‘สื่อสาธารณะของทุกคน’ ไม่ใช่แค่สโลแกน วิสัยทัศน์ ‘วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์’ – Decode
Reading Time: 7 minutes

“ก็ขอบคุณนะครับท่านกรรมการสรรหา แล้วก็ขอถือโอกาส สวัสดีผู้ชมทางบ้านนะครับ ก่อนอื่นก็ต้องขออภัยนิดนึงนะครับ เพราะว่าเพิ่งกลับจากอิตาลีเมื่อคืนนี้ ก็ยังเจ็ตแล็กอยู่ อาจจะเบลอ ๆ เล็กน้อย”

“ก็ผมขอพูดสั้น ๆ นะครับว่ามีวิสัยทัศน์และแนวคิดเชิงกลยุทธ์ 6 ประเด็นเนี่ย ก่อนอื่นผมอยากจะพูดถึงสิ่งที่อยู่ในใจผม ว่าในฐานะที่ทําสื่อมา 30 กว่าปี สื่อสาธารณะของทุกคน ไม่ใช่สโลแกนนะครับ แต่ว่าเป็นคําถามในใจผมมาตลอด ว่าไทยพีบีเอสที่มีอายุ 17 ปี วันนี้เป็นสื่อสาธารณะของทุกคนหรือยัง”

“เพราะว่าอันนี้เป็นคําถามที่สําคัญมากในความรู้สึกของผมนะครับ คือ สื่อสาธารณะคืออะไร ในความหมายของผม ผมอธิบายสั้น ๆ นะครับว่ามันเหมือนกับเป็นห้างสรรพสินค้าห้างนึง แล้วก็มี พวกเรานะครับ มาเปิดร้านขายของ แต่ในขณะเดียวกันเนี่ย เราก็เปิดโอกาสให้คนอื่น ๆ มาเปิดร้านขายของด้วยนะครับ แต่แน่นอนว่าในฐานะที่เราเป็นคนดูแลห้างสรรพสินค้านี้ เราก็ควรจะมีคนที่มาร้านค้าต่าง ๆ เนี่ย มีเสน่ห์ดึงดูดพอสมควร ไม่ใช่ เอ๊ะอะไรใครก็ได้นะครับ ประเภทของร้านอาหารที่เข้ามาทําเนี่ย มันก็คือ agenda ของพวกเราที่ว่าปีนี้เราอยากจะทําเรื่องสิทธิมนุษยชน เราอยากจะทําเรื่องผู้หญิง เราอยากจะทําเรื่อง whatever นะครับ เราก็เชิญร้านค้าเหล่านี้มาทําอาหาร แต่ในขณะเดียวกันเนี่ย มันควรจะเป็นพื้นที่ของทุกคน”

”อาทิเช่น ถ้าเรามีร้านค้าที่เกี่ยวกับการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล เราก็ควรจะมีร้านค้าที่สนับสนุนรัฐบาล ด้วยหรือไม่ เพื่อที่จะบอกได้เต็มปากว่าอันนี้คือสินค้าของทุกคน นี่คือความเห็นของผมนะครับ จากประสบการณ์ที่เคยเป็นรองผอ. ที่นี่ เคยออกไปทําธุรกิจ เคยออกไปเป็นผู้อํานวยการข่าวช่องอื่นนะฮะ ฉะนั้นไทยพีบีเอสเป็นสื่อสาธารณะที่มีบทบาทสําคัญในการให้ข้อมูลที่ถูกต้องน่าเชื่อถือ และสร้างสรรค์ โดยเปิดพื้นที่ให้ทุกฝ่ายมีโอกาสแสดงความคิดเห็น”

“บทบาทของไทยพีบีเอสคืออะไรนะครับ นําเสนอข้อมูลและข่าวสารที่น่าเชื่อถือที่ฉับไวรอบด้าน เพื่อให้ผู้รับสารไปคิดต่อและตัดสินใจเอง อันนี้สําคัญมากนะครับ ในความเห็นของผมเนี่ย ในฐานะที่คนทําสื่อมานาน ผมคิดว่าสื่อไม่ได้มีหน้าที่ชี้นําสังคม แต่สื่อมีหน้าที่เอาข้อเท็จจริง มาตีแผ่ให้สังคมรับทราบ เพื่อให้คนในสังคมคิดเอง

“อย่าลืมนะครับว่าสื่อทุกวันนี้เนี่ย ความจริงมันอาจจะเปลี่ยนไปได้ตามข้อเท็จจริงที่เปลี่ยนไป เพราะฉะนั้นเนี่ย อย่ายึดติดกับความจริงที่เราเสนอวันนี้ มันอาจจะไม่ใช่ก็ได้ สื่อไม่มีหน้าที่ชี้นําสังคม แต่ให้ข้อมูลข่าวที่น่าเชื่อถือ ช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น อันนี้ก็สําคัญนะครับ ในความเห็นของผมเนี่ย สื่อไม่ได้มีหน้าที่เป็นผู้นําในการเปลี่ยนแปลงสังคม แต่สิ่งที่สื่อนําเสนออาจจะช่วยทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคมได้ อันนี้มันต่างกัน”

“ผมยกตัวอย่าง วันนี้เราเห็นข่าวเสาไฟฟ้า ลวดลายประหลาด ๆ เยอะแยะเลย แทบจะเรียกว่า แต่ก่อนอาจจะเริ่มขึ้นที่สมุทรปราการ ตอนนี้ลามไปเกือบทุกจังหวัดแล้วนะครับ อันนี้คือต้นเหตุของการคอร์รัปชันนะครับ แต่สิ่งที่เราเห็นในหน้าหนังสือพิมพ์ ในหน้าสื่อต่าง ๆ ก็คือว่าเสนอข่าวนี้จบไป แต่สําหรับไทยพีบีเอส เราต้องขยี้ ๆ จนเห็นการเปลี่ยนแปลง ขยี้จนถึงว่าอันนี้มันคือการคอร์รัปชัน ที่เป็นสิ่งที่ไม่มีใครทําอะไรเลยเหรอ ขยี้จนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยใช้แพลตฟอร์มต่าง ๆ ทีนี้ก็เล่นไปอย่างนึง อาจจะต้องตัดคลิปไปลงในติ๊กต็อก ทําให้มันสนุกขึ้นนะครับ อาจจะต้องทําในแพลตฟอร์มอื่น แต่ว่ามีรสชาติของแพลตฟอร์มที่มีผู้ชมกับผู้รับสารไม่เหมือนกันนะครับ ทํามาก ๆ ขึ้น จนกระทั่งมันอาจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงก็ได้ เพราะว่าการทําข่าวแบบเนี้ยที่เราเรียกว่า ข่าว Investigate เนี่ย มันเป็นโอกาส วันนี้เป็นโอกาสของช่องนี้ช่องเดียวจริง ๆ เพราะว่าการทําข่าวเชิงสืบสวนเนี่ย มันใช้เงินลงทุน และไม่มีใครทํา แล้วสุดท้ายมันไปกระทบกระเทือนกับผู้มีอํานาจหรือฝ่ายทุนใหญ่”

“บทบาทของไทยพีบีเอสอีกอันนึงก็คือ ควรให้น้ำหนักกับเสียงของคนที่ไม่มีเสียงในสังคม ควบคู่กับการให้น้ำหนักของคนทั่วไปในสังคมนะครับ อันนี้เป็นเรื่องที่สําคัญมาก เพราะบางครั้งเนี่ย เรารู้สึกว่าเราไปให้น้ำหนักกับคนที่มีเสียงในสังคมมากเกินไปหรือเปล่า จนกระทั่งเราละเลย การให้น้ำหนักของประเด็นข่าวทั่ว ๆ ไปในสังคม ต้องเป็นที่พึ่งของสังคมในช่วงสถานการณ์ไม่ปกติ อาทิเช่น ภัยพิบัติต่าง ๆ อันนี้ไทยพีบีเอสทําได้ดีมาโดยตลอดนะครับ”

“ต้องผลิตเนื้อหามีคุณภาพน่าสนใจ มีคนดูจํานวนมาก แล้ววัดผลได้เพื่อความคุ้มค่า อันนี้คือสิ่งที่ผมจะพูดต่อไป สําคัญมาก เชื่อว่าเนื้อหาที่สนุกจะมีผู้ติดตามเสมอไม่ว่าจะมีแพลตฟอร์มอันใด”

