป็นสินค้าหลักแล้ว ผู้บริโภคที่อยู่ขวาสุดเขามีทางเลือกมากขึ้น แต่เมื่อเรายังยืนอยู่บนแพลตฟอร์มทีวีวิทยุโทรทัศน์หรือสื่อที่ต้องถูกกำกับดูแลเราจะยืนอย่างไร ?

สิ่งที่ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุดก็คือว่า ไทยพีบีเอสสามารถสร้างคุณค่าของตัวเอง และสร้างคุณค่าผ่านสื่ออื่น ๆ ได้ สิ่งหนึ่งที่เราเสียทิ้งไปเยอะมากก็ถือว่าถ้าไทยพีบีเอสเราอยากทำสื่อที่ดี และเรายังอยากให้ทีวีช่องทั้งหลายที่มีความประสงค์จะอยู่ภายใต้ภายใต้การกำกับดูแลยังอยู่ได้
ผมคิดว่าถ้าวันนี้เราออกหมายกันทีนึง 30 หมาย เราสามารถแชร์ฟุตเทจกันได้เลยครับ เรายังไม่รู้นะครับว่าอนาคตของการให้ความถี่จะเป็นอย่างไร แต่สถานีที่จะอยู่กับเราต่อไปในอนาคต จะไม่ต้องลงทุนมากกับการที่จะเอากล้องจำนวนมากไปตะลุยถ่ายในบางเรื่องที่ซ้ำ ๆ กัน แชร์ฟุตเทจ คุณค่าของไทยพีบีเอสจะไม่ได้อยู่เฉพาะในไทยพีบีเอส
12 นาทีต่อมาผมขอพูดถึงเรื่องของการเปลี่ยนแปลงที่ผมอยากจะให้เกิดขึ้นและชวนให้ได้เห็นตาม เรื่องของ Digital Transformation ผมคิดว่าเราจำเป็นจะต้องปรับ เราจำเป็นจะต้องเปลี่ยน เราจำเป็นจะต้องใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด
เรื่องของ Attractive Content Creation เราถูกตั้งคำถามเสมอว่า เราเป็นห้องสมุดที่มีของดีแต่มีคนเข้าถึงน้อยโครงสร้างการเปลี่ยนแปลงของสังคมจำเป็นจะต้องรู้และเข้าใจ สังคมถกเถียงอย่างมากครับว่า ลิซ่าแต่งตัวไม่เหมาะสม คอมเมนต์บนพื้นฐานของความรักความชอบ แต่เบื้องหลังมันมีเหตุผลมันมีความหมายมีภาพตัวแทนตรงนั้นอยู่ เราสามารถที่จะทำหน้าที่ในการช่วยขยายเพื่อให้เกิดความเข้าใจขึ้น ซึ่งองค์กรจะต้องทำหน้าที่และเข้าใจ Public Viewer Explanation
ผมต้องการให้แว๊นได้มีโอกาสดู ผมต้องการให้เด็กได้มีโอกาสได้ดู ไม่ใช่สถานีของชนชั้นกลางในเมืองที่ถอดความหมายและนัยยะที่เข้าใจยาก มันจะต้องเข้าใจง่ายขึ้น และผลลัพธ์ของการเข้าถึงจะต้องตอบ Reach impact frequency ไม่ใช่แค่ชมเพื่อชม ชมเพื่อรู้ Financial sustainability ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญและควรตั้งคำถามกับไทยพีบีเอส ไทยพีบีเอสสามารถมีรายได้จากแหล่งที่มาของเงิน จากการทำ Co-creation กับหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ ผมยกตัวอย่าง ที่สหราชอาณาจักรมีรายการ retain got talent, BBC บอกฉันก็จะต้องทำประกวดเพื่อให้ได้ตัวแทนที่เป็นตัวละคร
ผมชื่นชมรายการคุณพระช่วยที่เอาคอนเทนต์ไทยมานำเสนอในแบบที่น่าสนใจ เราเห็นคนแข่งเรือยาว เราเห็นเด็กที่กำลังใช้มอเตอร์ไซค์ขับแข่งกันเต็มไปหมด เราประกวดทำเครื่องยนต์เรือยาวแข่งขันกับเรือที่นนทบุรี ชาวบ้านมีกิจกรรม บริษัทเอกชนเข้ามาสนับสนุนเอกชนไทยสามารถสร้างนวัตกรรมได้ กิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้สามารถขายได้เชิงสังคมนวัตกรรมท้องถิ่นและตอบโจทย์ในแง่ของโมเดลที่จะทำให้ไทยพีบีเอสมีแหล่งที่มาของเงิน เพื่อสร้างเนื้อหาที่ไม่ใช่แค่เนื้อหา มันจะสามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคมได้
ท้ายที่สุดไทยพีบีเอสจะต้องทำหน้าที่เป็น Public Change Agent เราเจอปัญหาที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชาทะเลาะกันบนโลกออนไลน์ ทั้งที่จริง ๆ แล้วเป็นวัฒนธรรมร่วม แล้วเราก็ปล่อยให้สิ่งนั้นมันเกิดขึ้นนี่คือปัญหา ขณะเดียวกันเราไปวัดอรุณราชวรารามเราเจอคนต่างศาสนิกมาที่วัดอรุณแล้วไปถ่ายภาพที่นั่น เราไปอยุธยาเราเจอคนจีนใส่ชุดไทยถ่ายที่อยุธยา ถามว่าเขาดูมาจากไหนเขาดูมาจาก TikTok เขาดูคอนเทนต์มาจากออนไลน์ แต่ถามว่าคุณค่าของเนื้อหาที่เราจะเสริมจะใส่จะทำหน้าที่ ทำได้มากกว่านี้
สิงคโปร์อยากจะเป็นตัวแทนสื่อในอาเซียนแต่สิงคโปร์ก็เล็กเกินไป ในขณะที่จีนก็ใหญ่เกินไปและมีประเด็นเบื้องหลังที่หลายคนอาจจะตั้งคำถาม ในตะวันออกกลางมีอัล จาซีราพื้นที่ของคนนำเสนอข่าวสารในภูมิภาคนั้น ไทยพีบีเอสเราสามารถที่จะทำได้ ผมเชื่อว่านี่เป็นสิ่งที่เราต้องผลักดันเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ในแง่ของข่าวสาร
แต่ในแง่ของหน้าสถานีหน้าเนื้อหาทั้งหมดในทุกช่องทางและแพลตฟอร์มจะต้องประกอบไปด้วย 4 ส่วน
1.Edutainment ดูแล้วสนุก สนุกไม่ได้หมายถึงบันเทิง สารคดีก็สนุกได้ ประกวดประขันก็สนุกได้ข่าวก็สนุกได้ ผมยกตัวอย่างง่าย ๆ มีกิจกรรมเกิดขึ้นที่ประเทศเกาหลีใต้ การประท้วงสภาพดราม่า สภาพการเมือง การไปประท้วงหลายอย่างเหมือนในเมืองไทยสนุกมาก ผมอยากดูผมอยากเห็นแต่ผมไม่เห็นสถานีไหนไปทำ แม้แต่สถานีในประเทศไทย ผมคิดว่าบางสถานีเขาเงินไม่พอ หรือของเราไม่มองว่ามันมีความหมายมากกว่าข่าว สนุกแล้วจะต้องสามารถที่จะน่าสนใจ น่าติดตามและตื่นเต้นไปกับมันได้
ถ้าเราจะทำเนื้อหา Edutainment ทำเนื้อหาด้านสุขภาพ คอนเทนต์ด้านสุขภาพนี้สนุกน่าติดตามและสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ ผมบอกโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขว่า ถ้าคุณเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำเนื้อหาร่วมกับไทยพีบีเอส เช่น ช่วง 6 โมงหรือ 7 โมง เป็นช่วงเวลาที่ควรจะออกกำลังมีการขยับร่างกาย เปิดทีวีไทยพีบีเอสพร้อมกับมีแพทย์ อาสาหรือกระบวนกรอยู่ในแต่ละโรงพยาบาล ใครอยากดูทีวี ใครอยากดูแล้วมีกิจกรรมร่วม ใช้ไทยพีบีเอสเป็นสื่อที่สร้างประสบการณ์ร่วมตรงนี้ได้
