ณัฐณิชา มีนาภา, Author at Decode
Human & Society

ลึกสุดใจ ‘หมอ’ กับการลาออกครั้งสุดท้าย ราชการ ‘ไม่ใช่ไม่มั่นคง’ แต่ ‘ระบบ’ สาธารณสุขต่างหากที่ ‘สั่นคลอน’

Reading Time: 4 minutesฟังคำต่อคำของ “หมอ” ด่านหน้าของระบบสาธารณสุขที่สั่นคลอน การลาออกจากระบบราชการของบุคลากรทางการแพทย์ที่ยังไหลไม่หยุด ไม่ใช่เพราะ “ไม่มั่นคง” แต่ลึกไปกว่านั้นคือปัญหาเชิงระบบที่แท้จริงแล้วแก้ไขได้ เพียงแต่ “ต้องยอมรับว่ามีปัญหาอยู่จริง” จึงจะแก้ปัญหาได้ถูกจุด

ณัฐณิชา มีนาภา

เล่นแร่แปรธาตุ ‘มหาลัย’ สู่ ‘บรรษัททางการศึกษา’ ที่ไร้เสรีภาพ

Reading Time: 3 minutesผลกระทบของรัฐประหารที่ไม่ใช่แค่สั่นคลอนต่อระบอบการเมือง แต่ยังรวมไปถึงการอุดมศึกษา ที่รัฐประหารเป็นช่วงเวลาสำคัญในการออกนอกระบบของมหาวิทยาลัย เปิดช่องทางให้ ‘อำนาจการเมืองและทุน’ เข้ามากำกับคุณค่า การเป็นที่รับรู้ของสถาบันอุดมศึกษา ในขณะเดียวกันความพยายามนี้ ก็มีเสียงสะท้อนจากภายในและภายนอกระบบ ว่าการอุดมศึกษาไทย ซุกปัญหา “ทุน” และ “อำนาจ” ไว้ใต้พรม รายงาน Failed University ที่แปลว่า มหาวิทยาลัยที่ล้มเหลว จากข้อเสนอของ ร.ศ. ดร. พันธุ์ปิติ เปี่ยมสง่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และนักวิชาการร่วมจัดทำรายงานรวบรวมปัญหาภายในอุดมศึกษา ของความพยายามนำตัวเลขการจัดอันดับแรงก์กิ้งมาเป็นตัววัดผลสำเร็จทางการศึกษา ละทิ้งการพัฒนาผู้เรียนผ่านการปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัย ไม่ส่งเสริมนักวิชาการให้ปฏิบัติหน้าที่ผลิตงานวิจัยสร้างสรรค์ สะท้อนคำขยายของรายงานที่ว่าด้วย ‘อำนาจที่ไร้เป้าหมาย เกียรติยศที่ไร้ความก้าวหน้า’ ซึ่ง รศ. สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หยิบยกรายงานมาขยายสภาวะระบบการเมือง ‘บ้านใหญ่’ ของสภามหาวิทยาลัยที่ชัดเจนหลังจากมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ใช้ตำแหน่งเก้าอี้ภายในสภาเพื่อกอบโกยผลประโยชน์ส่วนตัว ผลัดกันรับตำแหน่ง มีฐานเสียงโดยไม่จำเป็นต้องสนใจกับกระแสทิศทางความเห็นภายนอก  ในฐานะผู้สอนสาขานิติศาสตร์ รศ. สมชาย ยกตัวอย่างถึงความบิดเบี้ยวของกระบวนการยุติธรรมไทย ที่ไม่เคยเห็นจุดยืนจากสำนักสาขานิติศาสตร์ ออกมาโต้แย้งจากความเห็นเชิงสถาบัน ทำให้เสียงของการโต้แย้งเป็นเพียงปัจเจก ไม่มีการระบุสังกัดเพราะถูกห้ามไม่ให้พูดถึง เสรีภาพการแสดงออกจึงเกิดขึ้นตราบที่ไม่กระทบกับอำนาจรัฐ ทั้งที่สิ่งเหล่านี้ […]

