Human Rights Archives - Decode

CATEGORY Human Rights
Lorem ipsum dolor sit amet.

Human Rights

โกดังไทยอำพราง Made by China ที่ยกกระบัตร มลพิษข้ามชาติที่รัฐไทยเพิกเฉย ‘ผิดเพี้ยนและผุพัง’

Reading Time: 9 minutesเศษซากไฟไหม้โกดังที่ 8 ของโกดังในซอยคลองเจ๊ก ต.ยกกระบัตร อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร ตั้งแต่ปลายเดือนมกราคม 2568 ไม่ได้ทิ้งร่องรอยไว้แค่หลังคาสังกะสีและอาคารสีดำไหม้ที่พบเครื่องจักรและกากอุตสาหกรรมหลายประเภทไว้ข้างใน
แต่ไฟไหม้ครั้งนี้ ยังทำให้เห็นว่าแท้จริงแล้วข้างใน ‘ประกอบกิจการ’ ที่อันตรายเพียงใด ขณะเดียวกันยังค้นพบถึงกระบวนการอาชญากรรมสิ่งแวดล้อมที่ผิดกฎหมายหลายประการ

นทธร เกตุชู
Human Rights

อัลกอริทึ่มของความรุนแรงทางเพศ ในโลกที่ ‘บิ๊กเทค’ มีอำนาจเทียบเท่า ‘รัฐ’ ใครเป็นผู้ขีดเส้นเสรีภาพ

Reading Time: 6 minutesนับตั้งแต่ปี 2566-2568 เกิดการเลือกตั้งทั้งเล็ก-ใหญ่ ในสนามการเมืองระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ รวมไปถึงประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคอาเซียน แต่ไม่ได้มีเพียงความคุกรุ่นทางการเมืองที่ร้อนแรงระหว่างการเลือกตั้ง แต่ยังพบว่าเกิดการใช้ความรุนแรงบนโลกออนไลน์ที่ยังเลือก ‘เพศ’ และหลังการเลือกตั้งมีแนวโน้มว่าความรุนแรงนี้ กลายเป็นเรื่อง ‘ปกติ’ ในโซเชียลมีเดีย

เส้นบาง ๆ ของการกำกับควบคุมและอำนาจที่ล้นมือรัฐและบริษัทเทคฯ ต้องสร้างสมดุลเพื่อมอบพื้นที่ปลอดภัยข้ามพรมแดนให้กับประชาชน เมื่อปัญหานี้ไม่ใช่แค่เรื่องของนักการเมืองหญิง แต่เกี่ยวกับความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ของเราทุกคน

นทธร เกตุชู
Human Rights

‘ฟ้องปิดปาก’ ไม่แผ่ว! หายนะทางสิ่งแวดล้อมที่ป้องกันได้ด้วยกม.และเจตจำนงทางการเมือง

Reading Time: 3 minutes“เขาไม่ต้องการชนะหรอก เขาแค่ต้องการให้เราเงียบ และมันเป็นวิธีการที่รวดเร็วที่สุดที่จะปิดปากไม่ให้ใครพูดถึงผลกระทบต่อสาธารณะ” เสียงสะท้อนจาก เบญจา แสงจันทร์ คณะก้าวหน้า ในฐานะผู้ถูกฟ้องคดีปิดปากจากภาคธุรกิจ เหตุจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลที่กล่าวอ้างเอื้อผลประโยชน์ต่อภาคธุรกิจในขณะปฏิบัติหน้าที่สส. รูปแบบการฟ้องคดีปิดปากหรือคดี SLAPP (Strategic Lawsuit against Public Participation) กลายเป็นเครื่องมือของทุนและรัฐใช้เพื่อหวังผลให้เสียงของการเรียกร้องสิทธิอ่อนแรงและเงียบลง ไม่เว้นแม้แต่นักปกป้องสิทธิ หรือผู้แทนทางการเมืองที่ถูกเลือกมาจากประชาชนก็ล้วนถูกฟ้องดำเนินคดีทั้งสิ้น โดยผู้ฟ้องไม่ได้มุ่งแสวงหาข้อเท็จจริงด้วยกระบวนการยุติธรรม ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง SLAPP จึงไม่เพียงตีแผ่ความอยุติธรรมที่นักปกป้องสิทธิด้านสิ่งแวดล้อมต้องเผชิญ แต่ยังสื่อถึงพลัง ความกล้าหาญ และความหวังของผู้คนที่ยังคงยืนหยัดต่อสู้เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อม และเรียกร้องให้มีการจัดทำกลไกทางกฎหมายที่เป็นธรรมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน ทั้งยังเปิดเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างนักกิจกรรม นักกฎหมาย ภาคประชาสังคม และสื่อมวลชน เพื่อร่วมกันหาทางออกจากปัญหา SLAPP ‘ฟ้องปิดปาก’ มรดกตกทอดจากรัฐประหาร  ย้อนกลับไปตั้งแต่ปี 2557 ที่สังคมไทยอยู่ภายใต้ระบบรัฐประหาร เกิดพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 พ.ร.บ. นี้ถูกใช้บังคับควบคุมการแสดงออกด้วยการชุมนุมเพื่อเรียกร้องสิทธิของประชาชน และเป็นหนึ่งเหตุผลที่รัฐใช้ในการดำเนินคดีกับผู้ออกมาเรียกร้องปกป้องสิทธิของตนเอง เช่นในกรณี ‘เทใจให้เทพา’ ชาวบ้านในพื้นที่ อ.เทพา จ.สงขลา คัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่ ด้วยการจับกุมและดำเนินคดีแกนนำทั้ง 17 คน ข้อหาขัดขวางการจับกุม ทำร้ายร่างกายเจ้าหน้าที่รัฐ ฝ่าฝืน พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ  […]