นอกเหนือจากนี้เราสามารถทำอะไรได้มากกว่านี้เพราะเวลาเราพูดถึงทีวี วันนี้เราบอกว่ามันคือสื่อที่เป็นลำดับรอง บางคนเล่นมือถือระหว่างดูทีวีเปิดทีวีทิ้งไว้ เราสามารถที่จะเปลี่ยนเป็นดูทีวีดูสารคดีดูรายการเรื่องนี้แต่รายการมีฟุตเทจขนาดยาวเอามือถือส่อง QR Code หรือเนื้อหาก่อนที่จะมีรายการนี้มีงานวิจัยสนับสนุน หรืออยากจะโหวตร่วมกับรายการนี้ เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยสามารถส่อง QR Code ได้
มากไปกว่านั้นเราสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าเราสร้างเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการเที่ยวอยุธยา ผมบอกคนดูทีวีสนุกทำให้คนสนใจไปเดินไปดูและท้ายที่สุด กระทรวงวัฒนธรรมอยากจะทำงานร่วมกับไทยพีบีเอสหรือหน่วยงานเอกชน ดูรายการนี้เสร็จพก VIPA หรือพกโทรศัพท์มือถือของไทยพีบีเอส แล้วพอไปถึงที่อยุธยา “สวัสดีครับ ผมอภิรักษ์ นี่คือส่วนนี้..ส่วนนี้…ส่วนนี้.. Augmented reality สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะในพ.ร.บ. ข้อ 8 (4) พูดถึงการผลิตสื่ออื่นน ๆ เพื่อสร้างประโยชน์สาธารณะได้ด้วย ข่าวกับรายการจะอยู่ในข้อ 7 (1) (2) (3) ประชาธิปไตย (4) การมีส่วนร่วม (5) แต่วงเล็บที่แปดเราสามารถสร้างเนื้อหาได้มากไปกว่านี้
เราสามารถสร้างพื้นถิ่นที่เป็นทีวีแบบ BBC Scot, NHK ที่สร้างมูลค่าจากตัวพื้นถิ่นได้ ขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตรงนี้เราสามารถที่จะนำไปสู่กลุ่มผู้ชมที่เด็กลงเนื้อหาที่ร่วมสมัยมากขึ้น คนเจนเอ็กซ์เจนวายไปเดินเยาวราช คนเจนซีเจนอัลฟ่าไปเดินทรงวาดซึ่งอยู่ใกล้กันนิดเดียว เนื้อหา Contemporary สามารถเกิดขึ้นได้ เป็นกระแส ถ้าไทยพีบีเอสคือเรือ เครื่องยนต์คือสิ่งที่เราจะพาไป ลมหรือกระแส Talk of the town ต้องเข้าใจ เราไม่สามารถตำหนิครับ รายการโทรทัศน์รายการโทรทัศน์หรือออนไลน์ทั้งหมดนี้สนใจเรตติงมากกว่า Responsibility แต่เราต้องทำอย่างไรให้เรตติงเราเพิ่มด้วยเป็นกระแส Catching the Moment ได้
Enable People สิ่งที่เป็นสินค้าของไทยพีบีเอสคือข้อมูลสาธารณะ แต่ถ้าคนเข้าถึงข้อมูลสาธารณะน้อย 2,000 ล้านจะถูกตั้งคำถามเสมอ และการเข้าถึงไม่ใช่เพียงแค่การเข้าถึง เราคาดหวังว่าผลของการเข้าถึงว่าจะเปลี่ยนแปลงได้
Enterprise funding program for tax reduction of sponsorship ผมอยากจะชวนผลักดัน ถ้าวันนี้โรงเรียนเอกชนมีส่วนได้รับสิทธิพิเศษบางอย่างเพราะว่าคืนกำไรสู่สังคม คนที่มาสนับสนุนไทยพีบีเอสควรจะได้รับสิทธิบางอย่างด้านภาษี การปรับเรโชว์ โปรแกรม ผมคิดว่าเราต้องขยับ วิธีการดูคนเสพสื่อ ณ วันนี้มันมีทั้ง Nonlinear และ linear และถามว่าสิ่งที่เป็นออนไลน์เรามีข้อมูลเราสามารถวิเคราะห์ได้ แต่สิ่งที่เป็นทีวีเราก็สามารถใช้ข้อมูลตรงนั้นได้ แต่ปัญหาคือคนที่ทำทีวีวิทยุส่วนใหญ่มักมองว่าตัวเองเป็น Trend Center ซึ่งวันนี้ไม่ใช่ ต้องอ่านข้อมูลและมองให้ออกว่าจะนำเสนอตรงไหน
Internationalization ที่ผมได้นำเสนอไปเมื่อสักครู่ Face of Thailand a national media agency เนื้อหาของเราจะต้องเป็นประโยชน์และสามารถเป็นจุดยืนของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ได้ ท้ายที่สุดเราจะต้องยืนบนขาตัวเองได้ถ้าในอนาคตจะเกิดอะไรขึ้น แต่ผมเชื่อว่าไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นไทยพีบีเอสจะต้องทำหน้าที่ในการยืน เป็นแก่นสำคัญในการที่จะพิทักษ์ภูมิทัศน์ให้แข็งแรงต่อไป เราจะเป็น Game Changer นิยมชมชอบยอมรับนับถือ รายการ, เนื้อหา เราต้องมีแหล่งที่มาที่ประชาชนไว้วางใจ
ท้ายที่สุดนี้ผมชวนให้ได้เห็นขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลงโดยการใช้โมเดลของ Mckinsey 7S Framework เราต้องแชร์คุณค่าให้ทุกคนได้เห็นร่วมกัน เราต้องปรับยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกับวิธีการที่เห็น จะ lean จะปรับจะเข้าถึงอย่างไรโครงสร้างต้องยอมรับครับว่าต้องมีการเปลี่ยน ไม่ได้บอกว่าจะต้องตัดตรงไหนส่วนไหน แต่ผมเชื่อว่าจำเป็นต้องเปลี่ยน และปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้พนักงานมีองค์ความรู้ใหม่ ๆ ทัศนคติ ความรู้ใหม่ ๆ และระบบที่กรรมการซึ่งมีหน้าที่ในการตรวจการบ้านผู้บริหารหรือพนักงานรู้อยู่ตลอดเวลา แม้กระทั่งมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นสามารถรู้เลยว่าผิดตรงไหน พลาดตรงไหน และเรตติงในวันนี้เป็นอย่างไรไปไม่ถึงเพราะอะไร ?
ผมทำสื่อมาตั้งแต่ปี 40 ผมทำที่ Atime media, GREEN WAVE, GMM Grammy และผมทำ itv ต่อเนื่อง จนได้บริหารช่องแปดกลุ่ม GMT-SPORT และตำแหน่งสุดท้ายในฐานะนักบริหารก็คือ เป็นรองเจ้าหน้าที่บริหารและประธานเจ้าหน้าที่ด้านการสื่อสารการตลาดบริษัทยา และเป็นกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ นี่คือสิ่งที่ผมเข้าใจในวิธีการบริหารและการจัดสรรเงิน
ผมเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นตัวแทนอาจารย์คณะพาณิชย์ไปสอนที่คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน 6 ปี เรื่องวิธีการประกอบธุรกิจและสอนให้กสทช. เคยเป็นที่ปรึกษาให้ธุรกิจเอกชนด้านการสื่อสาร ผมจบ BBA MBA และกำลังทำ Ph.D ด้านการสื่อสาร
ถาม-ตอบ เรายังต้องมีสื่อสาธารณะ จากความศรัทธาเรื่องกระจกกับตะเกียง
ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานคณะกรรมการสรรหาผู้อำนวยการ สสท. ถาม คุณอธิรักษ์ตอบ
