Gender & Sexuality Archives - Decode

CATEGORY Gender & Sexuality
Lorem ipsum dolor sit amet.

Gender & Sexuality

อัลกอริทึ่มของความรุนแรงทางเพศ ในโลกที่ ‘บิ๊กเทค’ มีอำนาจเทียบเท่า ‘รัฐ’ ใครเป็นผู้ขีดเส้นเสรีภาพ

Reading Time: 6 minutesนับตั้งแต่ปี 2566-2568 เกิดการเลือกตั้งทั้งเล็ก-ใหญ่ ในสนามการเมืองระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ รวมไปถึงประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคอาเซียน แต่ไม่ได้มีเพียงความคุกรุ่นทางการเมืองที่ร้อนแรงระหว่างการเลือกตั้ง แต่ยังพบว่าเกิดการใช้ความรุนแรงบนโลกออนไลน์ที่ยังเลือก ‘เพศ’ และหลังการเลือกตั้งมีแนวโน้มว่าความรุนแรงนี้ กลายเป็นเรื่อง ‘ปกติ’ ในโซเชียลมีเดีย

เส้นบาง ๆ ของการกำกับควบคุมและอำนาจที่ล้นมือรัฐและบริษัทเทคฯ ต้องสร้างสมดุลเพื่อมอบพื้นที่ปลอดภัยข้ามพรมแดนให้กับประชาชน เมื่อปัญหานี้ไม่ใช่แค่เรื่องของนักการเมืองหญิง แต่เกี่ยวกับความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ของเราทุกคน