“การปรับตัวหลังสิ้นสุดใบประกอบกิจการโทรทัศน์นะครับ ไทยพีบีเอส ไม่ใช่สถานีโทรทัศน์อีกต่อไปนะครับ แต่เป็น Public media service platform ไม่ใช่แค่สถานีโทรทัศน์อีกต่อไป เป็นผู้ผลิตคอนเทนต์ รายการข่าวที่มีคุณภาพออกสู่ทุกแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยมีเป้าหมายรวดเร็ว ฉับไว และไว้วางใจได้ อันนี้คือ keyword ที่สําคัญที่สุดในวันนี้นะครับ รายการดีมีคุณภาพต้องมีปริมาณคนดูมาก โดยตั้งเป้าหมายว่าภายในปี 2570  เรตติงช่องไทยพีบีเอสจะต้องติดอันดับท็อป 10 ของทีวี จากปัจจุบันที่อยู่ในระดับ 14-15 เพื่อตอบความคุ้มค่าของงบประมาณ และการสร้างการจดจํา นับเป็นคานงัดสําคัญในเชิงยุทธศาสตร์”

“ความสําคัญในเชิงยุทธศาสตร์คืออะไร ผมว่านี่คือการ challenge ที่สุด เราไม่เคยแชลเลน เท่าที่ผมอ่านรายงานมานะครับ เราไม่เคยท้าทาย ทําไมเรตติงถึงมีความสําคัญมาก แน่นอนว่าไทยพีบีเอสไม่ต้องการเรตติงเพื่อที่จะมีรายได้จากโฆษณา แต่เรตติงเนี่ย ทําให้เราจะต้องแข่งกับคนอื่น เรตติงทําให้พิสูจน์ว่ารายการดีมีคุณภาพเนี่ย มันมีคนดูจริงหรือนะครับ เรตติงมันตอบความคุ้มค่า นึกภาพออกไหมครับ ถ้าวันหนึ่ง ไทยพีบีเอสขึ้นไปอันดับ 3 มันกลายเป็นช่องใหญ่จริง แล้วถ้าเป็นช่องใหญ่จริงเนี่ย เวลาพูดกับใครเนี่ย มันใหญ่กว่า”

“ผมยกตัวอย่างนะครับ ในฐานะที่เป็นผู้ปฏิบัติเนี่ย ทุกครั้งที่มีการเลือกตั้ง เราจะแย่งนักการเมืองเบอร์สําคัญ ๆ ช่องเล็กไม่เคยได้เลย ทุกคนจะต้องไปช่องใหญ่หมด เพราะช่องใหญ่ มีน้ำหนักมากกว่าเยอะนะครับ ในหลาย ๆ เหตุการณ์เนี่ย ช่องใหญ่มีน้ำหนักมากกว่า โดยเฉพาะ ในทุกเหตุการณ์ ๆ สําคัญ เวลาแย่งวีไอพีเนี่ย ช่องเล็ก ๆ ไม่เคยได้ การต่อรองก็ไม่มีนะครับ เพราะฉะนั้นผมถึงบอกว่า ถ้าเราสามารถที่จะแข่งกันด้วยเรตติงอย่างจริงจังนะครับ ไม่ได้เพื่อต้องการโฆษณา แต่เพื่อต้องการพิสูจน์ว่า รายการข่าวหรือรายการของไทยพีบีเอสเนี่ย นอกจากมีคุณภาพแล้ว มีคนดูด้วย”

“อย่าลืมนะครับว่าวันนี้ไทยพีบีเอสอายุ 17 ปีแล้ว ไม่ได้เป็นเด็ก ๆ อีกต่อไป 17 ปีที่อายุยืนนานกว่าช่องดิจิตัลจํานวนมากเลย แต่ทําไมเรายังอยู่อันดับ 14 มันน่าสนใจไหม ขณะที่ไปดูทีวีสาธารณะในประเทศอื่น อังกฤษหรือออสเตรเลียเนี่ย อย่างผมเพิ่งไปออสเตรเลียมาเนี่ย ช่องทีวีสาธารณะของเขา อยู่อันดับ 3 อันดับ 2 มาตลอดเลย อายุก็นานกว่าเราไม่มาก ทําไมเราอายุ 17 ปีแล้ว เรายังอยู่ที่นี่นะครับ อย่าบอกว่าเรตติงไม่สําคัญ ในความเห็นผม ผมทําทีวีมาตลอด หลายปีที่ผ่านมาเนี่ย ผมเห็นเลยว่ามันสําคัญมาก”

“อันนี้เป็นข้อมูลนะครับว่าทุกวันนี้ การดูผ่านทีวีดิจิตัลเนี่ย มันผ่านดาวเทียมซะเยอะนะ 65% เลยนะครับ ไอ้กล่องดิจิตัลเนี่ยจริง ๆ แค่ 15% นะฮะ แต่เราต้องยอมรับครับว่า ดาวเทียมและภาคพื้นดินเป็นจุดแข็งระยะสั้น แต่ออนไลน์เป็นอนาคต ถ้างั้นเราควรจะทําคู่ขนานกันไปนะครับ เราจะต้องยึดกลุ่มคนกลุ่มผู้ชมเดิมนะครับ ใน 2-3 ปี เพื่อรักษาการเข้าถึงให้ได้นะครับ ในขณะเดียวกันเนี่ยต้องเร่งย้ายฐานผู้ชมไปออนไลน์อย่างมีแผน แน่นอนว่าอย่างเยาวชนและเด็กเนี่ย เค้าไม่ดูทีวีร้อยเปอร์เซ็นต์แล้ว จะทํายังไงให้ไปอยู่บนออนไลน์ได้ แน่นอนนะครับว่า อันเนี้ยมันก็คือ เราจะต้องทํายังไงถึงจะเปลี่ยนผ่านสิ่งเหล่านี้ได้ อันนี้คือประเด็นสําคัญนะครับ”

เราจะต้องทําให้ VIPA เป็น National OTT Streaming แพลตฟอร์มของ กสทช. ถ้าพูดถึง streaming แบบ Netflix ของประเทศไทยก็มีอยู่ 3 อันครับ ก็คือของช่อง mono ของช่อง 7 ช่อง 3 แล้วก็ของ VIPA ไทยพีบีเอสนะครับ ถ้าในอนาคตเนี่ย เราสามารถเป็นตัวกลางที่จะทําให้ช่องอื่น ๆ เนี่ยมาใช้ VIPA เป็น National OTT Streaming แพลตฟอร์ม หรือถ้าพูดอย่างนี้เป็น OTT แห่งชาติเหมือนกับที่เกาหลีใต้ทํา ผมคิดว่ามันจะมีนัยยะสําคัญสําหรับช่องไทยพีบีเอสมากเลยในอนาคตนะฮะ”

“อันนี้เป็นตัวอย่างให้เห็นนะครับว่า ยอดวันนี้เราอยู่ที่ประมาณ 500,000 นะครับ แต่ช่อง 7 ไป 5 ล้านนะครับ ช่อง 3 เป็น 10 ล้าน ตัวเลขยังห่างไกลกันเยอะนะครับ ถ้าเราต้องการที่จะทําให้ VIPA มันเป็นช่องที่เป็นโอทีทีระดับชาติจริง ๆ คงจะต้องหา Roadmap ทําคู่ขนานกันกับกสทช. อย่างมีนัยยะสําคัญ แต่อันนี้ผมตั้งเป้าไว้นะครับว่าอยากจะไปเจรจากับกสทช. ในเรื่องนี้จริง ๆ นะครับในช่วงการเปลี่ยนผ่าน”

“อันนี้ทุกท่านก็ทราบนะครับว่า การสร้างการจดจําของแบรนด์ไทยพีบีเอส เนี่ย มันจะสร้างความน่าเชื่อถือที่ถึงที่สุดเนี่ย หัวใจของการสร้างแบรนด์ ไม่ว่าที่ไหนก็ตาม คือเนื้อหาข่าวและรายการอันแข็งแรงนะครับ ด้านขวามือก็จะยกตัวอย่างให้เห็นว่า ตอนนี้แบรนด์ของไทยพีบีเอสตอนนี้มันแตกย่อยเยอะมาก ก็ยังเป็นคําถามอยู่ว่า จะจัดการยังไงในการสร้างแบรนด์ไทยพีบีเอส”

“อันนี้ก็เป็นกลยุทธ์เชิงเทคโนโลยีนะครับ อันนี้แน่นอนครับ การใช้เอไอกับบิกดาต้าก็เป็นเรื่องทั่ว ๆ ไป แต่อันที่ 2 เนี่ยก็คือ cloud first infrastructure เนี่ย อันนี้ต้องอยู่ในการศึกษานะครับว่า คือทุกวันนี้เราเสียค่าในการเก็บข้อมูลค่อนข้างแพงนะครับ อาจจะต้องศึกษาว่า ถ้าเกิดขึ้นไประบบ cloud infrastructure แบบที่บริษัทใหญ่เขาทํากันเนี่ย มันจะคุ้มหรือเปล่า หรือว่าลงทุนแพงกว่า อันนี้อยู่ในช่วงการศึกษานะครับ”