Q1 : คุณอภิรักษ์เคยมี track record ในการเป็นผู้นำที่ Transformation องค์กรต่าง ๆ ที่คุณได้พูดชื่อมาเมื่อสักครู่ ให้เจริญก้าวหน้า หรือให้ผ่านวิกฤตมาได้อย่างไร และจะเอาประสบการณ์นั้นมาช่วยทรานฟอร์มไทยพีบีเอสไปสู่อนาคตได้อย่างไร

A : บางท่านอาจจะเห็น แต่ไม่ทราบมาก่อนว่าผมเคยเป็นโปรดิวซ์เซอร์ / บรรณาธิการ รายการไอที ของ itv ตอนนั้นผมมองว่าไม่ได้มีหน้าที่เฉพาะนำเสนอเนื้อหาไอทีเท่านั้น แต่เราเป็นแหล่งในการสร้างการเปลี่ยนแปลง การรายงานสดอินเทอร์เน็ตข้ามประเทศครั้งแรกในโลก เกิดขึ้นที่ itv โดยการนำกล้องเปลี่ยนจากเทปเป็นไฟล์แล้วนำไฟล์มาหั่นย่อย ๆ แล้วอัปโหลดผ่าน Yahoo แล้วค่อย ๆ เก็บมาผนวกเป็นไฟล์ นั่นคือมาตรฐานในช่วงประมาณเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา ที่สถานีโทรทัศน์ไทยและทั่วโลกใช้อยู่ นี่คือการเปลี่ยนแปลงเป็นตัวอย่างในเรื่องของนวัตกรรม
สถานีโทรทัศน์ News18 ที่ผมเคยเข้าไปเป็นผู้อำนวยการสถานี และผู้อำนวยการฝ่ายข่าวและสถานการณ์ปัจจุบัน เคยถูกตั้งคำถามว่าเป็นสถานีที่ซัพพอร์ตเฉพาะสีใดสีหนึ่ง ส่วนที่แข็งแกร่งที่สุดของสถานีนั้น ณ ตอนนั้นมีอยู่สองอย่างใกล้เคียงกับไทยพีบีเอส คือ 1. สารคดี 2. ข่าวสาร
ผมเปลี่ยนภาพอัตลักษณ์องค์กรแบบเดิม โลโก้ ภาพลักษณ์ สัดส่วนรายการให้ตอบโจทย์ความเป็นกลาง และเป็นประโยชน์กับสังคมมากขึ้นโดยมีข้อกังขาน้อยที่สุด ภายนอกหากได้มีโอกาสสังเกตจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็น สีเหลืองและสีน้ำเงิน จนผมถูกตั้งคำถามว่าสถานีนี้ ทำไมถึงเชิญคนสีนั้นสีนี้มาได้ ถ้าเราต้องการที่จะเป็นสื่อที่แท้จริง เราต้องวางตัวเองอย่างบาลานซ์ ความเป็นกลางผมเชื่อว่าหายากแต่ความเป็นธรรมคือ Philosophy ที่ต้องมีอยู่ โดยให้โอกาสทุก ๆ ฝ่าย
ผมศรัทธาเรื่องกระจกกับตะเกียง แม้กระจกไม่ชี้นำแต่ถ้ากระจกเปื้อนก็ส่องผิด และตะเกียงถ้าใส่เลนส์สีต่างกันก็ทำให้ผลต่างกัน ถ้าเราบาลานซ์เป็นกลางจะสามารถเปลี่ยนแปลงตรงนี้ได้ และทุกองค์กรที่ผมจะเข้าไปปรับโครงสร้าง วิธีคิด กระบวนทัศน์ในการทำ Training, Mentor และ Coaching นี่คือผลของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
กับสถานีทีสปอร์ตที่วันนี้อยู่บนฟรีทีวีแพลตฟอร์ม เมื่อก่อนเรื่องของกีฬามักมาคู่กับการพนัน โจทย์ของผมที่เข้าไปทำกับบริษัทเอกชนและการกีฬาแห่งประเทศไทยคือ ทำอย่างไรให้คอนเทนต์กีฬาเป็นมากกว่าการรายงานผลกีฬา ผมเข้าไปเปลี่ยนและทำให้คอนเทนต์กีฬา เข้าถึงผู้คนได้มากขึ้น สนุกได้มากขึ้น โดยที่ไม่จำเป็นต้องแปดเปื้อนกับเรื่องพนันออนไลน์ ซึ่งก่อนหน้านี้มีเยอะมาก ๆ
นอกเหนือจากนี้ผมเป็นผู้ทำ Training ให้กับหลายสถานี ทั้งช่องที่มีเรตติงดีที่สุด ช่องที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด ด้วยการที่ผมเทรนมาจาก BBC Training Center ซึ่งไม่มีใครไปเรียนด้านนี้ แต่ผมคิดว่ามีความจำเป็น และสิ่งที่เราได้ คือ เพิ่มจำนวนนักสื่อสารจำนวนมากเข้าสู่ระบบ แล้วก็มีหลายคน ผู้ประกาศ นักข่าว ที่แปลงตัวเองมาเป็นผู้นำเสนอข่าว ที่สร้างการเปลี่ยนแปลง
ผมได้ระบุไว้ในนโยบายว่าเราจำเป็นต้องเพิ่ม นักสื่อสารสาธารณะมืออาชีพ อยู่ในเอกสารของผม
วันนี้เราอาจจะต้องร่วมมือกับบางคนเช่นคุณกรุณา บัวคำศรี พาแฟนของเขามาเป็นแฟนของเรา มาร์ก ต้วน ชาวต่างชาติที่เล่าเรื่องเผ็ดเผ็ดได้เป็นอย่างดี ต้องขอเค้าให้ช่วย แต่เราไม่พร้อมที่จะบอกว่า เราจะจ่ายตังค์เขาในราคาแพงที่สุด เพื่อมาทำงาน แต่เราต้องขอแล้วบอกว่า งานที่เขาจะมาร่วมกับเรามีคุณค่าอย่างไร
Q2 : สมมุติว่ามีบางฝ่าย ผลักดันอยากแก้ไขกฎหมายจัดตั้งไทยพีบีเอส เพื่อลดบทบาทการเป็นสื่อสาธารณะ ไปเป็นเชิงพาณิชย์ หรือสื่อของรัฐ เพราะเหตุผลว่า ภูมิทัศน์สื่อเปลี่ยนไปแล้ว ไม่จำเป็นต้องมีแล้ว คุณอภิรักษ์จะอธิบายต่อรัฐสภา ซึ่งเป็นคนที่พิจารณากฎหมายและอธิบายต่อประชาชนว่าอย่างไร ว่าสื่อสาธารณะยังมีความจำเป็น
A : ผมชื่อว่าเรายังต้องมีสื่อสาธารณะ ณ วันนี้ด้วยเหตุผลกลใดก็ไม่ทราบ ที่ทำให้มีชื่อสื่อสารธารณะแต่ยึดโยงกับกองทัพยึดโยงกับรัฐบาลซึ่งไม่ใช่รัฐและไม่ใช่ประชาชน มักจะถูกทำให้ไขว้เขวอยู่เป็นประจำ มีสื่อสาธารณะที่ถูกระบุว่าเป็นสื่อสาธารณะเพื่อการกีฬา แต่สื่อสารธารณะแท้ ๆ คือ ไทยพีบีเอส ผมคิดว่ายังจำเป็นต้องดำรงอยู่
คำถามที่ค่อนขอดก็คือว่า คุณค่าของไทยพีบีเอส มันดูไม่เพียงพอเมื่อเทียบกับเม็ดเงินที่ใส่เข้าไป ผมคิดว่าในการสร้างการเปลี่ยนแปลงเราสามารถทำได้ แต่สิ่งหนึ่งที่เราจะต้องตอบฝ่ายการเมืองและพิสูจน์กับประชาชนก็คือว่า คุณค่าของไทยพีบีเอสมันจะไม่ได้อยู่บนหน้าจอของไทยพีบีเอส ถ้าเรายอมรับว่าทีวียังต้องมีวิทยุยังต้องมี และต้องมีทางเลือกให้กับประชาชนในการดูช่องต่าง ๆ และช่องต่าง ๆ ที่ต้องมีต้นทุนที่สูงขึ้น อาจต้องบาดเจ็บล้มตาย
วันนี้เราไม่มีรายการดี ๆ ใหม่ ไม่มีละครดี ๆ ใหม่ ประชาชนไม่มีเครื่องประเทืองปัญญาใหม่ ผ่านสถานีอื่น ๆ ที่เขาต้องสู้กับเรื่องเศรษฐกิจ แต่ไทยพีบีเอสทำได้ เรามีสถานที่เพียงพอที่จะแบ่งปันในหลากหลายมิติ ถ้าวันนี้สถานีโทรทัศน์ต้องออกไปทำข่าวประมาณ 30 หมาย ไทยพีบีเอสต้องคิดไว้เลยว่า 10 หมายของเรา จะต้องขึ้นไว้ในดาตาเซ็นเตอร์ของเราเป็นฟุตเทจ