ณัฐณิชา มีนาภา
ณัฐณิชา มีนาภา

‘สารหนู’ ไม่ไหลกลับ เศรษฐกิจหลับใหล

Reading Time: 4 minutesความเจ็บปวดบางอย่างอาจทิ้งแผลฝังลึกเอาไว้ เช่นเดียวกับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับแม่น้ำกกยังหลงเหลือให้เห็นซากปรักหักพังของบ้านเรือน รีสอร์ท ตลอดสองฝั่งแม่น้ำกก ต.ท่าตอน อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากพายุยางิเมื่อปลายเดือนกันยายน 2567 บางรีสอร์ททิ้งร้าง รอการซ่อมแซม ฟื้นฟู  มาวันนี้ถูกซ้ำเติมอย่างหนักจากพิษ ‘สารหนู’ ข้ามพรมแดน สีที่ขุ่นข้นของแม่น้ำกกในฤดูน้ำหลากเช่นนี้ จึงเสมือนเครื่องบันทึกความเจ็บปวดซ้ำซากของผู้คน สิ่งแวดล้อม และสายน้ำกำลังจมดิ่งในความรุนแรงที่มองไม่เห็น  ยิ่งเป็นหมู่บ้าน ‘ไกลปืนเที่ยง’ ตามนิยามของความห่างใกล้เชียงรายมากกว่าเชียงใหม่ ด้วยระยะทาง 96.9 กิโลเมตรจากตัวเมืองเชียงราย เราเดินทางลัดเลาะไปตามเส้นทางถนนแม่จัน-ฝาง บางขณะดินสไลด์ถนนขาดบางช่องจราจร ‘ถึงแล้ว’ บ้านแก่งทรายมูล ต.ท่าตอน อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ซึ่งติดกับประเทศเมียนมาโดยมีแม่น้ำกกเป็นแนวพรมแดน ในอดีตเป็นจุดสิ้นสุดทางหลวงแผ่นดินถ้าจะเดินทางต่อไปยังจังหวัดเชียงรายจะต้องนั่งเรือหางยาวล่องไปตามแม่น้ำกกใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมงเลยทีเดียว   “แก่งกลางแม่น้ำกก เป็นที่มาของชื่อบ้านแก่งทรายมูล เมื่อก่อนจะมีทรายสีขาวเลย แต่ตอนนี้ที่เห็นนี่ไม่ใช่ทรายนะ โคลนทั้งนั้นเลย” เราเลี้ยวตามป้ายบอกทาง ‘ท่าตอน การ์เด้น รีสอร์ท’ บ้านพักหลายหลังสร้างให้กลืนไปกับสวนลิ้นจี่ที่กำลังออกผลพร้อมให้เก็บเกี่ยวในอีกไม่กี่วัน พี่สามารถ พลูเกตุ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านแก่งทรายมูล และในอีกฐานหนึ่งคือเป็นผู้ประกอบการรีสอร์ทในพื้นที่ท่าตอน พาเราย้อนกลับไปเมื่อ 7 ปีก่อน อาชีพตั้งต้นของพี่สามารถคือการประกอบกิจการจากซุ้มแพอาหาร ก่อนจะต่อยอดไปเป็นห้องพัก ร้านอาหาร รวมไปถึงสวนลิ้นจี่ในพื้นที่รวมกันประมาณ […]