“กลยุทธ์ทางด้านแพลตฟอร์มและ Contract นะครับ ไฮบริด แพลตฟอร์ม strategy คือเน้นการกระจายทุกช่องทาง ซึ่งจริง ๆ ทุกวันนี้เค้าก็พยายามทำอยู่เนอะ ในการกระจายเนื้อหานะครับ คอนเทนต์ที่ตอบโจทย์ audient ใหม่ ๆ เช่น เน้นเนื้อหาที่เป็นเรื่องส่วนบุคคลมากขึ้นนะครับ หรือการใช้สารคดีรูปแบบสั้น Live interactive storytelling แบบ cross platform ซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่เด็กรุ่นใหม่ อันนี้ก็เป็นเรื่องที่ใช้ ๆ กันอยู่แล้วนะครับ ก็คือการใช้ AI”

“อันที่ 2 เนี่ยเป็นเรื่องที่สําคัญมาก เพราะผมคิดว่าปัญหาใหญ่ในไทยพีบีเอสวันนี้ นอกจากเรื่องการเปลี่ยนผ่านแล้วเนี่ย ก็คือเรื่องการปรับโครงสร้างและวัฒนธรรมองค์กรนะครับ ผมจะทํางานภายใต้แนวคิดว่าความยุติธรรม การทำงานเป็นทีมและความคิดสร้างสรรค์ หมายความว่ายังไง ถ้าไม่มีความยุติธรรมเกิดขึ้นในองค์กรขนาดใหญ่เนี่ย มันไม่มีทางจะทำงานเป็นทีมได้ การทํางานสื่อทุกวันนี้ มันไม่มีพระเอกอีกต่อไป ทุกคนต้องทํางานเป็นทีม แต่หัวใจสําคัญสุดของการทําสื่อคือครีเอทีฟ ครีเอทีฟจะไม่เกิด ถ้าไม่มีความยุติธรรม ครีเอทีฟจะไม่เกิดถ้าไม่มีการรวมหัวกันคิดนะครับ ลดความขัดแย้งในองค์กรนะครับ การสร้างอาณาจักรตัวเอง ลดเนื้องานที่ไม่ตรงกับภารกิจของไทยพีบีเอส ลดค่าใช้จ่ายและการทำงานซ้ำซ้อน ลดขั้นตอนการบริหารการตัดสินใจ ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ควรดูแลพนักงานทุกระดับในส่วนแสดงความคิดเห็น”

“ปัญหาของไทยพีบีเอสในเชิงบุคลากรก็คือเรื่องของเจนเอกซ์เยอะมากนะครับ เราอาจจะต้องดึงคนรุ่นใหม่เข้ามานะครับ แล้วก็ lean องค์กร ผมอยากจะยกตัวอย่างอันนี้ครับ ทําไมต้องดึงคนรุ่นใหม่เข้ามาคุย ยูเครนเนี่ย ประสบความสําเร็จในการชนะในการยันกับรัสเซียได้นานขนาดนี้ เพราะมันไม่ใช่ระบบการบังคับบัญชาแบบท็อปดาวน์ เค้าทําให้พนักงานระดับรากฐาน ระดับล่างเนี่ยเสนอความคิดเห็นได้ จนกระทั่งเกิดการสร้างสิ่งที่เรียกว่ากองทัพโดรนขึ้นมา ซึ่งการเป็นอาวุธลับ ซึ่งคิดมาจากฐานระดับล่าง ไม่ได้คิดมาจากระดับนายพลนะครับ เช่นเดียวกันนะครับ ธุรกิจสมัยใหม่หรือองค์กรสมัยใหม่เนี่ย จะต้องใช้ความคิดของคนรุ่นใหม่มาผสมผสาน ก็คือการครอสเจเนอเรชันทีม แล้วเปลี่ยนมายเซ็ตจาก top down เป็น bottom up”

“แนวทางการสร้างความยั่งยืนนะครับ นอกจากการลดค่าใช้จ่ายนะครับ ลดความยาวเนื้องานแล้วเนี่ยครับ พัฒนาช่องทาง และสิ่งที่สําคัญที่สุดก็คือเรื่องไทยพีบีเอสนะครับ ผมคิดว่าไทยพีบีเอสทุกวันเนี้ย โอกาสในหลาย ๆ ปี ยังเป็นโอกาสกันอยู่ เพราะว่าอะไรครับ เพราะว่าในบรรดาผู้รับสัมปทาน 4 ช่องเนี่ย ผมคิดว่าวันเนี้ย ไทยพีบีเอสค่อนข้างจะแข็งแรงที่สุดนะครับ ในเรื่องของไทยพีบีเอสนะครับ ในขณะเดียวกันเนี่ย จริง ๆ แล้ว ตัว PBS เนี่ยมันมีโอกาสที่จะทํารายได้มากกว่าการให้บริการทางด้านช่องดิจิทัลนะครับ ก็คือบริการทางด้านไอโอที หรืออินเทอร์เน็ต สมาร์ตบอร์ดแคสติงนะครับ แล้วก็อีกมากมายตามที่เห็นมานะครับ คือมันมีช่องทางรายได้เพิ่มมากกว่าการได้รายได้จากรับบริการในช่องดิจิตัลอย่างเดียว”

”ผมคิดว่าโอกาสมีนะครับ เรื่องละครและสารคดีเนี่ย ที่มันเป็นภาษาสากลนะครับ แล้วก็ทําแบบสากลเนี่ย ผมคิดว่าคนไทยทําได้ แต่เราจะให้โอกาสขนาดไหนในแง่ของไทยพีบีเอส อันเนี้ยผมคิดว่ามันเป็นโอกาสจริง ๆ นะครับ อันนี้ก็เป็นเรื่องที่พอจะเข้าใจกันนะครับ เพราะว่าเวลามันลดน้อยลง”

“อันนี้เป็นข้อคิดเห็นที่ต้องยอมรับนะครับว่า ต้องตระหนักเสมอว่าคนเริ่มจะไม่ได้ดูไพรม์ไทม์อีกต่อไปนะครับ ทุกเวลาอาจจะเป็นไพรม์ไทม์ สื่อไม่ได้มีทุนต่อคนดู แต่คนดูเป็นผู้คุมสื่อ จากเมื่อก่อนหน้านี้ต้องดูตามผังรายการ เดี๋ยวนี้ผู้ชมเลือกได้ anytime anywhere any device”

“อันนี้ก็เป็นข้อมูลให้เห็นนะครับว่า เราก็ยังมีดีที่สุดในเอ็กซ์นะครับ อันนี้ก็เป็นวิธีการในการออกแบบเนื้อหาใหม่นะครับ เพื่อจะให้คนรุ่นใหม่เนี่ย สามารถเข้ามาทํางานผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ ของเราได้ โดยการคิดเนื้อหาแบบคนรุ่นใหม่ อยากให้ดูข้อสุดท้ายนะครับ อันนี้เป็นเรื่องใหญ่ในปัจจุบันนี้ อย่าให้กรอบข้อกําหนดต่าง ๆ ของสื่อสาธารณะที่ตีความแคบเกินไป เป็นอุปสรรคในการทําข่าวและรายการ จนบางครั้งพูดอะไรต้องเซนเซอร์ เตือนโดยไม่จําเป็น ทําให้หลายรายการเนี่ยออกมา รสชาติค่อนข้างจืดชืด”

“ข้อปฏิบัติของสื่อสารเนี่ยเยอะมากนะครับ มันเป็นทั้งจุดแข็งและมันเป็นทั้งอุปสรรคด้วยนะครับ ผมยกตัวอย่างครั้งหนึ่งนะครับ เคยทํารายการที่มีคนดูสูงสุด ก็คือเบื้องหลังชีวิตของนักวอลเลย์บอลสาว ตอน 10 ปีที่แล้วนะฮะ ปรากฏว่าตอนไปถ่ายเนี่ย นักกีฬาวอลเลย์บอลสาวเนี่ย ต้องใส่เสื้อสปอนเซอร์นะครับ ถอดก็ไม่ได้ ไม่ยอม เพราะว่าผิด ช่างภาพก็บอกว่าถ่ายยังไงพี่ แม่งติดโลโก้เต็มเลย ผมบอกว่าถ่ายไป แล้วก็ปรากฏไปออกอากาศเนี่ย กลายเป็นรายการสารคดีที่มีคนดูสูงสุด ประมาณเกือบ 2 แล้วก็ประมาณเกือบ 6 ประมาณ 800,000 คน แต่ถูกร้องเรียนว่ามีโฆษณาแฝง ผมไปชี้แจงว่าเบื้องหลังคืออะไร เคลียร์ว่ามันไม่มีปัญหา แต่ว่ามันจําเป็นจริง ๆ นะครับ”