นทธร เกตุชู
Gender & Sexuality

วาระแห่งความภาคภูมิในตัวเอง 

Reading Time: 2 minutesประเทศเต็มไปด้วยคำตอบอันปราศจากคำถาม วีรพร นิติประภา มิถุนายนถูกถือว่าเป็นเดือน Pride หรือเดือนแห่งความภาคภูมิในตัวเองของผู้มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งมีการจัดขบวนพาเหรดเดินและงานเฉลิมฉลองในหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย แต่น้อยคนจะรู้ว่างานนี้มีจุดเริ่มต้นมาจากการเรียกร้องทางการเมืองที่น่าสนใจมากครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ เรื่องทั้งหมดเริ่มจากเหตุการณ์ที่ถูกเรียกภายหลังว่า Stonewall Riots หรือจราจลสโตนวอลล์ ย่านกรีนนิชวิลเลจ ในนิวยอร์กซิตี้ วันที่ 28 เดือนมิถุนายน–3 กรกฎาคม ปี 1969 …กว่าครึ่งศตวรรษมาแล้ว การปะทะจราจลครั้งนี้ไม่ใช่ความขัดแย้งครั้งแรกระหว่างทางการอเมริกันกับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ ในช่วงทศวรรษที่ 60s ก็มีการชุมนุมเรียกร้องของนักเคลื่อนไหว LGBT ตามหัวเมืองใหญ่ทั่วอเมริกามาตลอด พักนึกภาพตามสักนิดก่อน แรกเริ่มเดิมทีก่อนหน้าหลายพันปี การเป็นคนรักเพศเดียวกันได้รับการต่อต้านจากคริสตจักรมาตลอด ไม่เพียงแต่คนที่รักเพศเดียวกันจะถูกตราหน้าว่าเป็นคนบาป ในหลายประเทศนี่ยังเป็นเรื่องผิดกฎหมาย และมีโทษตั้งแต่จำคุกไปจนถึงประหารชีวิต (ปัจจุบันยังมีการลงโทษรุนแรงในหลายประเทศมุสลิมอยู่) จนมาถึงทศวรรษที่ 60s คนที่แสดงตัวเป็นเกย์  เลสเบี้ยน แดรกควีน ทอมบอยหรือข้ามเพศก็ยังถูกกีดกัน ทั้งโอกาสงาน การเช่าบ้าน กระทั่งการเข้าคลับ บาร์ สถานบันเทิงทั่วไป เรียกว่าเป็น ’คนนอก’ และไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม ที่ที่คนเหล่านี้สามารถพบปะสังสรรค์กันจึงต้องเป็นบาร์เฉพาะ และบาร์เฉพาะหรือบาร์เกย์เหล่านี้ก็เป็นบาร์ใต้ดินหรือบาร์เถื่อนด้วย เนื่องจากไม่ได้รับสิทธิ์ให้จดทะเบียนดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมายมาแต่ต้น วนเป็นงูกินหาง …และบาร์สโตนวอลล์ อินที่ว่าก็เป็นหนึ่งในนั้น นิวยอร์กในเวลานั้นก็เป็นเมืองที่มีประชากรผู้มีความหลากหลายทางเพศอยู่จำนวนมาก และการที่ตำรวจจะบุกจับและปิดบาร์เถื่อนแบบนี้ก็เป็นเหตุประจำวันอยู่แล้ว ส่วนใหญ่ก็ด้วยข้อหาไม่มีใบอนุญาตขายสุรา แต่เที่ยงคืนวันที่ 28 มิถุนายนปีนั้นดูเหมือนตำรวจจะใช้ความรุนแรงกับบรรดาแขกของบาร์สโตนวอลล์เกินความจำเป็นไปสักหน่อย โดยมีการใช้กระบองตีผู้หญิงและหญิงข้ามเพศ แต่หลังจากจับคนหลายร้อยคนไปแล้ว เรื่องก็กลับไม่จบลงแค่นั้น มีผู้คนเริ่มเข้ามาชุมนุมรอบ ๆ บาร์เพิ่ม และเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จากหลักร้อยเป็นหลายพัน มีการเรียกร้องให้ผู้หลากหลายทางเพศเปิดเผยตัวตน และเข้าร่วมชุมนุม การประท้วงยืดเยื้อหลายวัน มีความรุนแรงน้อยใหญ่เกิดขึ้นประปราย และการประท้วงครั้งนั้นเป็นชนวนนำมาซึ่งการเดินขบวนประท้วงของกลุ่ม LGBT ทั่วประเทศอีกหลายครั้ง ซึ่งนำไปสู่การเรียกร้องการได้รับยอมรับในฐานะประชากรที่เท่าเทียมในทางกฎหมายทั่วอเมริกา และลามไปยังยุโรปกับประเทศอื่น ๆ ในเวลาต่อมา รายละเอียดเรื่องนี้สามารถหาอ่านได้ในวิกิพีเดียและเว็บต่าง ๆ ได้ แต่แก่นสารของเรื่องไม่ได้อยู่ที่จราจลที่นั่นวันนั้น  หรือกระทั่งการต่อสู้ในเวลาต่อมา หากอยู่ที่การเปิดเผยตัวตนและปฏิเสธที่จะหลบซ่อนของคนที่มีความหลากหลายทางเพศต่างหาก และนั่นก็เป็นที่มาของคำว่าไพรด์ …การยอมรับตัวเองอย่างภาคภูมิ และหลังจากนั้นเมื่อมีการรำลึกถึงเหตุการณ์ในเวลาต่อมาจึงเรียกงานนี้ว่าไพรด์ จากคนไม่กี่คนที่มารวมตัวหน้าบาร์สโตนวอลล์ในปีถัดมา  งานไพรด์ค่อย ๆ ขยายกลายมาเป็นพาเหรดประจำปีของคนนับหมื่นนับล้านตามเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อเฉลิมฉลองการเปิดเผยตัวตน เพื่อแสดงความภาคภูมิในตัวเอง เพื่อกระตุ้นให้ผู้คนมีชีวิตที่เป็นตัวเองและเลิกหลบซ่อนปิดบัง นับแต่นั้นการเป็นผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ LGBT […]

วีรพร นิติประภา
Gender & Sexuality

สวนยาง ทรายขาว บูโดอันศักดิ์สิทธิ์ของเปอมูดีมลายู หยัดยืนกลางคลื่นลม ‘คนนอก’