สื่ออื่นจะประหยัดเงินกับทีมในการทำคอนเทนต์ไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งแน่นอน ถ้าเขาอยากได้คอนเทนต์แบบ Exclusive ก็ทำเองได้ แต่ไทยพีบีเอสจะต้องยืนอยู่บนการสร้างคุณค่าตรงนี้ โดย
1. เนื้อหาของเราเราต้อง Shift ตัวเองไปใกล้กับประชาชนมากขึ้น
2. เนื้อหาเราต้อง Share ให้กับประชาชน ให้กับสื่ออื่น ๆ นำไปใช้ เพราะเรากำลังถูกพิสูจน์เรื่องของการปรุงอาหารให้อร่อยเราเป็นอาหารคลีน ที่มีความเฉพาะที่ต้องทำเพื่อเด็ก, คนพิการ, ผู้บริโภค, สุขภาพ ในขณะที่ช่องอื่นอาจไม่ได้ถูกมองเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญเพราะอาจไม่ตอบโจทย์ในตัวธุรกิจ แต่เมื่อกติกา Regulate ให้ทำเราต้องเป็นครัวกลางเพื่อให้เขาทำให้ได้
3.และสุดท้าย คือ Shield เราต้องปกป้องให้กับประชาชน เรื่อง Sex Crime และ Violence ทำอย่างไรถ้ายังมีพวกนี้ประชาชนโดนดึงเข้าไปง่าย จะทำอย่างไรที่เราจะติดอาวุธทางปัญญา และไม่มีองค์กรใดที่ถูกพิสูจน์ได้ว่าจะทำหน้าที่ตรงนี้ได้ดีที่สุด ผมเชื่อว่าแม้ปลายทาง แม้การใช้ทรัพยากรยังถูกตั้งคำถาม แต่โครงสร้างที่มีการออกแบบแบบนี้ ผมเชื่อว่าประชาชนจะเป็นกำแพงเหล็กให้กับเรา เพียงแต่เราต้องพิสูจน์ความคุ้มค่าข้อนี้ให้ได้อย่างเร็วที่สุด
ผมไม่แน่ใจว่าก่อนหน้านี้ไทยบีบีเอสเคยปฏิเสธการวัดความนิยม ผมคิดว่าเราต้องไม่ปฏิเสธ และผมเชื่อว่าจากเรตติง ณ วันนี้เราอยู่ที่ 14 ผมมีความพร้อมที่จะนำขึ้นมาอยู่ลำดับที่ 10 หรือ 11 หรือ 12 โดยใช้เวลาไม่ถึงหนึ่งปี
ผมท้าทายตัวเอง เพราะผมมองเห็นโอกาส ผมมองเห็นพื้นที่ที่เราจะทำสิ่งนี้ได้ และผมย้ำเสมอคุณค่าของไทยพีบีเอส มันจะไม่ปรากฏเฉพาะบนหน้าจอของไทยพีบีเอสอีกต่อไป อุตสาหกรรมนี้ยังต้องอยู่ ยังต้องมีความสำคัญ และที่สำคัญเราอ้างอยู่เสมอว่าเราปลอดจากเรื่องการเมือง เราต้องพิสูจน์เรื่องนี้ให้เห็นอย่างชัดเจน แม้ว่าจะไม่ถูกใจในบางเรื่องกับใครสักสีหนึ่ง แต่เราสามารถยืนอยู่บนจุดที่เราถูกต้อง และเราสามารถบอกได้แล้วว่ากระดูกสันหลังของเราเป็นอย่างไร
ผศ.พจน์ ใจชาญสุขกิจ กรรมการสรรหาฯ
Q3 : จากข้อเสนอที่ได้ฟังเมื่อสักครู่ ถ้าเรามาเทียบเคียงกับไทยพีบีเอสเราต้องตอบความคาดหวังของสังคม ซึ่งมีอยู่มากทีเดียวแล้วจากการที่นำเสนอ คุณอภิรักษ์ก็พูดถึงคำว่า Change Change Change นับได้ประมาณ 40 คำ
ผมถามว่า Change เหล่านี้จริง ๆ แน่นอนเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงนอกจากข้างใน ผมถามว่าข้างในเราต้องมี Change อะไรบ้าง ผมอยากให้ลองเรียงลำดับให้ฟังและวิเคราะห์เลยว่าภายใต้การเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น มีผลกระทบอย่างไรแล้วเรามีวิธีการรับอย่างไร
A : ผมขออนุญาตหยิบตัว Mckinsey 7S Framework มาอธิบายในรอบนี้ ผมคิดว่าโจทย์ยากของคนทำสื่ออย่างไทยพีบีเอส เราต้องแชร์คุณค่าให้ชัดก่อนว่า เรื่องนี้เราจะไปตรงไหนอย่างไร เราต้องบอกคุณค่าของสังคมให้ได้ก่อนว่า ไทยพีบีเอสมีหน้าที่อะไร และต้องทำอะไร และไม่ควรกดดันไทยพีบีเอส แล้วประชาชนควรเข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนไทยพีบีเอสอย่างไร
ผมไม่แน่ใจว่าวันนี้ประชาชนเข้าใจไหมว่า การที่เขาไม่ได้เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร นั่นคือการเสียโอกาสหรือพลาดโอกาสในการพัฒนาตัวเอง ประชาชนไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้อะไร ? ซึ่งผมคิดว่าเรื่องนี้เราต้องแชร์คุณค่าว่า ถ้าไม่ใช่ภารกิจของไทยพีบีเอสจะเป็นภารกิจของใคร
โครงสร้างจำเป็นต้องเปลี่ยน ผมไม่แน่ใจว่าเราถูกตั้งคำถามในเรื่องของการจัดวางเงิน ในโครงสร้างแบบไหน เราตั้งคำถามว่าเรามีหน่วยงานจำนวนมากในหลากหลายภารกิจ ฟังก์ชันหรือตอบโจทย์อย่างไร หรือมีชื่อว่าจะตอบโจทย์ในเรื่องนั้น ๆ ผมคิดว่าโครงสร้างมันต้องเปลี่ยน แต่ผมคงพูดยากในฐานะคนที่ไม่ได้อยู่วงในสุด แต่ผมคิดว่าเราต้องเปลี่ยนไปตามยุทธศาสตร์ที่เราได้กำหนดขึ้นว่าในแต่ละช่องทางจะอย่างไร
วันนี้ผมชื่นชมครับไทยพีบีเอสมีทุกแพลตฟอร์มรวมถึง VIPA แต่คำถามคือ เอกลักษณ์ของตัว VIPA คืออะไร ทำไมต้องโหลด ถ้าเรามีด้วยเหตุผลที่ว่าเราต้องมีโครงสร้างแบบนี้ เราตอบไม่ได้หรอกว่าประชาชนจะโหลดไปเพื่ออะไร ทำไม ?
สำคัญที่สุดผมว่าเป็นเรื่องพนักงาน ผมว่าเราต้องปรับทัศนคติ ผมเชื่อว่าคนที่อยู่ไทยพีบีเอสวันนี้มีทัศนคติสาธารณะ แต่มีคนในวงการบางส่วนเมื่อบาดเจ็บจากในพื้นที่อื่น ๆ ขอมาปลอดภัยที่นี่จำนวนหนึ่ง เมื่อมาอยู่ที่นี่แล้วจะทำยังไงให้เขามีพลัง ในการที่จะสร้างสรรค์คอนเทนต์ให้มันเกิดขึ้นได้ ผมว่ามันเป็นเรื่องที่ท้าทาย
ผมย้ำวันนี้เราค้นหากันด้วย google เด็ก ๆ ไปค้นหาใน Tiktok เพราะเขาบอกว่าไม่ต้องอ่าน มันบอกมาเลยว่าต้องทำยังไงภายใน 2 นาทีเด็กรุ่นใหม่ไทยใช้ CHAT GPT ซึ่งก็เป็นอันตรายอีกว่า แหล่งข้อมูลที่ได้มาแม้ว่าจะประหยัดมีประสิทธิภาพแต่ความถูกต้องมีไหม เราต้องพัฒนาเรื่องคนตรงนี้
สำคัญที่สุดคือเรื่องของ Skill เราเป็นสื่อสารมวลชนที่เข้าในด้านการทำงานสื่อสารมวลชน Strategic Storytelling ซึ่งเราเก่งด้านการ Tell หรือการเล่า แต่สตอรี่เราจำเป็นต้องเปลี่ยน ต้องเปลี่ยนให้เราเป็นนักเล่าเรื่องที่เราเป็นได้ ผมเห็นบางเนื้อหาถูกวางผิดที่ผิดทาง จำเป็นจะต้องมีการปรับเรื่องนี้ นี่คือ change ที่เรามองเห็นใน Mckinsey 7S Framework อาจจะไม่ได้พูดทุกชิ้น แต่มันเป็นกระบวนการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ครบ หรือใกล้เคียงกับทุกองค์ประกอบที่เราจะต้องเข้าไปแตะ