“จริง ๆ แล้วทุกวันเนี้ย ผมเข้าใจว่ามีข่าวหลายข่าวเนี่ย เจ้าหน้าที่ข่าวเซนเซอร์ตัวเอง เพราะไม่อยากมีปัญหาที่ถูกร้องเรียน หลายรายการก็เซนเซอร์ไม่อยากมีปัญหา ผมคิดว่าอันเนี้ยต้องดูดี ๆ นะครับว่ากรอบต่าง ๆ เนี่ยที่เราเก่งมากเรื่องจริยธรรมเนี่ย มันเป็นทั้งจุดแข็ง และก็เป็นข้อบังคับด้วยนะครับ”

“อันนี้อย่างที่เคยบอกนะครับว่า สื่อสาธารณะไม่ได้มีภารกิจหรือเป็นผู้นําในการเปลี่ยนแปลงสังคม แต่เนื้อหาที่นําเสนออย่างตรงไปตรงมา หรือมีเสน่ห์ในการนำเสนอ อาจมีส่วนทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้ สุดท้ายนะครับ การใช้ศิลปะ การนําเสนอด้วยวิธีเล่าแบบเนียน ๆ นะครับ ไม่ว่าจะเป็นละครหรือสารคดี คือปัจจัยสําคัญที่ทําให้ประเด็นที่อยากจะเปลี่ยนแปลงสังคม เข้าถึงคนดูได้มากกว่าการนำเสนอแบบตรงไปตรงมา”

“สุดท้ายนะครับ ก็อยากจะบอกให้ฟังว่า เออผมอาจจะมีจุดแข็งในเรื่องข่าวและรายการนะครับ งั้นเพื่อเป็นจุดอ่อนในเรื่องเทคโนโลยีต่าง ๆ ก็จะขอเรียนว่าตอนนี้มีทีมของผมที่จะไปเป็นรองผู้อํานวยการอยู่ 2 คนนะครับ ก็ขอบอกชื่อเลยนะครับ คนแรกเป็นอดีตซีอีโอของเนชันบอร์ดแคสติงนะครับ คุณอดิศักดิ์ ซึ่งจะมาเป็นรองผู้อํานวยการที่ดูทางด้านเทคโนโลยีทั้งหมด แล้วก็ดูเรื่องการเปลี่ยนผ่านดิจิทัล คุณอดิศักดิ์ ถือว่าเป็นคนเก่าที่สุดในวงการทีวี ในวงการแพลตฟอร์มทั้งหลาย คนที่ 2 เนี่ยเป็นนักกฎหมายรุ่นใหญ่นะครับ เคยอยู่บริษัทขนาดใหญ่ เป็นผู้จัดการกฎหมายหลายบริษัท เคยเป็นบอร์ดของอสมท. แล้วก็เคยรักษาการแทนผู้อํานวยการอสมท. อยู่ระยะหนึ่ง ก็ยินดีมาเป็นแบคออฟฟิศให้ทั้งหมด ไม่ว่าเรื่องกฎหมายเรื่องการเงิน การคลัง เรื่องจัดซื้อจัดจ้าง

(กรรมการคัดสรรถาม)เหลือเวลานิดเดียว ถ้าจะบอกชื่อก็รีบบอกเลยครับ เดี๋ยวบอกไม่ทัน

คุณพิเศษ ชัยศักดิ์ ครับ”

ถาม-ตอบ อนาคตไทยพีบีเอส ‘วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์’ ชู TOP 3 เติมเต็มหัวใจอันเร่าร้อน

Q : ขออนุญาตเริ่มต้นด้วยคำถามกลางก่อนนะครับ ซึ่งเป็นคำถามที่ถามผู้แสดงวิสัยทัศน์ทุกท่านที่ผ่านมา คือว่า คุณวันชัยเคยมี track record ในการเป็นผู้นำที่สามารถทรานซ์ฟอร์มองค์กรหรือพาองค์กรฝ่าวิกฤตมาก่อนหรือไม่ และจะนำประสบการณ์เหล่านั้นมาช่วยพัฒนาไทยพีบีเอสให้ก้าวสู่อนาคตได้อย่างไร ?

A : ขออนุญาตตอบจากคำถามส่วนท้ายก่อนนะครับ คือเคยเป็นผู้นำพาองค์กรฝ่าวิกฤตอย่างไร

ตอนที่ผมอยู่ที่นิตยสารสารคดี ผมเป็นบรรณาธิการอยู่ประมาณ 20 ปี ผ่านวิกฤตมาหลายช่วง ตั้งแต่ยุคแรกที่หลายคนยังไม่เชื่อว่านิตยสารสารคดีจะอยู่รอดได้ ทุกวันนี้ก็ผ่านมา 40 ปีแล้ว ส่วนหนึ่งที่อยู่มาได้ก็เพราะเราปรับตัวตลอดเวลา ไม่ว่าจะในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 หรือช่วงที่สถานการณ์การเมืองมีความขัดแย้งสูง เราก็ได้รับผลกระทบไปด้วย แต่เรามีกลยุทธ์ในการปรับเปลี่ยนเสมอ เพราะไม่มีอะไรหยุดนิ่งได้

ช่วงที่ไปอยู่ PPTV เราเป็นทีมข่าวหน้าใหม่ คนทำงานน้อยกว่าที่นี่ประมาณ 4 เท่า แต่มีเวลาออกอากาศเท่ากัน เราตั้งเป้าว่าจะต้องติด Top 10 จากที่อยู่ประมาณอันดับ 13-14 เพราะมันเกี่ยวข้องกับธุรกิจและรายได้

ผมในฐานะผู้อำนวยการฝ่ายข่าว เป็นคน “ชี้เป้า” ให้นักข่าว ซึ่งผมเปรียบเหมือนเป็นคนบอกเป้าหมายให้นักข่าวซึ่งเป็น sniper เราไม่มีทรัพยากรมากพอจะทำข่าวทุกเรื่องได้ แต่เราทำบางเรื่องที่สร้างแรงกระเพื่อม ทำอย่างนี้ต่อเนื่องจนผู้ชมเริ่มเห็นว่า ช่องนี้สร้างความแตกต่างได้จริง

ผมบอกนักข่าวเสมอว่าให้คิดให้เยอะก่อนจะลงพื้นที่ เพราะถ้าลงพื้นที่ไปโดยไม่มีข้อมูลในหัว ก็เท่ากับเสียเวลา ดังนั้นการ “ชี้เป้า” เป็นเรื่องสำคัญมาก เราถึงสามารถขยับจากอันดับท้าย ๆ มาอยู่ใน Top 10 ได้ และในบางช่วงที่มีถ่ายทอดฟุตบอลยุโรป เราขยับขึ้นไปถึงอันดับ 3-4 ด้วยซ้ำ ทั้งที่จำนวนคนทำน้อยกว่าที่นี่ 3 เท่า เราก็ต้องปรับกลยุทธ์ให้เหมาะกับภารกิจอยู่เสมอ

Q : ตอบได้ชัดเจนครับ แต่ขอถามต่ออีกนิด PPTV เป็นทีวีเชิงพาณิชย์ ซึ่งมีแรงกดดันในการ “อยู่รอด” ส่วนไทยพีบีเอสในสายตาบางคนอาจถูกมองว่า “ยังไงก็มีเงินสนับสนุน” อยากทราบว่าประสบการณ์จาก PPTV แบบนั้น จะเอามาใช้กับไทยพีบีเอสได้ไหมครับ ?

A : ผมอยากตอบมากเลยครับ สมัยหนึ่งผมเคยสัมภาษณ์พี่เต๋อ–เรวัฒน์ พุทธินันท์ พี่เต๋อเคยบอกผมว่า “รู้ไหมช่วงที่แกรมมี่ทำเพลงได้ดีที่สุดคือช่วงที่เราจนที่สุด” สังเกตไหมครับ เพลงยุคแรกของแกรมมี่ ไม่ว่าจะของอัสนี วสันต์ หรือแอ๊ด คาราบาว ทุกวันนี้เรายังฟังกันอยู่เลย เพราะตอนที่ไม่มีทรัพยากรนั่นแหละคือช่วงที่เราต้องรีดพลังสร้างสรรค์ออกมาให้ได้มากที่สุด

กลับมาที่ไทยพีบีเอส บางคนอาจมองว่าเราโชคดีที่มีงบประมาณ 2,000 ล้านบาท แต่ผมเชื่อมาตลอดว่าการแข่งขันจะผลักดันให้เราสร้างสิ่งที่ดีที่สุดออกมา ถ้าไม่มีการแข่งขัน เราอาจไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเราทำเพื่ออะไร

หลายปีที่ผ่านมา ไทยพีบีเอสไม่ให้ความสำคัญกับเรตติง ทั้งที่เรตติงเป็นตัวบอกว่าเราทำรายการได้ดี มีคนดู ใช้เงินคุ้มค่าหรือไม่ ไม่ได้หมายความว่าเราต้องทำเพื่อเอาเงิน แต่เพื่อบอกสังคมว่าเรามีคนดูเยอะ เราสร้างผลกระทบได้จริง

