Education Archives - Decode

CATEGORY Education
Lorem ipsum dolor sit amet.

Education

เล่นแร่แปรธาตุ ‘มหาลัย’ สู่ ‘บรรษัททางการศึกษา’ ที่ไร้เสรีภาพ

Reading Time: 3 minutesผลกระทบของรัฐประหารที่ไม่ใช่แค่สั่นคลอนต่อระบอบการเมือง แต่ยังรวมไปถึงการอุดมศึกษา ที่รัฐประหารเป็นช่วงเวลาสำคัญในการออกนอกระบบของมหาวิทยาลัย เปิดช่องทางให้ ‘อำนาจการเมืองและทุน’ เข้ามากำกับคุณค่า การเป็นที่รับรู้ของสถาบันอุดมศึกษา ในขณะเดียวกันความพยายามนี้ ก็มีเสียงสะท้อนจากภายในและภายนอกระบบ ว่าการอุดมศึกษาไทย ซุกปัญหา “ทุน” และ “อำนาจ” ไว้ใต้พรม รายงาน Failed University ที่แปลว่า มหาวิทยาลัยที่ล้มเหลว จากข้อเสนอของ ร.ศ. ดร. พันธุ์ปิติ เปี่ยมสง่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และนักวิชาการร่วมจัดทำรายงานรวบรวมปัญหาภายในอุดมศึกษา ของความพยายามนำตัวเลขการจัดอันดับแรงก์กิ้งมาเป็นตัววัดผลสำเร็จทางการศึกษา ละทิ้งการพัฒนาผู้เรียนผ่านการปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัย ไม่ส่งเสริมนักวิชาการให้ปฏิบัติหน้าที่ผลิตงานวิจัยสร้างสรรค์ สะท้อนคำขยายของรายงานที่ว่าด้วย ‘อำนาจที่ไร้เป้าหมาย เกียรติยศที่ไร้ความก้าวหน้า’ ซึ่ง รศ. สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หยิบยกรายงานมาขยายสภาวะระบบการเมือง ‘บ้านใหญ่’ ของสภามหาวิทยาลัยที่ชัดเจนหลังจากมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ใช้ตำแหน่งเก้าอี้ภายในสภาเพื่อกอบโกยผลประโยชน์ส่วนตัว ผลัดกันรับตำแหน่ง มีฐานเสียงโดยไม่จำเป็นต้องสนใจกับกระแสทิศทางความเห็นภายนอก  ในฐานะผู้สอนสาขานิติศาสตร์ รศ. สมชาย ยกตัวอย่างถึงความบิดเบี้ยวของกระบวนการยุติธรรมไทย ที่ไม่เคยเห็นจุดยืนจากสำนักสาขานิติศาสตร์ ออกมาโต้แย้งจากความเห็นเชิงสถาบัน ทำให้เสียงของการโต้แย้งเป็นเพียงปัจเจก ไม่มีการระบุสังกัดเพราะถูกห้ามไม่ให้พูดถึง เสรีภาพการแสดงออกจึงเกิดขึ้นตราบที่ไม่กระทบกับอำนาจรัฐ ทั้งที่สิ่งเหล่านี้ […]

ณัฐณิชา มีนาภา
Education

วงจรอุบาทว์ยากจนเริ่มต้นที่ระบบการศึกษา

Reading Time: < 1 minuteหลังวิกฤตโควิด มีเยาวชน’หลุด’ออกจากระบบการศึกษาทันทีราวๆ สองแสนคน
ในจำนวนนี้มีคนหนุ่มสาวน้อยมากที่สามารถระเกียกตะกายกลับเข้าระบบการศึกษาได้อีก หากไม่ได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ
ความยากจนทำให้ประชากรของเราไม่สามารถรับมือกับ’อุบัติเหตุ’ของโลกได้มากไปกว่าแล่เนื้อเถือหนังตัวเองเอาชีวิตรอด หลายครอบครัวจำเป็นต้องเลือกส่งแค่ลูกคนใดคนหนึ่งเรียน เพราะไม่มีรายได้มากพอจะสามารถส่งเสียลูกๆ ได้ทุกคน และจะเลือกส่งเฉพาะลูกคนที่’หัวดี’หรือเรียนได้คะแนนดีพอ ซึ่งในแง่เศรษฐศาสตร์คือเป็นการลงทุนที่คุ้มความเสี่ยงกว่า

วีรพร นิติประภา
Education

เด็กใต้สมองไหลไปมาเลเซีย ความรู้ที่ไม่ผูกขาดด้วยภาษาชาติ

Reading Time: 2 minutesพูดคุยกับ อัฟนาน เล็มโดย อดีตนักเรียนประถมศึกษาจากจังหวัดสตูล ที่มีโอกาสไปเรียนระดับมัธยมศึกษาที่ประเทศมาเลเซีย ด้วยทุนรัฐบาลมาเลเซีย ถึงแม้จะได้ทุนหรือไม่ก็ตาม อัฟนานก็จะไปเรียนที่มาเลเซียอยู่ดี

วิชญ์ช​นนท์​ ปิติ​ชัย​ธ​นา​โชติ​
Education

15,000 พิมพ์เขียวรร.ขนาดเล็ก ความหวังใต้ดวงตะวันที่สาดส่องไม่เท่ากัน แบ่งแยกและควบรวม

Reading Time: 4 minutesเมื่อเด็กเกิดน้อย การมีอยู่ของรร.ขนาดเล็กจึงเป็นเรื่องปกติ 15,000 พิมพ์เขียวที่กระจายอยู่ทั่วประเทศในรร.เล็ก หลักฐานเชิงประจักษ์ชิ้นสำคัญที่บอกว่า ‘โรงเรียนขนาดเล็กไม่ใช่ปัญหา’

ธเนศ แสงทองศรีกมล
Education

‘ใครจะมาส่งหนู’ ยื้อ ‘ควบรวมรร.เล็ก’ ให้นานที่สุด เพราะยาเม็ดเดียวไม่ได้แก้ทุกปัญหา

Reading Time: 3 minutesหลายทศวรรษที่โรงเรียนขนาดเล็กยังเหมือนเดิม บุคลากร งบประมาณ และคุณภาพการศึกษา คือโจทย์สำคัญของโรงเรียนขนาดเล็กที่จะต้องแก้ แต่จะทำอย่างไรเมื่อชุมชนที่เข้มแข็ง ก็ไม่อาจรั้งโรงเรียนไว้ได้เช่นเดิม?