สฤณี อาชวานันทกุล กรรมการสรรหาฯ
Q4 : จากในเอกสารมีการนำเสนอว่าตอนนี้ไทยพีบีเอส ต้องก้าวข้ามจากการเป็นองค์กรสื่อ ไปเป็นสิ่งที่คุณอภิรักษ์ใช้คำว่า ‘สถาบันสื่อสาธารณะ’ ซึ่งเมื่อกี้ก็ได้ฟังและอาจจะมีจิ๊กซอว์บางตัวอย่างการพูดถึงการสร้างระบบนิเวศสื่อสารสาธารณะ
เลยอยากจะทราบว่า พอบอกว่าเป็นสถาบันสื่อสาธารณะ บางคนก็อาจจะตั้งคำถามว่าที่จริงแล้วไทยพีบีเอสก็เป็นอยู่แล้วหรือไม่ เพราะว่าไทยพีบีเอสก็จะมีกลไกอย่างเช่นสื่อพลเมือง สภาผู้ชมผู้ฟังต่าง ๆ เลยอยากจะถามว่าในทัศนะของคุณอภิรักษ์ การเป็นสถาบันสื่อสาธารณะวัดจากอะไร อะไรที่ถือว่าเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จ และจากวันนี้ไปถึงตรงนั้นจะต้องทำอะไรเพื่อไปให้ถึงความเป็นสถาบันสื่อสาธารณะ

A : ผมว่านิยามของคำว่าสื่อสาธารณะมันมีหลายมิติ ผมเชื่อว่าเรามักจะคุ้นกับการทำ Input ว่าเราได้ทำแล้ว จัดประชุมรับฟังลงพื้นที่ แต่ผมว่าเราสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงคำว่าสาธารณะ ให้มีคุณค่ามีความหมายมากกว่านั้น หนึ่งในสิ่งที่ผมคิดว่าผมอยากจะผลักดันมากที่สุด คือนักสื่อสารสาธารณะ อันนี้อาจจะเป็นจุดเล็ก ๆ แต่ผมขอขยายด้วยมุมมองว่า คุณค่าของสื่อสาธารณะไม่จำเป็นต้องปรากฏอยู่บนสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสหรือสื่อของไทยพีบีเอส
ผมเห็นรายการทีวีในต่างประเทศ คนที่รายงานพยากรณ์อากาศคือนักอุตุนิยมวิทยา ผมเห็นคุณทำรายการที่เกี่ยวข้องกับแพทย์เป็นแพทย์ไปบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ผมเห็นนักกำหนดอาหาร ผมเห็นคนที่เป็นนักเล่าเรื่องด้านการออกกำลังกายอยู่ในสถานีโทรทัศน์ต่างประเทศเต็มไปหมด ซึ่งเวลาสื่อ ณ วันนี้สิ่งที่เราทำคือเรามีการรวบรวมเนื้อหา ปรุง และนำเสนอ
เราคิดว่าเราอยู่ใกล้ชิดประชาชน เราคิดว่าเรารู้ข้อมูลที่อยู่ตรงกลาง แต่เราขาดฐานข้อมูลที่ถูกต้องและความน่าเชื่อถือเรามีน้อยกว่าคนที่รู้เรื่องนั้นจริง ๆ
แล้วถามว่า ณ วันนี้ นักกำหนดอาหารชื่อดังมีคนติดตามใน YouTube คนตามเป็นหมื่นเป็นแสนเป็นล้าน ในบางคลิปก็มีว่า กินยังไงคีโตให้มีประสิทธิภาพ กินยังไงให้มันถูกต้องออกกำลังกายแบบนี้ หรือเรื่องวิทยาศาสตร์ เรื่องการคำนวณ เรื่องการใช้ประโยชน์ มีคนอยู่ในออนไลน์แล้วที่เป็นคนที่รู้เรื่องนั้นจริง ๆ แล้วเล่าเรื่องได้อย่างดีมีประสิทธิภาพ มีทั้งนักสรุปที่สรุปได้ดีมีคนติดตามเยอะ
ไทยพีฯ สามารถที่จะทำหน้าที่ 2 ส่วนครับ หนึ่งคือนักสื่อสารของเราเองต้องมีความรู้พื้นฐาน เพราะส่วนใหญ่สถานีโทรทัศน์และองค์กรอื่น ๆ เอานักสื่อสารมาทำงานสื่อสารในขณะที่หลายประเทศ เอาคนที่มีความรู้เรื่องนั้นมาเพิ่มเติมทักษะการสื่อสาร แล้วทำหน้าที่ในการสื่อสาร เราจะทำคนของเราให้เป็นนักสื่อสารสาธารณะที่เข้าใจ strategic storytelling เครื่องมือคือเครื่องครับ หลาย ๆ ที่สนใจที่เครื่องมือแต่กระดูกหลักมันคือ strategic storytelling แล้วเราจะดึงคนนอกที่เขามีความรู้ความสามารถเข้ามาร่วมกับเราด้วย และเราจะสร้างคนที่มีเป็นมืออาชีพที่อยู่ในวงการต่าง ๆ ผ่านกระบวนการอบรมของไทยพีบีเอส
ถ้าองค์กรอื่น ๆ ใช้เงินหลายล้านในการสร้างหลักสูตรผู้บริหาร ไทยพีบีเอสจะใช้เงินจำนวนหนึ่งในการสร้างนักสื่อสารสาธารณะ เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะได้ออกมาหนึ่งคือตัวเขา เขาเป็นคนที่รู้เรื่องนั้นเขาเป็นคนที่น่าเชื่อถือ เมื่อเขาปรากฏตัวมีไตเติ้ลอยู่ข้างหน้า ตำแหน่งแพทย์ ตำแหน่งนักอุตุนิยมวิทยา น่าเชื่อถือ
เมื่อเชื่อมั่นเชื่อถือ ประชาชนเชื่อใจ ติดตามรับฟังซ้ำ ๆ ถ้าเขาต้องไปรอจนกว่าจะดังใน YouTube หรือ TikTok เอาละคนที่ดังคนที่มีเอ็นเกจ คนที่มีเงินที่ได้จากแพลตฟอร์มเรายินดีด้วย แต่บางส่วนถ้าจะต้องเริ่มต้นผมว่าเราเริ่มต้นสร้างจากตรงนี้ก็ได้ สร้างที่เราคืนสู่สังคม สร้างที่เราอยู่กับเรา สร้างคนของเราให้สามารถทำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้
คนที่นำเสนอครับ มีผู้ประกาศ มีผู้ดำเนินรายการ มี Commentator ผมคิดว่าไทยพีบีเอสมี Commentator ที่มีฐานรู้มากกว่าฐานคิด สิ่งนี้เป็นสิ่งที่สำคัญซึ่งผมคิดว่า ตัวสถาบันจะทำหน้าที่ตรงนี้และเมื่อคนจบออกจากเราไปอาจจะมีแบตของเราสักนิดนึง อาจจะมีสิ่งที่สังคมเชื่อมั่นและเชื่อใจว่านี่คือผลผลิตของสื่อสาธารณะ ย้ำครับว่าจะไม่ได้อยู่เฉพาะในทีวีสาธารณะและสื่อสาธารณะเท่านั้นครับ
อภิรัตน์ หวานชะเอม กรรมการสรรหาฯ
Q5 : ขอบคุณนะครับเป็นวิสัยทัศน์ที่ฟังแล้วสดชื่นมาก รบกวนให้คุณอภิรักษ์นำเสนอ 3 Action plan ที่จะทำให้วิสัยทัศน์นั้นเป็นรูปธรรมขึ้นมา และสามารถ Improve ranking ที่คุณอภิรักษ์เสนอในตอนต้นได้สำเร็จภายใน 12 เดือนแรก
และควบคู่ไปกับ Action plan สามอันนี้ผมอยากจะให้นำเสนอตัวช่วย ที่คิดว่าอาจจะมาช่วยปิดหรือลดจุดอ่อนของเราเอง ภายใต้บทบาทของผู้อำนวยการไทยพีบีเอสได้ด้วย
A : เราถูกท้าทาย ถูกตั้งคำถามจากคนที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันว่า เราเป็นสื่อนอนกินในขณะที่คนอื่นล้มตาย ขอย้ำคำนี้ว่าเงิน 2,000 ล้านมันค้ำคออยู่ แล้วก็มีผู้ที่มีอิทธิพลต่อสาธารณะตั้งคำถามว่า เราจะลดการขาดทุนอย่างไร ผมคิดว่าภายในปีแรก ถ้ามีโอกาสในการปรับงบประมาณการขาดทุนได้ ผมยกตัวอย่างง่ายที่สุดขออนุญาตลงรายละเอียดนิดเดียว ทุกวันนี้เรามีหมายข่าวออกไปทำข่าววันนึง 30 หมาย ไทยพีบีเอสขึ้นโทลล์เวย์ไปทางด่วน-กลับ ตีซะว่าโทลล์เวย์คือ 95 บาทข้างในคือ 55 บาท เวลาขากลับส่วนใหญ่จะใช้ทางด่วน ด้วยพฤติกรรมของการเป็นนักข่าวมาก่อนผมไม่ได้หมายถึงข้อมูลที่นี่ ถ้า 30 คัน ใช้ทางด่วนแค่ไปกลับ ประมาณ 200 บาท 15 คัน หนึ่งวัน 3,000 บาท ปีนึง ? ผมคิดว่าแค่เราไปหาเงินที่หล่นอยู่ในองค์กร ปีละเป็นแสน