ลองคิดดูนะครับ ถ้าวันหนึ่งเราไปอยู่ใน Top 3 ของช่องทีวีในประเทศ คนก็จะต้องรู้จักไทยพีบีเอส

ผมคิดว่าการประกาศเป้าหมายว่าไทยพีบีเอสจะติด Top 10 ภายใน 2 ปี จะเป็นแรงกระเพื่อมที่ทำให้ทุกฝ่ายต้องปรับตัวอย่างจริงจัง บรรณาธิการข่าวต้องออกไปอยู่ภาคสนาม ไม่ใช่แค่นั่งรายงานข่าวอยู่ข้างใน โปรดิวเซอร์ต้องมีตัวตนชัดเจน ต้องรับผิดชอบจริง ๆ

ทุกวันนี้เราทำแค่ “ให้ผ่าน” เพราะไม่มีใครว่าอะไร แต่หากเรามีเป้าหมายแบบนี้ ทุกคนจะรู้เลยว่า งานของตัวเองยังดีไม่พอ และเราจะต้องเปลี่ยนแปลง

Q : คำถามที่สองครับ ซึ่งก็เกี่ยวเนื่องกับเรื่องเดิม สมมุติว่ามีบางฝ่ายในสังคมพยายามผลักดันให้แก้กฎหมายไทยพีบีเอส เพื่อลดบทบาทความเป็นสื่อสาธารณะ เช่น ปรับให้เป็นสื่อของรัฐหรือสื่อเชิงพาณิชย์ โดยให้เหตุผลว่าภูมิทัศน์สื่อเปลี่ยนไปแล้ว มีสื่อมากมาย และไม่จำเป็นต้องมีสื่อแบบนี้อีกต่อไป ถ้าคุณวันชัยเป็นผู้อำนวยการไทยพีบีเอส จะอธิบายต่อรัฐสภาหรือประชาชนว่าอย่างไรว่า ไทยพีบีเอสยังคุ้มค่าและควรดำรงอยู่ ?

A : ประการแรก เรามีสื่อของรัฐอยู่แล้ว ไม่ควรมีความซ้ำซ้อน ประการที่สอง สื่อพาณิชย์ในไทยมีอยู่มาก และมักละเลยเนื้อหาที่ไม่สร้างรายได้ เช่น ละครสะท้อนปัญหาสังคม หรือข่าวเชิงสืบสวน (investigative journalism) ช่องอื่นทำไม่ได้หรือทำได้แค่ช่วงสั้น ๆ เพราะถูกกดดันจากอิทธิพลภายนอก

แต่ไทยพีบีเอสเป็นช่องเดียวในวันนี้ที่ยังสามารถทำข่าวเชิงลึกแบบ Investigate ได้อย่างสมบูรณ์ ที่เหลือก็แค่จะเลือกทำหรือไม่เท่านั้น ทุกวันนี้ ข่าวหลายเรื่องในสังคมควรได้รับการเจาะลึก เช่น เรื่องเหมือง ปลาหมอคางดำ เป็นต้น ช่องอื่นอยากทำแต่ทำไม่ได้เพราะข้อจำกัด แต่ไทยพีบีเอสทำได้

การรักษาความเป็นสื่อสาธารณะจึงไม่ใช่แค่เรื่อง “มีสื่อของรัฐหรือพาณิชย์อยู่แล้ว” แต่คือการถามว่าสังคมยังต้องการเนื้อหาที่ “ไม่ใช่เพื่อขาย” หรือไม่ ถ้ามีคนดูจำนวนมากจริง ๆ ก็เท่ากับเป็นเกราะคุ้มกันตัวเอง แถมอาจของบเพิ่มได้ด้วยซ้ำเพื่อพิสูจน์ว่าเราทำงานได้คุ้มค่า

นอกจากนี้ เราไม่ได้ทำแค่ทีวี เราอยู่ในยุคดิจิทัล มีแพลตฟอร์มอีกมาก และในอนาคต ถ้าไทยพีบีเอสสามารถเป็น OTT แห่งชาติได้ ก็อาจกลายเป็นเบอร์หนึ่งของสังคมไทย

อย่างในเกาหลีใต้ เขารวมสถานีโทรทัศน์หลายแห่งเข้าด้วยกันเพื่อสู้กับ Netflix แล้วสร้าง OTT แห่งชาติ ขึ้นมา และประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง

ผมคิดว่าไทยพีบีเอสก็มีศักยภาพแบบนั้น โดยเฉพาะในวันที่ช่องอื่นเริ่มอ่อนแอลง

Q : ถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนกันแล้วกันนะคะ เพราะคุณวรชัยก็เป็นผู้อาวุโส อยู่ในวงการสื่อมานาน แต่คำถามนี้ถ้าไม่ถามก็คงไม่ได้ เพราะมันเป็นเสน่ห์นะคะ เสน่ห์ของคุณวรชัยอยู่ที่คำถามที่ดิฉันจะถามต่อไปนี้ค่ะ

คุณวรชัยดูจะได้เปรียบผู้สมัครเกือบทุกคนของไทยพีบีเอสในรอบนี้ หนึ่งในข้อได้เปรียบนั้นก็คือ คุณเคยเป็นรองผู้อำนวยการของที่นี่ แต่ว่าแน่นอนค่ะ เมื่อเราเดินผ่านเส้นนั้นมานานแล้ว เราอาจจะเห็นตัวเองในอีกแบบหนึ่ง

ดังนั้น อันนี้ก็ถือว่าเป็นการแบ่งปันก็แล้วกันนะคะ และผู้ฟังก็คงอยากฟังเหมือนกัน ว่าอะไรคือจุดแข็ง จุดอ่อนในช่วงเวลาที่ผ่านมา ที่เรารู้สึกว่าครั้งนี้ ถ้าได้เป็นว่าที่ ผอ. อีกรอบ มันจะกลายเป็นพลังใหม่ที่เราจะนำมาใช้ ช่วงนั้นเจออะไรบ้างคะ ที่รู้สึกว่าเป็นจุดแข็งที่ตัวเองได้ทำไว้แล้ว และมีบางอย่างที่เป็นจุดอ่อน ที่รู้สึกได้ว่า… เฮ้ย โอกาสมันกลับมาอีกครั้งหนึ่ง เราได้คืนถิ่น คืนถ้ำ แล้วเราจะเปลี่ยนมันให้เป็นพลัง

ซึ่งเท่าที่ฟังคุณวรชัยพูดมาตั้งแต่ต้น ตั้งแต่แสดงวิสัยทัศน์จนถึงตอนนี้ ดิฉันเชื่อว่านี่คือผู้ใหญ่คนหนึ่งในวงการสื่อ ที่มีคุณค่ามหาศาล แต่แน่นอนค่ะ ทุกคนที่มีประสบการณ์ในการทำงาน ก็เคยพลาด เคยเสียใจ เสียดายบางโอกาส อยากฟังจริง ๆ ว่า อะไรคือจุดอ่อนและจุดแข็งในห้วงเวลาที่ผ่านมา และในวันที่คืนถ้ำครั้งนี้ เราจะเปลี่ยนมันให้เป็นพลังของสังคม ขององค์กรได้อย่างไร

A : ตอนอยู่ไทยพีบีเอสก็ถือว่าโชคดีนะครับ ออกไปอยู่ PPTV อีก 2-3 ปี ก็ยิ่งโชคดีใหญ่ เพราะว่าเวลามองย้อนกลับมา มันต่างกันเยอะมากเลย อย่างที่บอกครับว่า เวลาออกอากาศของไทยพีบีเอสกับ PPTV นี่เท่ากัน แต่ “งบประมาณ” กับ “บุคลากร” ต่างกันมาก

แต่เราเห็นเลยครับว่า ตอนอยู่ PPTV ความกระตือรือร้น ความกัดไม่ปล่อย ความต้องเอาให้ได้ของทีมมันสูงมาก เพราะว่ามันเป็นเรื่องของการอยู่รอด

ผมเป็นคนที่ปรับเปลี่ยนตลอดนะครับ ถ้าพูดในแง่ของการเป็นผู้จัดการทีมฟุตบอล ผมมีทั้งซื้อตัว เปลี่ยนตัว ศูนย์หน้าไม่ดีเอาออก เปลี่ยนใหม่ คนก็ด่าครับ แต่มันต้องยอม เพราะเป้าหมายคือเราต้องขึ้นมาให้ได้ติด 1 ใน 10

แต่กลับมามองไทยพีบีเอส ก็ต้องยอมรับนะครับว่า เครื่องมือเครื่องไม้เยอะจริง ๆ ครบหมดทุกอย่างเลย แต่สิ่งที่ขาดคือ “หัวใจอันเร่าร้อน” ที่อยากจะเอาชนะ