Reading Time: 2 minutesมีคำกล่าวจากบนเวทีวันนี้ว่า “ปาตานีจะไม่มีวันแข็งแรง เมื่อรากของมันแคระแกร็น และอัตลักษณ์จะไม่มีทางถูกได้ยิน หากยังไม่มีที่ทางให้พวกเขาถูกยอมรับ”
ประโยคปราศรัยดังกล่าว ยิ่งตอกย้ำโจทย์ของผู้หญิงชายแดนใต้ ที่ก๊ะ-เด๊ะ เปอมูดีมลายู ลุกขึ้นมาเพื่อปกป้อง สื่อสาร และไม่ยอมจำนนต่อความไม่เป็นธรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ โดยเฉพาะความรุนแรงที่กดทับหญิงสาวชายแดนใต้หลายยุคหลายสมัย
เมื่อพื้นที่และผู้คนคือเรื่องเดียวกันและสันติภาพชายแดนใต้จะเกิดขึ้นไม่ได้ หากเรายังไม่เข้าใจปมที่กดทับอย่างซับซ้อนพี่น้องมลายูในสามจังหวัดชายแดนใต้

นทธร เกตุชู
Gender & Sexuality

ภาพยนตร์และยุคสมัยของเควียร์ 1901-2021

Reading Time: 2 minutesหนังสือ 6 ทศวรรษของเควียร์ในภาพยนตร์: จากผู้ทำลายเป็นผู้สร้าง (ครอบครัว) โดย ภาวิน มาลัยวงศ์ เป็นงานวิเคราะห์ที่พาผู้อ่านสำรวจภาพแทนและบทบาทของตัวละครเควียร์ในโลกภาพยนตร์ ตั้งแต่อดีตในยุคสมัย 1901 จนถึง ค.ศ. 2023 จากยุคที่พวกเขาถูกมองว่าเป็น “ภัยคุกคาม” ผู้บ่อนทำลายสถาบันครอบครัวไปสู่ยุคที่พวกเขาสามารถสร้างเรื่องราวของตนเอง และสร้างครอบครัวในแบบที่พวกเขานิยามเองได้ 

กุลธิดา กระจ่างกุล
Gender & Sexuality

ถ้าคุณรู้จัก Martha Stewart

Reading Time: 3 minutesมาร์ธา สจ๊วร์ต น่าจะเป็นคนแรกที่ทำให้คำว่า ‘ไลฟ์สไตล์’ แทรกซึมเข้ามาเป็นกระแสหลักในชีวิตผู้คน และที่สำคัญที่สุดก็คือ เธอทำให้มันกลายเป็น ‘ธุรกิจ’ ขนาดใหญ่ขึ้นมาได้ ชวนอ่านปรากฏการณ์มาร์ธา สจ๊วร์ต อีกแง่มุมของการล้มแล้วลุกขึ้นใหม่อีกครั้ง

โตมร ศุขปรีชา
Gender & Sexuality

‘สิ่งที่เจอ’ ไม่ใช่แค่เกมการเมือง แต่เป็นความรุนแรงต่อผู้หญิง และข่าวลวงบีบบังคับให้ยอม ‘จำนน’

Reading Time: 4 minutesเพราะเป็นหญิงในโลกการเมือง จึงต้องเจ็บปวด?
ทำไมผู้หญิงยังคงเผชิญความท้าทายในด้านต่าง ๆ ทั้งจากบรรทัดฐานของสังคมและการรับรู้ของสังคมที่ยังเห็นพื้นที่การเมืองเป็นพื้นที่ของผู้ชาย หรือเพราะสังคมไทยยังไม่ยอมรับบทบาทที่เท่าเทียมของผู้หญิงในการเป็นผู้นำทางการเมือง
บทบาทของสื่อและความรุนแรงบนโลกออนไลน์ ที่ยังไม่หายไปจากนักการเมืองหญิง
เมื่อความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศ ไม่เพียงส่งผลเสียต่อพรรคการเมืองหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น แต่ยังรวมถึงคุณภาพของการเลือกตั้งและความเข้มแข็งของระบอบประชาธิปไตยในภาพรวม

นทธร เกตุชู
Gender & Sexuality

บทใหม่หลังวิวาห์หลากสี ข้าม(ไม่)พ้นการเมืองเรื่องเพศ

Reading Time: 4 minutesธงสีรุ้งโบกสะพัด วิวาห์รักโอบล้อมไปด้วยความยินดี การเดินทางของความรักเดินทางมาถึงบนหน้ากฎหมาย แต่หลังการมีกฎหมายสมรสเท่าเทียม เรามีอะไรต้องทำอีกบ้าง?