ณัฐณิชา มีนาภา
ณัฐณิชา มีนาภา

นักบันทึกเรื่องราว ‘จุดไม่อาจย้อนกลับ‘ ของสิ่งแวดล้อม

Reading Time: 2 minutesหรือเรากำลังบันทึกวิกฤตสิ่งแวดล้อม ที่ประชาชนต่างต้องต่อสู้ เพราะนี่อาจเป็นโอกาสสุดท้ายแล้วจริง ๆ  ในฐานะคนทำข่าวที่ก้าวเท้าเข้ามาในสายอาชีพยังไม่ครบปี การทำงานสื่อสารประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมไม่เคยเป็นงานง่าย ต้องร้อยเรียงสมการได้ – เสียของคนสองฝ่าย การคัดค้านของชุมชน การพัฒนาของรัฐและนายทุน ที่แฝงไปด้วยผลประโยชน์ กฎหมาย อำนาจการเมือง รวมถึงต้องเข้าใจกลไกธรรมชาติ ระบบนิเวศที่เชื่อมโยงความหลากหลายทั้งในมิติชีวิตและวัฒนธรรม ท่ามกลางโลกที่หมุนด้วยทุนนิยมเป็นแกน การพัฒนาไม่เคยหยุดยั้ง หนังสือ Earth’s Cry ที่เขียนโดยฐิติพันธ์ พัฒนมงคล สื่อมวลชนสายสิ่งแวดล้อมและอดีตประธานชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม กระตุกต่อมความคิดให้เราเชื่อมโยงภาพพิบัติภัยและการพัฒนาที่ไร้หัวใจได้อย่างชัดเจน งานข่าวสิ่งแวดล้อมในโลกที่ไม่อาจหยุดยั้งการพัฒนาจึงต้องทำการสื่อสารเชิงลึก ชี้เหตุแห่งปัญหา โดยไม่ละทิ้งว่าต้องมีทางออกให้กับทุกผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น แต่หลายครั้งที่พบว่ากว่าจะตั้งต้นเจรจาพูดคุย เข้าใจประเด็นปัญหาและตั้งหลักแก้ไข ก็จวนตัวเกินไปเพราะสิ่งแวดล้อมถูกทำลายไปแล้วไม่มากก็น้อย ยิ่งช้า ก็เท่ากับต้องเสียเวลาฟื้นฟู และในเส้นทางของการปกป้องสิ่งแวดล้อมมักมีภาพของประชาชนนักปกป้องสิทธิลุกขึ้นมาต่อสู้ เรียกร้องสิทธิของประชาชน บทสรุปของปัญหาอาจแก้ไขสำเร็จบ้างไม่สำเร็จบ้าง และบ่อยครั้งที่พบว่า ทรัพยากรธรรมชาติจวนสิ้นลมหายใจก่อนจะถึงปลายทาง ก่อนที่เราจะตระหนักได้ว่าสิ่งแวดล้อมมาถึงจุดที่ไม่อาจย้อนกลับไปเป็นดังเดิมได้อีกแล้ว ยิ่งเมื่อได้แลกเปลี่ยนกับผู้คนที่เติบโตในช่วงยุคทองของสิ่งแวดล้อมเฟื่องฟู ยิ่งนึกภาพไม่ออกว่า อะไรเป็นจุดพลิกผันให้ข่าวสิ่งแวดล้อมกลืนกลายไปเป็นเนื้อหาท้าย ๆ ในหน้าฟีดข่าว แม้กองบรรณาธิการ ‘สายสิ่งแวดล้อม’ จะยังคงมีอยู่ แต่ก็บางเบา เสมือนมีอำนาจบางอย่างถูกบดบัง กดทับให้เงียบงัน ไม่ต่างกับสิทธิของคนที่กำลังลุกขึ้นมาปกป้อง เป็นปากเสียงให้กับสิ่งแวดล้อมที่รัฐและทุนต่างไม่ได้ยิน  เรื่องบางเรื่อง อาจไม่ใช่เพราะการลงโทษของธรรมชาติ หากแต่เป็นฝีมือมนุษย์ […]

ณัฐณิชา มีนาภา
ณัฐณิชา มีนาภา

‘ฟ้องปิดปาก’ ไม่แผ่ว! หายนะทางสิ่งแวดล้อมที่ป้องกันได้ด้วยกม.และเจตจำนงทางการเมือง