ซึ่งจะไปโทษเด็กก็ไม่ได้ มันต้องโทษทั้งระบบ ระบบที่ทำให้เกิดความรู้สึก “เฉย ๆ” ว่าทำดีก็เท่านั้น ทำไม่ดีก็เท่านั้น ทุกคนก็เลยอยู่ใน safety zone

ตอนผมอยู่ PPTV ผมให้นโยบายว่า “ทำข่าวเหมือนไต่เส้นลวด” เดินให้ดี ๆ ไต่เส้นลวด คนดูเยอะ แต่พลาดก็ร่วง แต่เราต้องไต่เส้นลวด เพราะว่ามันเป็นโอกาสที่ทำให้เราโดดขึ้นมาได้เลย

ที่นี่ (ไทยพีบีเอส) มีของดีเยอะ แต่การรวมหัวใจให้รู้สึกว่า “กัดไม่ปล่อย อยากทำให้ดีที่สุด” ผมยังไม่ค่อยเห็น ผมไม่ได้มา 10 ปีแล้วนะครับ แต่เวลาดูหน้าจอเราก็พอจะรู้ ว่าข่าวที่ออกมา มันทำให้ครบเวลาหรือว่าทำเพราะอยากทำจริง ๆ มันดูออกครับ

อย่างที่บอกครับ อยู่ดี ๆ มีเงิน 2,000 ล้านหล่นลงมา มันอาจจะทำให้รู้สึกว่าอยากทำอะไรก็ทำ มันเลยไม่มีโฟกัสที่ชัดเจนว่า “เราจะไปถึงความเป็นสื่อสาธารณะอย่างไร”

วันนี้ผมอ่านรายงานเนื้องานมีเยอะมาก เยอะไปหมด บางทีก็ทับซ้อนกัน สำนักก็เยอะ ภารกิจของที่นี่เยอะขึ้นก็ดีครับ แต่ว่าภารกิจสำคัญก็คือ “รายการดีต้องมีคนดู” ต้องตอบโจทย์ข้อนี้ให้ได้ก่อนจะไปทำอย่างอื่น

Q : ผมชอบคีย์เวิร์ดของคุณวรชัยนะครับ แต่มันต้องไม่ใช่แค่คีย์เวิร์ดนิ่ง ๆ ถ้ามันปลุกขึ้นมาได้ ก็อยากรู้ว่า “How to” จะเป็นยังไง ที่นี่มีครบทุกอย่างแล้ว ปีละ 2,000 ล้าน แต่ยังขาดหัวใจที่เร่าร้อน

การคืนถ้ำครั้งนี้ จะทำให้หัวใจที่เร่าร้อนฟื้นคืนมาได้ยังไง ?

A”อย่างที่บอกครับ ผมไปบริหารที่ไหน ผมจะมี 3 ข้อ

  1. ความยุติธรรม — องค์กรไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็ก ถ้าไม่มีความยุติธรรม มันจะฟัดกันเอง คนข้างในจะฟัดกันก่อน
  2. การทำงานเป็นทีม — สื่อสาระไม่มีพระเอกอีกต่อไป ต้องทำงานเป็นทีม ตั้งแต่หลังบ้านถึงหน้าบ้าน ถ้าไม่ทำเป็นทีม ไม่มีทางเกิดอะไรขึ้น
  3. ความคิดสร้างสรรค์ — ทุกอย่างเหมือนกันหมด แพ้ชนะในวงการสื่อก็คือ “creativity” อย่างเดียวเลย แต่ creativity จะไม่เกิดถ้าไม่สุมหัวกันคิด จะไม่เกิดถ้าไม่มีความยุติธรรม

เพราะฉะนั้นผมคิดว่า สุดท้ายแล้วความสร้างสรรค์มันจะเกิดเพราะเราไม่แทงข้างหลังกัน

Q : ดิฉันคิดว่าความเปลี่ยนแปลงในวงการสื่อมันมาก เท่าที่ฟัง ทั้งจากผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ พนักงาน ซึ่งมีหลายเจเนอเรชัน รวมถึงสภาผู้ชมผู้ฟัง ทุกส่วนก็อยากเห็นความเปลี่ยนแปลงของไทยพีบีเอส

อยากเห็น ผอ. ที่มีความเป็นอิสระ กล้าหาญ และสามารถบริหารพันธกิจในการสร้างความเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้ ต้องเป็นทั้งนักบริหารและผู้มีความรู้ด้านสื่อ ซึ่งคุณวรชัยก็มีคุณสมบัติสอดคล้อง

แต่อยากถามต่อค่ะ เพราะมีมายาคติว่า “ไทยพีบีเอสเป็นทีวี NGO” ถึงแม้ไทยพีบีเอสจะไม่ใช่ NGO โดยตรง แต่ก็มีพันธกิจด้านสังคม

คำถามคือ จะลดมายาคตินี้ได้ยังไง และจะทำให้ไทยพีบีเอสเป็น “สื่อสาธารณะจริง ๆ” ได้ยังไง

อีกประเด็นหนึ่งคือเรื่อง “โครงสร้างองค์กร” ตอนนี้มีเพจขององค์กรตั้ง 50 กว่าเพจ จะจัดการกับแรงต้าน จะจัดการกับคนที่อยากอยู่ในระบบเดิมได้อย่างไร อยากฟังใน 2 ส่วนนี้ค่ะ

A : กฎข้อแรกนะครับ เวลาขึ้นมาเป็นผู้บริหาร โดนด่าแน่นอนครับ ยังไงก็ต้องโดน เพราะคุณไม่สามารถเอาใจทุกฝ่ายได้

ชีวิตผมที่ผ่านมา เขาบอกว่าผมใจดี แต่จริง ๆ ผมเอาคนออกเยอะมาก ทุกองค์กรก็มีลำดับของการพิจารณา เพียงแต่เราจะเอาจริงเอาจังกับมันมากแค่ไหน

วันนี้ปัญหาอย่างหนึ่งของที่นี่คือ “ไม่ได้ถูกจัดการอย่างจริงจังในเรื่องของบุคลากร” ซึ่งก็เข้าใจได้ว่าในอดีตอาจมีเงื่อนไขบางอย่าง

แต่ในอนาคต ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง ก็ต้องเปลี่ยนแน่นอน อย่าลืมนะครับ งบประมาณของประเทศ 60-70% เป็นงบบุคลากรกับงบประจำ จนไม่สามารถขับเคลื่อนประเทศได้

ผมไม่อยากให้ไทยพีบีเอสในอนาคตประสบปัญหาแบบนั้น เพราะเราจะไม่มีเงินทำอะไรเลย นอกจากเลี้ยงบุคลากรอย่างเดียว

ถ้าต้อง “ผ่าตัด” ก็ต้องผ่าแน่นอน มีแรงต้านไหม ? แน่นอนครับ เพราะที่นี่อาจจะมีความเคยชินมายาวนาน แต่ผมก็เชื่อว่า คนจำนวนมากในองค์กรนี้ยินดีที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลง

ตอบเรื่องทีวี NGO นะครับ ไทยพีบีเอสคือ “สื่อสาระของทุกคน” (วงเล็บ : ไม่ใช่ของ NGO)

เราต้องทำให้ผู้คนรู้สึกว่าพวกเขามีส่วนร่วม ยกตัวอย่างง่าย ๆ ครับ ผมรู้สึกว่าไทยพีบีเอสไม่ค่อยให้ความสำคัญกับ “ข่าวเศรษฐกิจ” เท่าไร

ถ้ามีก็จะเป็นข่าวเศรษฐกิจเชิงสังคม แต่ข่าวเศรษฐกิจจริง ๆ ที่ลึกและมีผลกระทบในวงกว้างกลับไม่ค่อยนำเสนอ อาจเป็นเพราะกลัวเรื่องโฆษณา กลัวเทกไซต์ ซึ่งจริง ๆ มันอธิบายได้

แต่บางที กรอบจริยธรรมมันอาจเยอะเกินไป จนทำให้พนักงานไม่กล้ากระดิกตัว ไม่กล้าทำอะไรเลยก็ได้

ผมทำงานหาสปอนเซอร์มาตลอดชีวิต บางทีแค่ถ่ายรูปแล้วมีป้ายชื่อร้านอาหารอยู่ข้างหลัง ก็โดนร้องเรียน ต้องตั้งกรรมการสอบ พนักงานก็จะรู้สึกว่า “ไม่เอาแล้ว ไม่ทำดีกว่า”

ถ้าเรากล้าเสนอข่าวเศรษฐกิจจริงจังมากขึ้น มันจะบาลานซ์กับข่าวทางด้านสังคม และข่าวเพื่อสาธารณะประโยชน์ได้

