Sustainability
AFTER Documentary Series
Reading Time: 3 minutesDecode Original Documentary Series ในเครื่องหมายคำถาม Our World Heritage in Danger? เรื่องราวของมนุษย์ผู้โดดเดี่ยวเฝ้ามองสิ่งมีชีวิตอื่นนอกจากตัวเขาเอง
Reading Time: 3 minutesDecode Original Documentary Series ในเครื่องหมายคำถาม Our World Heritage in Danger? เรื่องราวของมนุษย์ผู้โดดเดี่ยวเฝ้ามองสิ่งมีชีวิตอื่นนอกจากตัวเขาเอง
Reading Time: 3 minutesผลกระทบของรัฐประหารที่ไม่ใช่แค่สั่นคลอนต่อระบอบการเมือง แต่ยังรวมไปถึงการอุดมศึกษา ที่รัฐประหารเป็นช่วงเวลาสำคัญในการออกนอกระบบของมหาวิทยาลัย เปิดช่องทางให้ ‘อำนาจการเมืองและทุน’ เข้ามากำกับคุณค่า การเป็นที่รับรู้ของสถาบันอุดมศึกษา ในขณะเดียวกันความพยายามนี้ ก็มีเสียงสะท้อนจากภายในและภายนอกระบบ ว่าการอุดมศึกษาไทย ซุกปัญหา “ทุน” และ “อำนาจ” ไว้ใต้พรม รายงาน Failed University ที่แปลว่า มหาวิทยาลัยที่ล้มเหลว จากข้อเสนอของ ร.ศ. ดร. พันธุ์ปิติ เปี่ยมสง่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และนักวิชาการร่วมจัดทำรายงานรวบรวมปัญหาภายในอุดมศึกษา ของความพยายามนำตัวเลขการจัดอันดับแรงก์กิ้งมาเป็นตัววัดผลสำเร็จทางการศึกษา ละทิ้งการพัฒนาผู้เรียนผ่านการปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัย ไม่ส่งเสริมนักวิชาการให้ปฏิบัติหน้าที่ผลิตงานวิจัยสร้างสรรค์ สะท้อนคำขยายของรายงานที่ว่าด้วย ‘อำนาจที่ไร้เป้าหมาย เกียรติยศที่ไร้ความก้าวหน้า’ ซึ่ง รศ. สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หยิบยกรายงานมาขยายสภาวะระบบการเมือง ‘บ้านใหญ่’ ของสภามหาวิทยาลัยที่ชัดเจนหลังจากมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ใช้ตำแหน่งเก้าอี้ภายในสภาเพื่อกอบโกยผลประโยชน์ส่วนตัว ผลัดกันรับตำแหน่ง มีฐานเสียงโดยไม่จำเป็นต้องสนใจกับกระแสทิศทางความเห็นภายนอก ในฐานะผู้สอนสาขานิติศาสตร์ รศ. สมชาย ยกตัวอย่างถึงความบิดเบี้ยวของกระบวนการยุติธรรมไทย ที่ไม่เคยเห็นจุดยืนจากสำนักสาขานิติศาสตร์ ออกมาโต้แย้งจากความเห็นเชิงสถาบัน ทำให้เสียงของการโต้แย้งเป็นเพียงปัจเจก ไม่มีการระบุสังกัดเพราะถูกห้ามไม่ให้พูดถึง เสรีภาพการแสดงออกจึงเกิดขึ้นตราบที่ไม่กระทบกับอำนาจรัฐ ทั้งที่สิ่งเหล่านี้ […]
Reading Time: 9 minutesเศษซากไฟไหม้โกดังที่ 8 ของโกดังในซอยคลองเจ๊ก ต.ยกกระบัตร อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร ตั้งแต่ปลายเดือนมกราคม 2568 ไม่ได้ทิ้งร่องรอยไว้แค่หลังคาสังกะสีและอาคารสีดำไหม้ที่พบเครื่องจักรและกากอุตสาหกรรมหลายประเภทไว้ข้างใน