ธเนศ แสงทองศรีกมล
Gender & Sexuality

เท้าหลังสิย่างก้าว บ่กลัวนาย

Reading Time: 3 minutesผู้หญิงกับป่าพึ่งพาและผูกพันกันเป็นชีวิต การต่อสู้ที่ใช้หม้อข้าว แปลงนา ควาย และปากกาเป็นอาวุธ และเสียงจากช้างเท้าหลังที่กระแทกกระทั้นกว่าช้างเท้าหน้า

ธเนศ แสงทองศรีกมล
Gender & Sexuality

เรื่องจริงกระแสรองของคนข้ามเพศสูงวัย ไม่ใช่ทุกคนจะกลับบ้านได้ จนกลายเป็นคนไร้บ้านสูงวัยในที่สุด

Reading Time: 3 minutesฟังเสียงสะท้อนที่เราไม่ได้ยินกันบ่อยนักในการรณรงค์เรื่องสิทธิผู้มีความหลากหลายทางจากประสบการณ์ตรงของผู้มีความหลากหลายทางเพศที่มีอัตลักษณ์ทับซ้อนอย่างการเป็นผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ชนบท ของ พี่หล้า ธนิชา ธนะสาร อดีตผู้ใหญ่บ้านที่นิยามตัวเองว่าเป็นทอม และ พี่ขวัญ สุขวัญ กองดี สาวประเภทสอง จากมูลนิธิซิสเตอร์

ณัฐพร เทพานนท์
Gender & Sexuality

Stalking เพราะความเกลียดชัง กฎหมายครอบจักรวาล

Reading Time: 3 minutesแม้ว่าการ Stalking มักจะเกิดในกรณีการคุกคามทางเพศ เช่น กรณีแอบชอบอย่างเคสของน้องมินตัน เน็ตไอดอลชื่อดัง หรือในกรณีของอดีตคนรักที่เลิกรากันไปแล้วมีการสะกดรอยติดตาม เพราะแค้นหรืออยากทำร้ายร่างกาย หรือคนที่ถูกบอกเลิก อาจมีการ Stalking เพราะอยากกลับเข้ามาในความสัมพันธ์ นอกจากนี้ในอีกกรณีหนึ่งคือ Stalking เพราะความเกลียด เช่น ความเห็นทางการเมืองไม่ตรงกัน ดังนั้นเหยื่อจึงไม่ได้ถูกจำกัดที่เพศหญิงอย่างเดียว ทุกเพศมีสิทธิถูก Stalking ได้เหมือนกันหมด

อโนมา สอนบาลี
Gender & Sexuality

ชีวิตกล่องสุ่มของทรานส์แมน

Reading Time: 3 minutesเมื่อร่างกายชายข้ามเพศกลายเป็น’กรณีศึกษา’ ชีวิตที่ไม่แน่นอนคล้ายยืนอยู่บนกล่องสุ่ม ผลข้างเคียงนอกตำรับยารุนแรงกระแทกกระทั้นทั้งสุขภาวะทางเและสิทธิขั้นพื้นฐานของทรานส์แมน

ธเนศ แสงทองศรีกมล
Gender & Sexuality

U=U ยกสองดันร่างพ.ร.บ.ขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล ฝ่ากำแพง ‘เลือกปฏิบัติ’

Reading Time: 3 minutesหัวใจของกฎหมายขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล ที่ภาคประชาสังคมผลักดันมาตลอดระยะเวลา 3 ปี แต่ด้วยเหตุที่ถูกตีความว่าเป็น(ร่าง)กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการเงิน ต้องได้รับการลงนามจากนายกรัฐมนตรีก่อนเข้าสู่สภา ผลลัพธ์จากการพิจารณาคือไม่ได้ลายเซ็นรับรองจากนายกฯ ทั้งๆ ที่ผู้ถูกละเมิดสิทธิจำนวนมากต่างรอความหวังจากการคุ้มครองของกฎหมายนี้ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ติดเชื้อ HIV ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการการเลือกปฏิบัติในมิติต่างๆ เช่น บังคับตรวจเลือดอันเป็นผลให้เกิดการปฏิเสธการรับเข้าทำงาน

อโนมา สอนบาลี