เราต้องไม่เลือกเสนอเฉพาะบางเรื่อง แล้วบางเรื่องก็ไม่นำเสนอเลย เพราะถ้าคนจะดูไทยพีบีเอส เขาต้อง “รู้ทุกอย่างในโลก” ไม่ใช่รู้เฉพาะบางเรื่อง

Q : อยากจะขอให้ชี้แจงเพิ่มเติมครับ เพราะมีประเด็นที่ดูเหมือนจะขัดกันอยู่ คือด้านหนึ่งบอกว่าสื่อสาธารณะไม่ใช่สื่อที่ชี้นำสังคม แต่ขณะเดียวกันก็พูดว่าสื่อสาธารณะสามารถผลักดันประเด็นได้ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่หลายคนคาดหวังเหมือนกัน

A : ถ้าจะให้พูดถึงสิ่งที่คิดว่าจะทำเป็นอย่างแรก อย่างที่ผมบอกครับ ว่าผมอยากให้สื่อที่นี่เป็นสื่อที่รับใช้คนทุกกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญ ยกตัวอย่างเช่น กรณีปัญหาแม่น้ำกก ที่มีสารเคมีตกค้างจากฝั่งเมียนมา นี่ก็เป็นข่าวที่สามารถทำได้ทั้งหมด แล้วถ้าคุณจะขยี้ข่าวนี้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงก็สามารถทำได้ หรือจะเสนอข่าวแล้วจบก็ได้ มันอยู่ที่ว่าเรามี “AGENDA” อย่างไร

อย่างที่บอกครับว่านี่คือข่าว แต่มันสามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่—อาจจะได้ แต่เราไม่ใช่สื่อที่เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง ผมคิดว่ามันต่างกันโดยสิ้นเชิง

Q : ผมมีสองประเด็นที่อยากแลกเปลี่ยนประสบการณ์การบริหารกับคุณวันชัย เดี๋ยวผมจะลองจัดเวลาให้เหมาะสม จะกดเวลาไว้

ประเด็นแรกคือ เวลาที่เราทำงานในตำแหน่งผู้อำนวยการ ยังมีกลไกสำคัญอีกกลไกหนึ่งก็คือ “กรรมการนโยบาย” หรือ กนย. นั่นเอง ถ้าเราเป็นผอ. เราจะอยู่ตรงกลาง มีทั้งพนักงานในองค์กร และมีบอร์ด

แนวคิดการทำงานของคุณคือ “ความยุติธรรม” คำนี้มันโดนผมนะ เพราะเราไม่ได้ทำงานอย่างอิสระ เราทำงานกับบอร์ด และกฎหมายก็ยังเขียนไว้ว่าคุณต้องทำตามนโยบายบอร์ด สิ่งที่เราคิดกันวันนี้ พูดกันวันนี้ทั้งหมด จะไปปะทะกับ กนย. หรือไม่

คำว่า “ความยุติธรรม” ที่เรามีกับลูกน้อง กับพนักงาน จะทำยังไงไม่ให้จบลงด้วยการโดนโทษจำคุก 2 ปี หรือไม่รอลงอาญา หรือโดนเรียกไปไต่สวนโดย ป.ป.ช. ซึ่งผมโดนมาแล้วจริง ๆ

อยากให้ลงลึกกับคำว่า ความยุติธรรม ว่าคุณหมายถึงอะไร และจะทำให้เห็นเป็นรูปธรรมอย่างไร

A”ความยุติธรรมเนี่ยมันเป็นคำที่กว้างนะครับ ผมขอยกตัวอย่าง เช่น การพิจารณาขึ้นเงินเดือน เราแฟร์กับทุกฝ่ายไหม ? หรือการเลื่อนขั้น เรามีเหตุผลไหม ?

ผมบริหารองค์กรมานาน สิ่งที่ผมยึดไว้ตลอดคือ ผมต้องมีเหตุผลที่สามารถอธิบายได้ทุกเรื่อง ว่าทำไมถึงตัดสินใจแบบนี้ หรือทำไมถึงไม่ทำแบบนั้น

ตอนผมเป็นรองผอ. ผมก็โดนร้องเรียนเยอะนะครับ มีอนุกรรมการต่าง ๆ เรียกไปชี้แจง แต่ผมอธิบายได้ จนเขาเข้าใจ

เพราะฉะนั้น “ความยุติธรรม” มันไม่ใช่ความยุติธรรมของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่มันต้องเป็นความยุติธรรมที่เกิดขึ้นจริง ที่สังคมยอมรับได้ อันนี้คือความยุติธรรม

อีกประเด็นหนึ่งคือ ผมเชื่อว่าผมเป็นทีมเดียวกับ กนย. จากประสบการณ์หลายปีที่ผ่านมา กนย. กับฝ่ายบริหารมักจะปะทะกันตลอด แต่ผมไม่ใช่ ผมคิดว่าถึงเวลาที่ต้อง “จับมือกัน” จริง ๆ ถ้าอยากให้องค์กรอยู่รอด มันไม่มีเวลามาทะเลาะกันแล้ว

แต่ทุกอย่างต้องอยู่บนพื้นฐานของเหตุและผล บางเรื่องเขาเรียกร้องมา ผมอาจยอมรับ แต่บางเรื่องก็ต้อง defend ว่าอันนี้ไม่ใช่นะครับ ก็ต้องคุยกัน

คุยกันแบบฝรั่ง คุยกันในที่ประชุม ตรงไปตรงมา ไม่แทงข้างหลัง และนั่นจะเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ดี ถ้าเราทำได้ก็จะเป็นไปตามที่คุณว่า คือความยุติธรรม

Q : อีกเรื่องหนึ่งที่ท้าทายมาก และผมก็บริหารโดยใช้ 2 คำนี้เหมือนที่คุณวันชัยพูด นั่นคือ “สิทธิมนุษยชน” กับ “ประชาธิปไตย” ซึ่งกฎหมายไทยพีบีเอสก็กำหนดไว้ชัดว่าเราต้องบริหารบนพื้นฐานนี้

คำถามคือ แล้วคุณจะทำอย่างไร ? โดยเฉพาะคำว่า “เล่าเนียน ๆ” เนี่ย ผมเลยอยากรู้ว่าการเป็นผอ. ในยุคนี้ จะ “ตีเนียน” เรื่องสิทธิมนุษยชน กับประชาธิปไตยยังไง ? แล้วจะ build เด็กของเรายังไง ?

อยากจะขอให้ชี้แจงเพิ่มเติมครับ เพราะมีประเด็นที่ดูเหมือนจะขัดกันอยู่ คือด้านหนึ่งบอกว่าสื่อสาธารณะไม่ใช่สื่อที่ชี้นำสังคม แต่ขณะเดียวกันก็พูดว่าสื่อสาธารณะสามารถผลักดันประเด็นได้ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่หลายคนคาดหวังเหมือนกัน

A : ถ้าจะให้พูดถึงสิ่งที่คิดว่าจะทำเป็นอย่างแรก อย่างที่ผมบอกครับ ว่าผมอยากให้สื่อที่นี่เป็นสื่อที่รับใช้คนทุกกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญ ยกตัวอย่างเช่น กรณีปัญหาแม่น้ำกก ที่มีสารเคมีตกค้างจากฝั่งเมียนมา นี่ก็เป็นข่าวที่สามารถทำได้ทั้งหมด แล้วถ้าคุณจะขยี้ข่าวนี้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงก็สามารถทำได้ หรือจะเสนอข่าวแล้วจบก็ได้ มันอยู่ที่ว่าเรามี “AGENDA” อย่างไร

อย่างที่บอกครับว่านี่คือข่าว แต่มันสามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่—อาจจะได้ แต่เราไม่ใช่สื่อที่เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง ผมคิดว่ามันต่างกันโดยสิ้นเชิง

Q : ผมคิดว่าเราน่าจะได้แลกเปลี่ยนกันในเชิงบริหาร ผมมีสองประเด็นที่อยากแลกเปลี่ยนประสบการณ์การบริหารกับคุณวันชัย เดี๋ยวผมจะลองจัดเวลาให้เหมาะสม จะกดเวลาไว้

ประเด็นแรกคือ เวลาที่เราทำงานในตำแหน่งผู้อำนวยการ ยังมีกลไกสำคัญอีกกลไกหนึ่งก็คือ “กรรมการนโยบาย” หรือ กนย. นั่นเอง ถ้าเราเป็นผอ. เราจะอยู่ตรงกลาง มีทั้งพนักงานในองค์กร และมีบอร์ด

แนวคิดการทำงานของคุณคือ “ความยุติธรรม” คำนี้มันโดนผมนะ เพราะเราไม่ได้ทำงานอย่างอิสระ เราทำงานกับบอร์ด และกฎหมายก็ยังเขียนไว้ว่าคุณต้องทำตามนโยบายบอร์ด สิ่งที่เราคิดกันวันนี้ พูดกันวันนี้ทั้งหมด จะไปปะทะกับ กนย. หรือไม่

คำว่า “ความยุติธรรม” ที่เรามีกับลูกน้อง กับพนักงาน จะทำยังไงไม่ให้จบลงด้วยการโดนโทษจำคุก 2 ปี หรือไม่รอลงอาญา หรือโดนเรียกไปไต่สวนโดย ป.ป.ช. ซึ่งผมโดนมาแล้วจริง ๆอยากให้ลงลึกกับคำว่าความยุติธรรมหน่อย ว่าคุณหมายถึงอะไร และจะทำให้เห็นเป็นรูปธรรมอย่างไร

A : ความยุติธรรมเนี่ยมันเป็นคำที่กว้างนะครับ ผมขอยกตัวอย่าง เช่น การพิจารณาขึ้นเงินเดือน เราแฟร์กับทุกฝ่ายไหม ? หรือการเลื่อนขั้น เรามีเหตุผลไหม ?