แต่ไฟไหม้ครั้งนี้ ยังทำให้เห็นว่าแท้จริงแล้วข้างใน ‘ประกอบกิจการ’ ที่อันตรายเพียงใด ขณะเดียวกันยังค้นพบถึงกระบวนการอาชญากรรมสิ่งแวดล้อมที่ผิดกฎหมายหลายประการ
Reading Time: 3 minutesช่วงราวไม่ถึงสามปีที่ผ่านมา เกิดกระแสสนใจพืชอาหารถิ่นชนิดหนึ่ง ซึ่งเดิมทีก็มีการหาอยู่หากินกันในหมู่ผู้คนในชนบทอยู่แล้ว แต่ความสนใจนั้นดูจะขยายตัวกว้างออกไปยังคนนอกวัฒนธรรมอย่างรวดเร็วราวไฟป่า นั่นก็คือกระแส “ตื่นผำ” ที่ผู้บริโภคชาวไทยหันมาสนใจและพูดถึงพืชลอยน้ำสีเขียวขนาดเล็กจิ๋ว เรียกกันหลายชื่อ ตั้งแต่ผำ (Wolffia) ไข่ผำ ไข่น้ำ ฯลฯ กันมากมายอย่างไม่เคยมีมาก่อน
Reading Time: 3 minutesเซาะกร่อน (ก.) หมายถึงทำให้ร่อยหรอไปทีละน้อย ไม่แน่ว่าสุดท้ายอาจไม่เหลือพื้นที่การเติบโตของเศรษฐกิจฐานราก ไม่มีทรัพยากรที่สมบูรณ์ให้พึ่งพิง และอาจไม่เหลือวิถีชีวิตของผู้คนในภูมิภาคที่ลุ่มรวยด้วยฐานทรัพยากรอย่างภาคใต้ ไม่ใช่แค่นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ระนองและชุมพร เท่านั้น ในย่างก้าวของความเงียบ (ร่าง)พระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) 4 ฉบับกำลังย่องเข้าเทียบท่าในรัฐสภา ภาพชีวิตของคนพื้นถิ่นถูกถ่ายทอดผ่านการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ปรากฏชัดในตัวอักษรของเล่มรายงาน Land Bridge Effect ผลกระทบโครงการท่าเรือน้ำลึกแลนด์บริจน์ชุมพร – ระนอง Play Read สัปดาห์นี้จึงต้องยอมรับแต่โดยดีว่า จะมีน้ำเสียงวิชาการหน่อย ๆ เพราะเห็นควรว่า ต้องหยิบตัวเลขที่น่าสนใจจากงานศึกษาในเล่มรายงาน Land Bridge Effect มาเล่าเคล้ากับบทสนทนาของชาวระนองที่ผู้เขียนมีโอกาสพบปะสนทนาเมื่อไม่กี่วันมานี้ อย่างน้อยก็คงจะช่วยขยายเป็นภาพอนาคตให้จิตนาการได้ชัดเจนขึ้น คลื่นทะเลเล็กน้อยสามารถออกเลได้สบาย ๆ 30-50 เดซิเบล ความดังของคลื่นกระทบฝั่งในยามปกติ กำลังสร้างงานสร้างรายได้ในทุกพื้นที่ที่คลื่นซัดถึง ทุกวันนี้การทำประมงพื้นบ้านก่อให้เกิดการจ้างงานในระดับครัวเรือนและชุมชน โดยประมงขนาดเล็กทั้งเรือหัวตัด เรือโทง เรือท้ายตัด ทำให้เกิดการจ้างงานราว 1-2 คนต่อเรือหนึ่งลำ มีรายได้เฉลี่ยคนละ 450-650 บาทต่อวัน จากการใช้ระยะเวลาทำงานเพียง 4-6 ชั่วโมง ผลการสำรวจของทีมวิจัยพบว่า […]
Reading Time: 6 minutesนับตั้งแต่ปี 2566-2568 เกิดการเลือกตั้งทั้งเล็ก-ใหญ่ ในสนามการเมืองระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ รวมไปถึงประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคอาเซียน แต่ไม่ได้มีเพียงความคุกรุ่นทางการเมืองที่ร้อนแรงระหว่างการเลือกตั้ง แต่ยังพบว่าเกิดการใช้ความรุนแรงบนโลกออนไลน์ที่ยังเลือก ‘เพศ’ และหลังการเลือกตั้งมีแนวโน้มว่าความรุนแรงนี้ กลายเป็นเรื่อง ‘ปกติ’ ในโซเชียลมีเดีย