ณัฐณิชา มีนาภา
Human Rights

เปอมูดอ ‘มลายูคลื่นลูกใหม่’ แรงกระเพื่อมเหนือผิวน้ำ เพื่อสันติภาพชายแดนใต้

Reading Time: 3 minutesเสียงของเปอมูดอ มลายูคลื่นลูกใหม่ ในงาน Melayu raya 2025 แรงกระเพื่อมที่พาให้แวรุงชายแดนใต้มารวมตัวกันที่หาดวาสุกรีกว่าแสนคน เพื่อบอกเล่าถึงการกดทับ ยอมรับอัตลักษณ์และตัวตนผ่านบาจูมลายู

นทธร เกตุชู
Human Rights

‘ฝุ่นแดง’ หลายหมื่นตัน สังกะสีและผ้าใบก็ ‘ปิด’ ไม่มิด

Reading Time: 3 minutesแม้ภายใน 2 โรงงานทุนจีนจะเงียบจากการสั่งปิดปรับปรุงโดยกระทรวงอุตสาหกรรม ทว่า การปิดปรับปรุงครั้งนี้ยังเต็มไปด้วยข้อสังเกตหลายประการ รวมถึงการปรับปรุงโรงงานที่ดูจะพึ่งแล้วเสร็จไม่กี่วันก่อนเข้าตรวจค้นครั้งนี้ โยงใยเครือข่ายทุนจีนขบวนการ ‘ฝุ่นแดง’ สมุทรสาครหลายหมื่นตัน เอาสังกะสีและผ้าใบมาปิดก็ไม่มิด

นทธร เกตุชู
Human Rights

ไม้ขีดไฟก้านเดียวของ ชุน แท-อิล

Reading Time: 4 minutesลมหนาวในบ่ายวันที่ 13 พฤศจิกายน 2513 หน้าตลาดสันติภาพ กรุงโซล ท่ามกลางความมืดมิดของสิทธิแรงงาน สิทธิเสรีภาพ จากระบอบโครงสร้างทุนและรัฐเผด็จการ มีไม้ขีดไฟก้านหนึ่ง จุดประกายความคิดสังคมเกาหลีและจากโลกนี้ไปพร้อมเปลวไฟลุกท่วมร่าง บ่ายวันนั้น ไม้ขีดไฟก้านหนึ่งชื่อ ‘ชุน แท-อิล’ พาให้สังคมเกาหลีใต้มองเห็น ‘สิ่งที่ทุกคนเลี่ยงจะมองไม่เห็นมันไม่ได้ เพราะคุณเห็นมันทุกเวลา’ นั่นคือ ความเป็น “คนจนเหลือเฝือ” ไม่ได้ถูกขูดรีดโดยใครคนใดคนหนึ่งเท่านั้น แต่เป็นการกดทับจากระบบโครงสร้าง ที่ประกอบขึ้นโดย “คนที่มีจนเหลือเฝือ” เพียงส่วนน้อยแต่กดทับคนส่วนมากเอาไว้