เราไม่ได้ทำให้พนักงานลำบากขึ้น คนที่มอบหมายงานนอกเหนือจากมอบหมายประเด็นแล้ว มอบหมายความคุ้มค่าของการใช้เงินภาษีประชาชนด้วย คือการจัดลำดับ มีหลายงานที่ผมคิดว่าจำเป็นจะต้องเปลี่ยน แต่ขออนุญาตไม่เข้าไปแตะจากการดูรายงานผมคิดว่าเปลี่ยนได้ lean ได้ ผมเคยทำรายการโทรทัศน์ไปต่างประเทศ ครึ่งชั่วโมงค่าผลิตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 75,000 บาท ผมคิดว่าเราสามารถที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงตรงนี้ได้ หนึ่งคือการลดต้นทุน
สองผมว่ารายการ ผมเชื่อว่าเนื้อหาของเราดีครับแต่เราจะเปลี่ยนแปลงได้ชัดก็คือว่าเราต้องมีเรือธงของเราเอง เราถูกตั้งคำถามว่าเรามีแผนกผลิต กับแผนกสรรหาแน่นอนครับตามพ.ร.บ. เราต้องเปิดกว้างให้คนอื่นเข้ามามีส่วนร่วม ในการนำเสนอเนื้อหาของเรานั่นคือการสรรหา แต่เราจะสรรหาอย่างไรให้ประหยัดที่สุดให้การสรรหานี้มีส่วนร่วมโดยวิธีการประกวดเราเงินจำนวนหนึ่ง
เราจะทำรายการติ๊ต่างว่าเป็น Shark Tank เราคงไม่บอกให้ประชาชนมีส่วนร่วมทั้งหมดนะครับ เพราะความชอบของประชาชนอาจจะไม่ตอบความใช่ ในสิ่งที่เราอยากจะตอบโจทย์ให้กับสังคม โจทย์จำนวนหนึ่งและให้เขานำเสนอกับ Proposal เราว่า เขาอยากจะมีรายการแบบนี้ ด้วยงบประมาณแบบนี้ เรามีคณะกรรมการ วิธีการสรรหาโปร่งใส วิธีการสรรหาประชาชนได้ดูประชาชนได้ใกล้ชิด และประชาชนตรวจสอบได้ ที่สำคัญรายการที่ใช้ในการสรรหาจะเป็นรายการเรือธงของไทยพีบีเอสเพราะนี่คือแหล่งอันอุดมสำหรับคนที่อยากจะทำเนื้อหาเพื่อประชาชน ต้องมี Flagship program สรรหาต้องมีประสิทธิภาพ และทำงานข่าวจำเป็นต้องมีสิ่งที่เรียกว่าสิ่งที่คนอื่นไม่กล้าทำไม่อยากทำ ผมคิดว่าหลายเรื่องเรายังสามารถเกาะติดได้โดยมีประชาชนเป็นกำแพงเหล็ก เรื่องของการเผา เรื่องเอเลียน สปีชีส์ หลายเรื่องในข่าว ในทุกช่องทางที่เรามีสามารถสื่อให้กับประชาชนได้เลย
การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ผมเชื่อว่าเราต้องชวนครับ ชวนประชาชนจากการที่เราแชร์วิสัยทัศน์ตอนแรกได้เห็นกันว่า เราจะไปแบบนี้ นี่ไม่ใช่องค์กรรัฐที่เขาเอาภาษีบาปมาใส่เอาไว้ 2,000 แล้วไปทำอะไรก็ได้ไม่ใช่ ประชาชนต้องมาร่วมกำหนดกับเรามาตั้งโจทย์ให้กับเรา และไปด้วยกันกับเรา เราจะไม่ทำการเปลี่ยนแปลงในเชิงรูปแบบเท่านั้น
ดูรายการโทรทัศน์สามารถสแกน QR Code บอกชอบไม่ชอบได้ โหวตได้ แนะนำได้ ผมเชื่อว่าคนจำนวนหนึ่งมีทีวีและ Hand set ใช้ประโยชน์ได้ ผมจะใช้ประโยชน์จากสองจอการมีส่วนร่วมของประชาชนจากนักวิชาการและเครือข่าย
เราต้องทำรายการเด็กต้องทำรายการเพื่อผู้บริโภคเพราะวันนี้สินค้าที่ผมสั่งมาจากจีน ไม่มี อย. ไม่มี มอก. แต่ก็ยังเข้ามาได้ คำถามคือถ้าเราจะต้องพึ่งรัฐ วันนี้เราเตรียมความรู้ให้กับประชาชน น่าจะมีคุณค่ามากกว่า
ทิชา ณ นคร กรรมการสรรหาฯ
Q6 : คุณอภิรักษ์พูดถึงกลุ่มเด็ก เยาวชน กลุ่มเปราะบางหลายครั้ง ด้วยความรู้สึกตัวเองก็อุ่นใจ แล้วก็มีความสุขที่ได้ฟัง แต่ถึงอย่างไรก็ตามเราต้องยอมรับความจริงว่า ความรู้เท่าทันสื่อของเด็กเยาวชนและกลุ่มเปราะบางมันยังเป็นเรื่องที่ห่างไกลมาก ๆ เลย เรามีคนที่มีความรู้เรื่องการเท่าทันสื่อเยอะแยะไปหมด พูดคราวไหนก็เท่เสมอ แต่เราไม่เคยเห็นสะพานที่ทอดไปถึงเด็ก ๆ ผู้เปราะบาง
เราเห็นเด็ก ๆ ศพแล้วศพเล่าที่ตายเพราะความรู้ไม่เท่าทันสื่อ เราต้องการเขาอีกกี่ศพเพื่อที่จะมาสังเวยสะพานที่มันถูกสร้าง ซึ่งเท่าที่ฟังจากคุณอภิรักษ์ดูเหมือนว่าคุณมองเห็นตรงนี้นะ แต่ว่าก็อยากเห็นเมื่อได้เป็นว่าที่ผอ. สสท. ไอเดียเซฟชีวิตเด็ก ๆ ภายใต้คำถามสั้น ๆ ว่าความรู้เท่าทันสื่อจะอยู่ที่ไหนในเส้นทางชีวิตของเด็กเหล่านี้ ที่เขาจะไม่ตายก่อนเวลาทั้ง ๆ ที่ความรู้นี้อุดมสมบูรณ์อยู่ในผู้ใหญ่จำนวนหนึ่ง
A : ผมชื่นชมพื้นที่ที่เราลงโทษเด็กโดยที่ไม่มีกำแพง และผมเชื่อว่าคุณต้องการที่จะพัฒนาไปในทางที่ดี เพียงแต่ว่าเขาต้องรู้วิธีในการที่จะเปลี่ยนแปลงและผลลัพธ์ตรงนั้น ถ้าเขาไม่เชื่อว่าชีวิตเขามีความหมายการใช้ชีวิตก็จะไม่มีธงที่จะเกิดขึ้นในแต่ละวัน
ผมขออนุญาตเอ่ยถึงพรีเซนเตอร์และความชอบของคนกลุ่มหนึ่ง ที่อยู่กับกับดักของแม่ค้าออนไลน์คนหนึ่ง กินเบียร์กินเหล้าขายของราคาต่ำกว่าตลาด แล้วสร้างการมีส่วนร่วมที่สูงมาก ไปทำโซลาร์เซลล์ในต่างจังหวัด ด่าการเมืองฝั่งนึงหรือตำหนิการเมืองอีกฝั่งหนึ่งแล้วใช้ภาษาเดียวกับคุณผู้ฟังกลายเป็นแม่ค้าที่ขายดีและเป็นแม่ค้าออนไลน์ที่ประสบความสำเร็จ
ผมคิดว่าผมไม่ได้ยกย่องเขาครับแต่แม่ค้าธรรมดาคนหนึ่งที่ถูกเรียกว่าทรงซ้อ ทำไมเค้าถึงเข้าใจกลุ่มนี้ ผมคิดว่าเราตีโจทย์แตกได้ไม่ยากเพียงแต่ว่าถ้าเราต้องไปคุยกับคนไร้บ้านเราต้องถอดสูทถอดเสื้อไปคุยกับเขา เข้าใจเขา เราถึงจะสื่อสารกับเขาได้ ผมคิดว่าผมมีวิธีและเทคนิคที่จะหาคำตอบ
และถ้าเกิดวิธีการและคำตอบมันไม่ได้มาจากผู้อำนวยการไทยพีบีเอส มันต้องมีส่วนร่วมกับคนที่เขารู้ว่าทำอย่างไร ? คนที่รู้เนื้อหามีคนที่รู้การนำเสนอมีแต่ตรงกลางจะทำยังไงให้เกิดสื่อที่เข้าถึงตรงนั้นได้