Reading Time: 3 minutes“เขาไม่ต้องการชนะหรอก เขาแค่ต้องการให้เราเงียบ และมันเป็นวิธีการที่รวดเร็วที่สุดที่จะปิดปากไม่ให้ใครพูดถึงผลกระทบต่อสาธารณะ” เสียงสะท้อนจาก เบญจา แสงจันทร์ คณะก้าวหน้า ในฐานะผู้ถูกฟ้องคดีปิดปากจากภาคธุรกิจ เหตุจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลที่กล่าวอ้างเอื้อผลประโยชน์ต่อภาคธุรกิจในขณะปฏิบัติหน้าที่สส. รูปแบบการฟ้องคดีปิดปากหรือคดี SLAPP (Strategic Lawsuit against Public Participation) กลายเป็นเครื่องมือของทุนและรัฐใช้เพื่อหวังผลให้เสียงของการเรียกร้องสิทธิอ่อนแรงและเงียบลง ไม่เว้นแม้แต่นักปกป้องสิทธิ หรือผู้แทนทางการเมืองที่ถูกเลือกมาจากประชาชนก็ล้วนถูกฟ้องดำเนินคดีทั้งสิ้น โดยผู้ฟ้องไม่ได้มุ่งแสวงหาข้อเท็จจริงด้วยกระบวนการยุติธรรม ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง SLAPP จึงไม่เพียงตีแผ่ความอยุติธรรมที่นักปกป้องสิทธิด้านสิ่งแวดล้อมต้องเผชิญ แต่ยังสื่อถึงพลัง ความกล้าหาญ และความหวังของผู้คนที่ยังคงยืนหยัดต่อสู้เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อม และเรียกร้องให้มีการจัดทำกลไกทางกฎหมายที่เป็นธรรมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน ทั้งยังเปิดเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างนักกิจกรรม นักกฎหมาย ภาคประชาสังคม และสื่อมวลชน เพื่อร่วมกันหาทางออกจากปัญหา SLAPP ‘ฟ้องปิดปาก’ มรดกตกทอดจากรัฐประหาร  ย้อนกลับไปตั้งแต่ปี 2557 ที่สังคมไทยอยู่ภายใต้ระบบรัฐประหาร เกิดพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 พ.ร.บ. นี้ถูกใช้บังคับควบคุมการแสดงออกด้วยการชุมนุมเพื่อเรียกร้องสิทธิของประชาชน และเป็นหนึ่งเหตุผลที่รัฐใช้ในการดำเนินคดีกับผู้ออกมาเรียกร้องปกป้องสิทธิของตนเอง เช่นในกรณี ‘เทใจให้เทพา’ ชาวบ้านในพื้นที่ อ.เทพา จ.สงขลา คัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่ ด้วยการจับกุมและดำเนินคดีแกนนำทั้ง 17 คน ข้อหาขัดขวางการจับกุม ทำร้ายร่างกายเจ้าหน้าที่รัฐ ฝ่าฝืน พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ  […]

ณัฐณิชา มีนาภา
ณัฐณิชา มีนาภา

ระหว่างทางกลับบ้าน

Reading Time: 2 minutesPlayread ค่ำคืนนี้ชวนผู้อ่านจัดกระเป๋าออกเดินทางกลับบ้านด้วยกัน บางขณะที่ต่างคนต่างใช้ชีวิตเราก็ต่างหาทางกลับบ้านของตัวเอง เป็นบ้านที่คุณจะได้ “พบ” เป็นบ้านที่คุณจะได้ “รัก” ในสถานพำนักอันเป็นนิรันดร์

ณัฐณิชา มีนาภา
ณัฐณิชา มีนาภา

เจาะงบกลางสยบไฟ ด้วยไม้กวาดและกิ่งไม้ รัฐไทยเดินหน้า หรือ ถอยหลัง ทุกครั้งที่เริ่มใหม่เมื่อไฟมา

Reading Time: 4 minutesการทำงานควบคุมไฟป่าและหมอกควัน ไม่ได้จบลงจากการทำงานในระดับอาสาสมัคร แต่ยังเกี่ยวเนื่องไปกับการทำงานในระดับภาครัฐ องค์การปกครองท้องถิ่น ที่ประเด็นปัญหาไฟป่าถูกระบุเป็นวาระสำคัญของประเทศ ผ่านงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 ที่มติ ค.ร.ม. อุดหนุนงบกลางจำนวน 620,691,360 บาท ตามข้อเสนอของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ให้กับกรมป่าไม้ 187,022,330 บาท และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 433,669,030 บาท แต่จนถึงวันนี้ที่ผ่านเวลามานับเดือน หน่วยงานยังไม่ได้รับการอุดหนุนเงินดังกล่าว

ณัฐณิชา มีนาภา