นทธร เกตุชู
Human Rights

‘คืนสิทธิ์ให้คน คืนชีวิตให้ป่า’ เสียงจากป่าลึกในวันที่ความเป็นธรรมยังมาไม่ถึง

Reading Time: 5 minutes4,020 ชุมชนในพื้นที่กว่า 4,200,000 ไร่ คือตัวเลขของ ‘วิถีชีวิต’ ที่ดำเนินอยู่ในป่า
แม้หลายชุมชนจะใช้ประโยชน์ที่ดินบนพื้นที่ป่ามาตั้งแต่ยุคสมัยของบรรพบุรุษ

ธเนศ แสงทองศรีกมล
Human Rights

ที่ควรชัด คือพรมแดนของความเป็นมนุษย์

Reading Time: 2 minutesเพราะมนุษย์ไม่ควรตกอยู่ในชะตากรรมเช่นนี้ฉบับนี้ เขียนถึงในช่วงนีมักได้เห็นข่าวหรือกระแสความเห็นในโลกออนไลน์ที่มีความเห็นต่อเรื่องความไม่ใช่คนไทยอย่างต่อเนื่องและเข้มข้น ยิ่งถ้าเป็น 2 ชาติหลักที่ถูกเพ่งเล็ง ตั้งข้อสงสัย จนถึงรับเกียจ มักพบในคนพม่า และ กัมพูชา ในคนพม่ามักถูกรังเกียจหรือมีท่าทีต่อว่าที่อยู่ในมิติเศรษฐกิจแรงงานและความมั่นคง ถ้าในส่วนของกัมพูชาก็จะเป็นทางด้านวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

สิทธิพล ชูประจง
Human Rights

เพื่อนร่วมงานที่สูญหาย สิทธิที่ถูกพราก ความเป็นธรรมที่ยัง ‘รอ’ พิสูจน์ใต้ซากตึกสตง.

Reading Time: 3 minutesเสียงอ้อนวอนจากแคมป์คนงานก่อสร้าง ในวันที่คนรักสูญหาย และชีวิตยังไม่รู้จะไปทางไหน ภัยพิบัติที่ไม่ได้พรากแค่ชีวิต แต่สั่นสะเทือนไปถึงสิทธิของแรงงาน

Decode
Human Rights

แกะรอย ‘สลิปเงินโอน’ ขบวนการขูดรีดแรงงานเมียนมาโยงเผด็จการ-ราชการเทาสิ้นเสียงสวดมนต์ ‘ขอให้เผด็จการหายไป…’

Reading Time: 7 minutesโยงใยการขูดรีดแรงงานเมียนมาที่กำลังพรากความฝันข้ามพรมแดน ภายใต้อคติทางเชื้อชาติหรือระเบียบราชการต่อแรงงานข้ามชาติ กำลังสร้างวิกฤตวกวน ซ้ำซ้อน และยุ่งยาก และยังเปิดช่องทางให้นายหน้าเถื่อนและคิวผีทำร้ายแรงงานเมียนมาอยู่ซ้ำ ๆ และมองไม่เห็นความเป็นจริงที่ว่า พวกเขาก็เป็นมนุษย์ที่มีฝันเหมือนกับเรา

นทธร เกตุชู
Human Rights

‘คิวผี’ มีอยู่จริง! สองล้านคนเสี่ยงผิดกฎหมายจากผลพวงมติครม.

Reading Time: 4 minutesแรงงานกว่า 2.39 ล้านคนกำลังจะผิดกฎหมาย มติครม.วันที่ 24 กันยายน 2567 กำลังจะพาประเทศไทยเจอช่องโหว่งทางเศรษฐกิจ และฝันที่ว่าทุกคนถูกกฎหมาย อาจไม่มีจริง?

ธเนศ แสงทองศรีกมล
Human Rights

ยาสมิน อุลลาฮฺ : เส้นทาง 32 ปีที่ ‘ลี้ภัย’ รอดตายจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ‘โรฮิงญา’ จนเกือบสูญสิ้นความเป็น ‘คน’

Reading Time: 4 minutesความเลวร้ายในสังคมปิตาธิปไตยที่เห็นดีเห็นงามกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ตลอดจนกดขี่ เลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ ศาสนา กลายเป็นความรุนแรงที่ฝังลึกและกลายเป็นวัฏจักรวนลูปของความรุนแรงที่ไม่สิ้นสุดและเหวี่ยงชีวิตคนนับล้านให้ต้องพลัดถิ่น 

กุลธิดา กระจ่างกุล