ผมคิดว่ามันต้องประเมินผลนะครับว่าเราได้ทำสื่อตรงนี้แล้ว แล้วถูกให้คะแนนว่าสื่อเรามีคุณค่ามากมาย แต่มันไม่คุ้มค่าเพราะมันไม่มีอิมแพ็กต์ เรามีสถานีโทรทัศน์เรามีตัวชี้วัด แต่กลับบางส่วนเช่นเด็ก คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส ตัวชี้วัดต้องกระเถิบลงมาแต่ต้องมีตัวชี้วัดเชิงปริมาณ เพราะทุกครั้งเวลาถามปริมาณเรามักตอบคุณภาพ เราตอบเชิงปริมาณได้ครับเพื่อตัวชี้วัด
เรื่องของการสื่อสารกับเด็กเยาวชนคนเปราะบางผู้ด้อยโอกาส ผมคิดว่ามันต้องขับเคลื่อนผ่านองค์กรอื่นด้วย ในยุโรปในสหราชอาณาจักรต้องมีองค์กรคู่กัน บ้านเรา เราพูดถึงสิทธิเสรีภาพ แต่! การเหยียดการดูถูกการทำให้เกิดการแบ่งแยกยังเกิดขึ้น ถ้าคุณไปพูดแบบนี้ในประเทศที่ดูเหมือนมีเสรีภาพ คุณโดนยึดหรือพักใบอนุญาต บ้านเราองค์กรนี้ไม่ชัดเจน
ขณะเดียวกันในฝรั่งเศสมีองค์กรที่ชื่อว่า Clemi สอนเด็กสอนครู สอนเยาวชนให้รู้เท่าทันสื่อ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับชาร์ลี เอ็บโดเขาไม่ได้โทษสื่อ แต่โทษเนื้อหานั้น ๆ ที่ชาร์ลี เอ็บโดคิดโดยไม่ระมัดระวัง การรู้เท่าทันสื่อในยุโรปมีเครื่องมือหลากหลายมาก แม้กระทั่งวันนี้ผมเชื่อว่าไม่ต้องพูดถึงเด็กหรือเยาวชนครับ กระทั่งผู้ใหญ่ยังแยกไม่ได้เลยว่าอันนี้คือเนื้อหาอันนี้คือไอโอ และที่น่ากลัวที่สุดก็คือว่าถ้าเราไม่รีบติดความรู้ทางปัญญา นักการเมือง นักธุรกิจ และนักอะไรทั้งหลายที่ต้องการประชานิยมคะแนนนิยมความนิยม เขาจะเล่นสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็น
เราต้องทำหน้าที่ตรงนี้ให้ได้ผมคิดว่าเราต้องพูดภาษาเดียวกับเขา เราต้องออกแบบเครื่องมือและเราต้องมีความตั้งใจในการทำที่ไม่ใช่ความตั้งใจเชิงรูปแบบ ต้องวัดในเชิงปฏิบัติและการวัดอย่างที่ผมบอกก็คือว่าถ้าผมต้องทำหน้าที่ผมต้องถูกชี้วัดโดยปริมาณและคุณภาพเพราะถามปริมาณตอบคุณภาพเสมอไม่แฟร์กับประชาชนครับ
สารี อ๋องสมหวัง กรรมการสรรหาฯ
Q7 : ส่วนหนึ่งเรื่องการหารายได้ ซึ่งคุณอภิรักษ์ได้ยกตัวอย่างการหารายได้ในการร่วมทำรายการ ในวิสัยทัศน์ที่เขียนไว้ในเอกสารว่า ไทยพีบีเอสน่าจะออกแบบเพื่อขอรับการสนับสนุนได้อย่างมีกลยุทธ์ ซึ่งได้ยกรูปธรรมของกระทรวงสาธารณสุขที่จะไปร่วมมือกับกระทรวงวัฒนธรรมและกระทรวงศึกษาในการทำรายการเพื่อหารายได้จากหน่วยงานเหล่านี้ แล้วเมื่อกี้ได้พูดถึงการหารายได้จากบริษัทเอกชน ซึ่งก็มีคำถามว่าแล้วความเป็นอิสระของไทยพีบีเอส หรือเราจะทำได้ไงที่ไม่เหมือนกับเป็นการโฆษณาแฝง หรือจะมีหลักประกันความเป็นธรรมกับบริษัทอื่น ๆ ได้ยังไง
สองหากกระทรวง เหล่านี้ทำหน้าที่ของตัวเองไม่ถูกต้องคุณอภิรักษ์และไทยพีบีเอสโดยภาพรวมจะมีข้อจำกัดในการไปสอบสวนตรวจสอบ รายงานความจริงให้กับประชาชนได้อย่างไร อันนี้ดิฉันคิดว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญของไทยพีบีเอส ในฐานะที่คุณอภิรักษ์เองถือเป็นคนใกล้ชิดกับไทยพีบีเอส
A : ในโหมดของการหารายได้ของไทยพีบีเอสสามารถทำได้นะครับ มันมีสิ่งหนึ่งที่ผมอยากจะผลักดันคือเราถูกค่อนแคะค่อนขอดว่าเราเอาเงินมาจากภาษีเหล้า ในหลาย ๆ ประเทศพวกธุรกิจออนไลน์ หรือพวกธุรกิจเทเลคอมที่ใช้ประโยชน์จากคอนเทนต์ที่เราได้สร้างสรรค์เนื้อหาจำเป็นจะต้องจ่ายด้วยวิธีการใด วิธีการหนึ่ง ที่มาของรายได้ถ้าจะต้องเปลี่ยนได้หรือเพิ่มได้ Mode of funding อาจจะต้องขยับไปตรงนั้น
สองแหล่งที่มาของรายได้อื่น อาจต้องสร้างจากกิจกรรมเราต้องแยกกันระหว่างหน่วยงานที่ผลิตทั้งข่าวและรายการกับหน่วยงานที่รับการสนับสนุน ผมเชื่อว่าบริษัทหน่วยงานหรือองค์กรที่เข้ามาในลักษณะนี้ จะต้องเซ็นสัญญากับเราว่าคุณจะได้แค่ภาพลักษณ์ของการเป็นผู้บริจาค หรือเป็นผู้ที่สนับสนุนให้มีเนื้อหานี้เท่านั้น
เช่นเราเคยมีรายการในช่องอื่นรายการ ประกวดตอบความรู้โดยมีบริษัทน้ำมันบริษัทหนึ่งเป็นคนจัด เราเคยมีรายการประกวดคิดเลขเร็วโดยมีบริษัทองค์กร ยาวนานน่าเชื่อถือของเราเป็นคนสนับสนุนแต่มันไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อรายได้ของบริษัทน้ำมันนั้นหรือบริษัทปูนซิเมนต์นั้น มันไม่ได้กระทบ เรารับได้อยู่ในภาวะลักษณะนี้ และเขามีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลิตเนื้อหาใด ๆ ทั้งสิ้น และถ้าเรื่องราวที่กระทบกับตัวธุรกิจหรือองค์กรหน้านั้น องค์กรไม่สามารถจะไปรับรู้แทนได้ และจะต้องยืนให้กับประชาชนได้เห็นว่าในเรื่องนี้เราจะมีนโยบายหรือมีแนวทางอย่างไร
ผมเชื่อว่าหลายท่านจำได้ มีสปอนเซอร์ของสถานีโทรทัศน์ itv ขู่จะถอนเพราะมีคนมาทุบรถที่ด้านหน้า itv ผมคิดว่าเราไม่สามารถทรยศกับประชาชนได้ และแม้กระทั่งถ้าเราจะทำตัวเป็นอีแอบ ผมคิดว่าโลกสมัยนี้ทำไม่ได้ ยืนให้ตรงแล้วโชว์ให้เห็นว่าเรามีขั้นตอนมีวิธีการอย่างไร Editorial guideline มันมีรูปแบบวิธีการที่เรายืนอยู่แล้ว
รูปแบบในการหารายได้ผมคิดว่ามีเยอะแยะมากมายครับ ผมเล่าไปเมื่อสักครู่ซึ่งมันตอบโจทย์ในสี่รูปแบบที่ผมมอง เราทำรายการแล้วชวนคนมาดู เราทำรายการเราชวนคนที่เกิดการเปลี่ยนแปลง เราทำรายการแล้วเราชวนให้คนออกไปขยับ และทำรายการทำให้เกิดผลลัพธ์เป้าหมาย
ผมทำรายการที่อยุธยาผมต้องการให้คนติดตาม ต้องการให้ผมไปอยุธยา ไปเยาวราชไปรู้จักไปเห็นไปขยับให้ได้เห็นการมีส่วนร่วม แล้วท้ายที่สุดสมมุติเราทำกับกระทรวงสาธารณสุข เรามีผู้ชมจากกระทรวงสาธารณสุข เราทำกระทรวงศึกษาบางสล็อตเราได้ผู้ชมจากกระทรวงศึกษา เราทำร่วมกับหน่วยงานไหน ๆ เราสามารถดึงคนที่ได้ประโยชน์จากคอนเทนต์นั้นมาเป็นแฟนของไทยพีบีเอส
เราสามารถไปผลักดันการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นที่เป็นรูปธรรม แล้วเราสามารถ Open architecture ที่ผมพูดมันเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นเองที่มันจะเกิดขึ้น เราไม่ได้เป็นข่าว เราไม่ได้เป็นผู้ผลิตรายการ แต่เราเป็นพื้นที่กลางสาธารณะของสังคมเพื่อประชาชนพึ่งพิงได้ในทุกมิติ อันนี้จะอยู่ในหน้าเจ็ด
เราจะต้อง Game Change ที่ไว้เนื้อเชื่อใจเราต้องเชฟคอนเทนต์ให้เกิดความนิยมชมชอบ และเราจะต้อง sharing resource ให้เกิดการยอมรับนับถือ ผมเชื่อว่าเราสามารถรับได้เปิดเผยและบอกให้เค้ารู้ด้วยว่าเรารับมายังไงใช้ยังไง ? แล้วถ้าเกิดเค้าจะถอนสปอนเซอร์ ผมเชื่อว่าถ้าเราทำรายการดีเราทำคอนเทนต์ดี จะมีคนมาต่อคิวเพื่อขอเป็นสปอนเซอร์รายการนั้น ๆ
นั่นคือตัวคูณประชาชนได้คอนเทนต์มากขึ้นผมเคยทำโพรเจกต์แบบนี้ประสบความสำเร็จที่ NBT ซึ่งมีสถานีอยู่ที่ริมถนนช่องสองแต่มีงบประมาณปีนึงไม่กี่ร้อยล้าน แต่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์อยากจะให้คนพิการได้แสดงผมเขียนโพรเจกต์ขึ้นมา คนพิการได้มีโอกาสดูและเราไม่ได้ให้คนพิการดูหรือเปิดพื้นที่ให้เขาในแบบอนาถา ไม่มีการนั่งวีลแชร์ในแบบที่ดูอนาถาแต่เขามาแข่ง นั่นคือรายการที่ผมทำให้กับ NBT ได้เงิน 70 ล้านบาท
ชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ กรรมการสรรหาฯ
Q8 : ผมชอบและสนใจเครื่องมือในเชิงการบริหารของคุณอภิรักษ์ ถ้าคุณอภิรักษ์เป็นผอ. ลองเล่าให้เราฟังอีกนิดนึงว่า จะเลือกรอง ผอ. แบบไหนที่จะมาดูงานบุคคล
และเวลามอบหมายงานให้รองคนนี้คุณอภิรักษ์จะบอกรองคนนี้ว่าให้ไปทำงานอะไรยังไง (ไม่ต้องใช้เวลาทั้ง 5 นาทีก็ได้นะถ้าจบก่อน ผมมีอีกคำถามนึงเอาไว้แชร์ต่อเนื่องกัน มันจะได้มีเวลาพักดื่มน้ำอีกรอบนึง ก่อนหมด 5 นาที)
A : ขอบพระคุณครับ ผมเชื่อว่าคนที่จะมาร่วมขับเคลื่อนต้องเข้าใจความเป็นองค์กรที่กึ่งรัฐ หรือเป็นองค์กรที่จะต้องตอบโจทย์ประชาชนให้ได้ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญเพราะว่าระเบียบเป็นตัวค้ำ แต่ต้องไม่ยึดติดจนกลายเป็นอุปสรรค
ผมเคยต้องไปทำหน้าที่เป็นกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ผมเข้าใจดีว่า เรื่องระเบียบคือแก่นที่เราหลุดจากนี้ไม่ได้ แต่เราต้องสามารถที่จะขยับโดยที่มีพื้นที่ในการสร้างพื้นที่เล่นให้กับตัวเอง ถ้าเป็นนักฟุตบอลต้องหาพื้นที่เล่นให้กับตัวเองให้ได้มากขึ้น
หนึ่งเข้าใจองค์กรรัฐ สองที่เข้าใจประชาชน สามต้องเข้าใจเรื่องของการแข่งขันโลกธุรกิจ เราไม่ได้ต้องบริหารองค์กรธุรกิจ แต่เราต้องใช้มิติด้านเศรษฐกิจมิติด้านเศรษฐศาสตร์ในการขับเคลื่อน ผมคิดว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ดูเหมือนว่าไกลจากสภาพที่เราเป็นอยู่พอสมควร
ผมต้องพยายามที่จะดึงกลับมาเพื่อได้เห็นภาพร่วมกันเรื่องของ Value of Money ผมย้ำอยู่เสมอก็คือผลประโยชน์ทางสังคมมันต้องกลับมาแล้วชี้วัดได้ทุกอย่าง ผมคิดว่าหลายอย่างที่นี่ถ้าเราจะต้องพูดถึงตัวผู้ทำหน้าที่ด้านบุคคลต้องเข้าใจการบริหาร Basic ที่สุดผมเชื่อว่า Planning Organizing Leading Controlling ผมดูเปเปอร์ผมว่าที่นี้แผนดีมาก Organizing คิดว่าต้องปรับ Leading ผมว่ากระชับขึ้น Control ผมว่าเป็นปัญหาเพราะกว่าที่เราจะรู้ว่าเนื้อหาหรือแคมเปญนี้จะเข้าเป้าหรือไม่เข้าเป้า มันเลยช่วงเวลาที่เราใช้ประโยชน์จากตรงนั้นไปแล้ว
ซีรีส์ที่พูดถึงการย้อนยุคอยุธยา ช่อง 3 สามารถตีโป่งสร้างมูลค่าสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ เรามีโยเดียที่นึกไม่ถึง มีการพูดถึงในทางที่ดีมากแต่เมื่อมันเริ่มดังทุกอย่างมอดไปหมดแล้ว ผมเห็นงานไทยพีบีเอสมีโอกาสผิดมีโอกาสพลาดกับการนำเสนอ แต่หลายครั้งที่เราผิดเราพลาดเราหาที่จิ้มไม่ได้ว่าเราผิดเราพลาดตรงไหน และเป็นพื้นที่ตรงกลางอยู่บ่อยครั้ง อันนี้มองมุมมองภายนอก เราบอกอยู่เสมอว่าเราเป็นกลางเราอิสระจากการเมือง แต่หลายเรื่องเราตอบไม่ได้เพราะเราใช้สิ่งนี้ในการอ้างว่าเรามีเหตุผลในการดำรงอยู่ แต่เราต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าเราใกล้ชิดกับประชาชนจริง ๆ คนที่เป็นผอ. ด้านบุคลากรต้องเข้าใจประชาชนต้องเข้าใจ องค์กรต้องเข้าใจกลไกเอกชน และเข้าใจการปรับเปลี่ยนที่จะเจริญไปพร้อมกันครับ
Q : HR. คือพื้นที่สำหรับผู้บริหารโจทย์ทะลุแล้วทีนี้ต่อมาอีก Mindset & Approach ของนักบริหารสำคัญ ผมดูโปรไฟล์กับเรื่องที่คุณอภิรักษ์เล่ามาก็ดูว่า ถ้าคุณอภิรักษ์เป็นผู้บริหารก็คงเป็นผู้บริหารที่มีวิธีคิดแบบนักการตลาด ตามพื้นฐานและความถนัดของคุณอภิรักษ์ วิธีการบริหารแบบนักการตลาดมีการนำเสนอในเอกสารว่าเป็นผู้คัดกรอง และผู้คัดเลือกสินค้าสาธารณะ มันหมายถึงอะไรในเชิงบริหาร
A : เราต้องสร้างพื้นที่หรือแพลตฟอร์มให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุดครับว่าเขาต้องการอะไร และเรามีหน้าที่ปรุงแต่งคอนเทนต์ตรงนั้นให้น่าสนใจดึงดูด ปัญหาคือเรากำลังทำอาหารสุขภาพ เราถูกบังคับว่าต้องทำอาหารสุขภาพไม่มีผงชูรสไม่มีส่วนเติม
แต่อาหารสุขภาพต้องอร่อยน่ากิน น่าซื้อ และมีคนเข้ามาบริโภคอยู่เป็นประจำ การสร้างพฤติกรรมเพื่อคนเข้าใจถึงอาหารสุขภาพจึงเป็นสิ่งที่เราต้องทำ ถ้าเราตีตรงนั้นแตก ที่เหลือก็ไม่ยาก