เส้นบาง ๆ ของการกำกับควบคุมและอำนาจที่ล้นมือรัฐและบริษัทเทคฯ ต้องสร้างสมดุลเพื่อมอบพื้นที่ปลอดภัยข้ามพรมแดนให้กับประชาชน เมื่อปัญหานี้ไม่ใช่แค่เรื่องของนักการเมืองหญิง แต่เกี่ยวกับความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ของเราทุกคน
Reading Time: 3 minutes“เขาไม่ต้องการชนะหรอก เขาแค่ต้องการให้เราเงียบ และมันเป็นวิธีการที่รวดเร็วที่สุดที่จะปิดปากไม่ให้ใครพูดถึงผลกระทบต่อสาธารณะ” เสียงสะท้อนจาก เบญจา แสงจันทร์ คณะก้าวหน้า ในฐานะผู้ถูกฟ้องคดีปิดปากจากภาคธุรกิจ เหตุจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลที่กล่าวอ้างเอื้อผลประโยชน์ต่อภาคธุรกิจในขณะปฏิบัติหน้าที่สส. รูปแบบการฟ้องคดีปิดปากหรือคดี SLAPP (Strategic Lawsuit against Public Participation) กลายเป็นเครื่องมือของทุนและรัฐใช้เพื่อหวังผลให้เสียงของการเรียกร้องสิทธิอ่อนแรงและเงียบลง ไม่เว้นแม้แต่นักปกป้องสิทธิ หรือผู้แทนทางการเมืองที่ถูกเลือกมาจากประชาชนก็ล้วนถูกฟ้องดำเนินคดีทั้งสิ้น โดยผู้ฟ้องไม่ได้มุ่งแสวงหาข้อเท็จจริงด้วยกระบวนการยุติธรรม ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง SLAPP จึงไม่เพียงตีแผ่ความอยุติธรรมที่นักปกป้องสิทธิด้านสิ่งแวดล้อมต้องเผชิญ แต่ยังสื่อถึงพลัง ความกล้าหาญ และความหวังของผู้คนที่ยังคงยืนหยัดต่อสู้เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อม และเรียกร้องให้มีการจัดทำกลไกทางกฎหมายที่เป็นธรรมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน ทั้งยังเปิดเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างนักกิจกรรม นักกฎหมาย ภาคประชาสังคม และสื่อมวลชน เพื่อร่วมกันหาทางออกจากปัญหา SLAPP ‘ฟ้องปิดปาก’ มรดกตกทอดจากรัฐประหาร ย้อนกลับไปตั้งแต่ปี 2557 ที่สังคมไทยอยู่ภายใต้ระบบรัฐประหาร เกิดพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 พ.ร.บ. นี้ถูกใช้บังคับควบคุมการแสดงออกด้วยการชุมนุมเพื่อเรียกร้องสิทธิของประชาชน และเป็นหนึ่งเหตุผลที่รัฐใช้ในการดำเนินคดีกับผู้ออกมาเรียกร้องปกป้องสิทธิของตนเอง เช่นในกรณี ‘เทใจให้เทพา’ ชาวบ้านในพื้นที่ อ.เทพา จ.สงขลา คัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่ ด้วยการจับกุมและดำเนินคดีแกนนำทั้ง 17 คน ข้อหาขัดขวางการจับกุม ทำร้ายร่างกายเจ้าหน้าที่รัฐ ฝ่าฝืน พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ […]
Reading Time: 3 minutesเมื่อ PDP2024 เต็มไปด้วยความเงียบ การเปลี่ยนผ่านพลังงานและการลงทุนที่ไม่มีประชาชนในสมการ นำไปสู่ค่าไฟที่ไม่เป็นธรรม ที่ยังไร้ซึ่งคำตอบ