ธเนศ แสงทองศรีกมล
Education

‘เรียนดี มีความสุข’ ยอดภูเขาน้ำแข็งของการศึกษาไทย

Reading Time: 3 minutesกลายเป็นข้อกังขาสำคัญต่อความเหมาะสมกับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการตั้งแต่เริ่มทำงานผ่านปากคำของ ครูทิว-ธนวรรธน์ สุวรรณปาล ครูโรงเรียนวัดธาตุทองที่เน้นย้ำต้องการคนที่มีวิสัยทัศน์ด้านการศึกษา เคยทำงานหรือมีความสนใจด้านการศึกษาที่คนทั่วไปเห็นและพอรู้จักวิธีคิดด้านการศึกษา เพราะสิ่งเหล่านั้นจะเป็นการแสดงถึงวิธีการจัดการบริหารและจัดสรรงบให้คุ้มค่าและตรงตามความต้องการอย่างแท้จริง

วิชญ์ช​นนท์​ ปิติ​ชัย​ธ​นา​โชติ​
Education

กยศ. สะพานการศึกษาที่ส่งไม่ถึงฝั่ง

Reading Time: 3 minutesDe/code ได้ไปพูดคุยกับ บิล (นามสมมุติ) อายุ 24 ปี นักศึกษาที่จบจากมหาวิทยาลัย มาประมาณ 2-3 ปี ที่มีความจำเป็นต้องทำงานควบคู่กับการเรียนไปด้วย และประสบการณ์การเก็บชั่วโมงจิตอาสา ทำให้เธอต้องสูญเสียทั้งงาน เงิน และเวลา ไปกับการทำความดีที่ได้ผลจริงหรือเปล่า นอกจากนี้ยังได้พูดคุยกับธนกาญจน์ รื่นไว นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเอกชนที่พึ่งกู้ และได้พบว่าสะพานสู่โอกาสเหล่านี้อาจไม่ได้สร้างมาเพื่อทุกคน

วิชญ์ช​นนท์​ ปิติ​ชัย​ธ​นา​โชติ​
Education

‘โนนทัน Thuglife’ รอยสักมังกรดำ รอยช้ำเด็กหลุดเมืองขอนแก่น

Reading Time: 5 minutesเมื่อการพาเด็กหลุดจากระบบการศึกษากลับมาสู่สังคมทั่วไป งานนี้ไม่มีฮีโร่ฉายเดี่ยว เพราะการช่วยเหลือเยาวชนต้องทำงานเป็นทีม นิยามชีวิตจริงของเด็กหลุด แก็งท้องถิ่น ครู และราชการ ที่เมืองขอนแก่น การแก้ไขสภาพแวดล้อมใหม่ที่จะไม่ทำให้เด็กคนไหนหล่นหายจะวงโคจร

นทธร เกตุชู
Education

ไม่มีสนามเด็กเล่นในชายหาด มีแต่พาร์ทไทม์และฟูลไทม์ในสนามแรงงานเด็กบังคลาเทศ

Reading Time: 6 minutesการทำงานช่วยเหลือครอบครัวไม่ใช่เรื่องแย่เสมอไป แต่อะไรคือเส้นแบ่งว่า นี่คือรูปแบบการเป็นแรงงานเด็ก (Forced Child Labor) ที่ทำให้เด็กต้องเผชิญความเสี่ยงต่อชีวิต/จิตใจ และการเติบโต

กัลยาวีร์ แววคล้ายหงษ์
Education

ภาษาอังกฤษกับความเป็นสากลที่เด็กไทยอยากไปให้ถึง

Reading Time: 3 minutesคุยกับกรกนก ฮัปเปิล ถึงสาเหตุความย่ำแย่การใช้ภาษาอังกฤษของเด็กไทย ท่ามกลางความเป็นภาษาสากลของภาษา

วิชญ์ช​นนท์​ ปิติ​ชัย​ธ​นา​โชติ​
Education

การเรียนรู้ไม่เท่ากับการศึกษา บทสนทนาที่เริ่มจากนิยามการศึกษากับ ‘ธีรภัทร รื่นศิริ’

Reading Time: 2 minutesคุยกับธีรภัทร รื่นศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงแนวคิดการศึกษาไทยที่ยังคงเป็นปัญหา ไม่ว่าจะเป็นการสั่งการบ้าน ไปจนถึงการตัดเกรดแบบอิงกลุ่ม

ธีทัต จันทราพิชิต
Education

การศึกษา(เพิ่ม)หลังจบป.ตรี

Reading Time: < 1 minuteไม่มีใครควรใช้เงินพ่อแม่เพื่อการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเอก อย่างที่บอก…มันไม่จำเป็น ในแง่เศรษฐศาสตร์มันก็เป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า ยิ่งเรียนต่อต่างประเทศยิ่งแล้ว เว้นแต่พ่อแม่ของคุณจะร่ำรวยมาก ๆ

วีรพร นิติประภา