ผมบริหารองค์กรมานาน สิ่งที่ผมยึดไว้ตลอดคือ ผมต้องมีเหตุผลที่สามารถอธิบายได้ทุกเรื่อง ว่าทำไมถึงตัดสินใจแบบนี้ หรือทำไมถึงไม่ทำแบบนั้น

ตอนผมเป็นรองผอ. ผมก็โดนร้องเรียนเยอะนะครับ มีอนุกรรมการต่าง ๆ เรียกไปชี้แจง แต่ผมอธิบายได้ จนเขาเข้าใจ

เพราะฉะนั้น “ความยุติธรรม” มันไม่ใช่ความยุติธรรมของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่มันต้องเป็นความยุติธรรมที่เกิดขึ้นจริง ที่สังคมยอมรับได้ อันนี้คือความยุติธรรม

อีกประเด็นหนึ่งคือ ผมเชื่อว่าผมเป็นทีมเดียวกับ กนย. จากประสบการณ์หลายปีที่ผ่านมา กนย. กับฝ่ายบริหารมักจะปะทะกันตลอด แต่ผมไม่ใช่ ผมคิดว่าถึงเวลาที่ต้อง “จับมือกัน” จริง ๆ ถ้าอยากให้องค์กรอยู่รอด มันไม่มีเวลามาทะเลาะกันแล้ว

แต่ทุกอย่างต้องอยู่บนพื้นฐานของเหตุและผล บางเรื่องเขาเรียกร้องมา ผมอาจยอมรับ แต่บางเรื่องก็ต้อง defend ว่าอันนี้ไม่ใช่นะครับ ก็ต้องคุยกัน

คุยกันแบบฝรั่ง คุยกันในที่ประชุม ตรงไปตรงมา ไม่แทงข้างหลัง และนั่นจะเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ดี ถ้าเราทำได้ก็จะเป็นไปตามที่คุณว่า คือความยุติธรรม

Q : อีกเรื่องหนึ่งที่ท้าทายมาก และผมก็บริหารโดยใช้ 2 คำนี้เหมือนที่คุณวันชัยพูด นั่นคือ “สิทธิมนุษยชน” กับ “ประชาธิปไตย” ซึ่งกฎหมายไทยพีบีเอสก็กำหนดไว้ชัดว่าเราต้องบริหารบนพื้นฐานนี้

คำถามคือ แล้วคุณจะทำอย่างไร ? โดยเฉพาะคำว่า “เล่าเนียน ๆ” เนี่ย ผมเลยอยากรู้ว่าการเป็นผอ. ในยุคนี้ จะ “ตีเนียน” เรื่องสิทธิมนุษยชน กับประชาธิปไตยยังไง ? แล้วจะ build เด็กของเรายังไง ?

A : ขอบคุณครับ ผมขอยกตัวอย่างซีรีส์เกาหลีนะครับ เกือบทุกเรื่องมีคอนเซปต์เกี่ยวกับประชาธิปไตย ความเหลื่อมล้ำ ผู้หญิง หรือสิทธิมนุษยชน แต่ทำอย่างเนียน สนุก และดูเพลิน

คุณจะรู้สึกว่า “โอ้โห ด่าใครอยู่วะ ?” ด่าอัยการอยู่หรือเปล่า ? ด่าตำรวจ ? แต่คนดูสนุก และนี่แหละคือ “ศิลปะของการเล่าเรื่อง”

เล่าให้ฟังนิดนึงครับ หลายปีก่อน หลังจากที่เกาหลีใต้เศรษฐกิจฟองสบู่แตก กระทรวงวัฒนธรรมของเขาเชิญเพื่อนผมซึ่งเป็นตัวแทนจากไทยไปหารือกับอีกหลายประเทศ

เขาบอกว่าถ้าเกาหลีจะทำ soft power ด้านบันเทิง ควรพูดเรื่องอะไร ? คำตอบคือไม่ใช่แค่ความรัก แต่ต้องมีประชาธิปไตย ความเหลื่อมล้ำ สิทธิสตรี เพราะละครเหล่านี้พูดแทนคนจำนวนมากที่ไม่มีเสียง

เส้นเรื่องภายนอกอาจเป็นความรัก แต่ภายในพูดถึงเผด็จการ การกดขี่ผู้หญิงในบริษัท แต่เนียน จนคนดูรู้สึกว่า โอ้ ประเทศนี้เข้าใจจริง ๆ

นี่คือ “ศิลปะของการเล่าเรื่อง”

เรื่องที่สองคือประชาธิปไตย ถ้าผมเป็นผอ. วันนี้ ประเทศไทยมีพื้นที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลอยู่แล้ว ผมจะเปิดพื้นที่ให้ทุกฝ่ายมาเล่า มาแสดงออก ไม่ว่าจะฝ่ายไหนก็ตาม

โดยอยู่ในเงื่อนไขของเรา ไม่ใช่พูดอะไรก็ได้ตามใจ แต่ต้องเป็น “พื้นที่จริง ๆ” เพราะเรารับฟังทุกฝ่าย และให้คนดูไปคิดต่อเอง ไม่ใช่เราตัดสินแทน โดยสื่อโดยทั่วไปอาจจะใช้วิธีเน้นความบันเทิง หรือสร้างเรตติง แต่สำหรับไทยพีบีเอสซึ่งมีข้อจำกัดทางด้านกฎหมาย หรือแนวทางการทำงานในฐานะสื่อสาธารณะ ซึ่งมีเป้าหมายหลัก คือการพัฒนาสังคม อยากทราบว่าคุณจะทำอย่างไรเพื่อให้สามารถรักษาคุณค่าความเป็นสื่อสาธารณะไว้ได้ ขณะเดียวกันก็ทำให้มีผู้ชมมากขึ้นจริง ๆ

ผมเชื่อว่า “คุณค่า” กับ “ความนิยม” ไม่จำเป็นต้องแยกกัน ถ้าเราเล่าเรื่องเป็น ถ้าเราทำคอนเทนต์ให้เข้าถึงคนจริง ๆ คนจะดูเองโดยไม่ต้องใช้กลวิธีเรียกเรตติงแบบสื่อพาณิชย์

สิ่งที่ผมจะทำคือ หนึ่ง สร้างทีมเล่าเรื่องที่เก่งขึ้น ต้องเข้าใจผู้คน เข้าใจความเปลี่ยนแปลงของโลก สอง เราต้องกล้าพูดเรื่องยาก ๆ แต่ทำให้ดูง่าย ทำให้ดูสนุก อย่างที่ผมพูดถึงซีรีส์เกาหลี

อีกเรื่องคือ เราต้องฟังผู้ชมจริง ๆ เราอาจจะมีข้อมูลเรตติง แต่เรายังไม่มีระบบฟังเสียงผู้ชมอย่างเป็นระบบจริงจัง อันนี้ผมจะตั้งใจทำมาก

และสุดท้ายคือ สร้างเครือข่ายพันธมิตรให้มากขึ้น ไม่ใช่แค่ทำคอนเทนต์เอง แต่ทำร่วมกับภาคประชาชน ภาควิชาการ เด็ก ๆ รุ่นใหม่ คนกลุ่มเปราะบาง กลุ่มต่างจังหวัด กลุ่มชายขอบ ให้เขาได้เล่าเรื่องของตัวเองผ่านไทยพีบีเอส แล้วเขาจะกลายเป็น “ผู้ชมที่ภาคภูมิใจ” ที่ได้เห็นตัวเองในหน้าจอ นั่นแหละครับคือวิธีที่เราจะสร้างความนิยมอย่างยั่งยืน โดยไม่ละทิ้งคุณค่าของความเป็นสื่อสาธารณะ