Reading Time: < 1 minuteทุกวันนี้ ถ้าเราเลื่อนฟีดโซเชียลมีเดีย หรือเปิดชมข่าวทางโทรทัศน์ แล้วมีข่าวคดีอะไรขึ้นมาซักอย่างหนึ่ง เมื่อลองคลิกเข้าไปอ่านเนื้อหาข่าวดี ๆ เราจะพบว่าข่าวนั้นอาจมีเรื่อง จีนเทา เข้ามาเกี่ยวข้อง ทำไม ‘จีนเทา’ เข้ามาทำความผิดในประเทศไทยได้ง่ายขนาดนั้น? จริง ๆ แล้วจีนเทาไม่ได้จู่ ๆ เกิดขึ้นมาแล้วทำความผิดในไทยเลย ก่อนหน้านี้จีนเทาอาศัยช่องว่างทางกฎหมายในประเทศจีนดำเนินการทำสิ่งผิดกฎหมายต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่นข่าวเรื่องแก๊งคอลเซ็นเตอร์ แต่ต่อมาเมื่อประชาชนจีนถูกหลอกมากขึ้นเรื่อย ๆ จนรัฐบาลรับเรื่องร้องเรียนนี้ต่อไปอีกไม่ไหว จีนจึงลงมือกวาดล้างครั้งใหญ่ ทำให้ขบวนการเหล่านี้ถูกไล่ล่า จนจีนเทาต้องกระจายตัวเองไปยังประเทศอื่น ๆ ซึ่งในบางประเทศก็ปราบปรามได้ แต่ในบางประเทศก็ยังปราบปรามไม่ได้ นอกจากทางการจีนจะปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในจีนแล้ว ยังทำให้จีนเทาที่ทำสิ่งผิดกฎหมายอื่น ๆ ในจีนกระจัดกระจายไปด้วย บวกกับกฎหมายของไทยมีช่องว่าง ผู้บังคับใช้กฎหมายก็อ่อนแอ ทำให้คนไทยได้รับความเสี่ยงเหล่านี้โดยไม่ทันได้ตั้งตัว ช่องว่างทางกฎหมายคือด่านแรกที่ทำให้จีนเทาสามารถเข้ามาทำสิ่งผิดกฎหมายได้ก็คือเรื่อง วีซา โดยเฉพาะช่วงหลังที่มีฟรีวีซา คุณชาดา เตรียมวิทยา ผู้เขียนหนังสือเรื่อง “จีนเทา : จีนใหม่ไทยแลนด์” ได้เขียนอธิบายไว้ว่า ชาวจีนที่อพยพเข้ามาใหม่นั้นได้อาศัยจังหวะนี้ในการทำสิ่งผิดกฎหมายซึ่งดูเหมือนจะส่งผลกระทบทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ และกฎหมาย และสิ่งน่ากังวลที่สุดก็คือ ผลกระทบด้านอาชญากรรมผิดกฎหมายที่แฝงตัวเข้ามาในรูปแบบต่าง ๆ วีซาของคนจีนที่เข้ามาในไทยนั้นมีหลายประเภท เช่น วีซานักเรียน […]
Reading Time: 3 minutesเสียงของเปอมูดอ มลายูคลื่นลูกใหม่ ในงาน Melayu raya 2025 แรงกระเพื่อมที่พาให้แวรุงชายแดนใต้มารวมตัวกันที่หาดวาสุกรีกว่าแสนคน เพื่อบอกเล่าถึงการกดทับ ยอมรับอัตลักษณ์และตัวตนผ่านบาจูมลายู
Reading Time: 7 minutesถามตรง-ตอบตรง กับการแสดงวิสัยทัศน์ของ วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ ผู้รับสมัครการสรรหาผอ.ไทยพีบีเอสคนต่อไป
Reading Time: 4 minutesถามตรง-ตอบตรง กับการแสดงวิสัยทัศน์ของ ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้รับสมัครการสรรหาผอ.ไทยพีบีเอสคนต่อไป
Reading Time: 6 minutesถามตรง-ตอบตรง กับการแสดงวิสัยทัศน์ของ อภิรักษ์ หาญพิชิตวณิชย์ ผู้รับสมัครการสรรหาผอ.ไทยพีบีเอสคนต่อไป