“ขอสวัสดีท่านคณะกรรมการนะครับ รวมถึงทุกท่านทางบ้านด้วย รัฐศาสตร์ กรสูตร ผู้รับการสมัครสรรหาผอ. ThaiPBS นะครับ วันนี้ผมมาพบกับทุกท่านนะครับเพราะผมเชื่อว่าในทุกความเปลี่ยนแปลงย่อมนำมาซึ่งความเป็นไปได้ที่ดีกว่าเสมอนะครับ ผมเป็นคนแรกวันนี้”
ผมเริ่มงานครั้งแรกในชีวิตเนี่ยตอนอายุ 17 ตอนเรียนปี 1 ที่ธรรมศาสตร์ผมได้รับ โอกาสไปเป็นศิลปินในค่ายแกรมมี่ ตอนนั้นมันคล้าย ๆ กับโรงเรียนแรกของผมที่ทำให้ผมได้เรียนรู้ถึงอุตสาหกรรมสื่อสารมวลชน ที่นี่ผมได้พบกับเพื่อนพี่น้องมากมายที่วันนี้ก็ยังเป็นเพื่อนกันอยู่นะครับเรายังพูดคุยกัน ติดต่อสื่อสารกันผมมี mindset เดียวกับพวกเขา ผมพูดภาษาเดียวกับพวกเขา เพราะว่าผมเองก็เป็นหนึ่งในพวกเขาเหมือนกัน นี่เป็นที่แรกที่ทำให้ผมได้ค้นพบว่า พลังของดิจิทัลรุนแรงมหาศาลขนาดไหน
“ผมได้เห็นองค์กรที่ต้องรับมือกับความท้าทายของความเปลี่ยนแปลงเรื่องของ technology มันเป็น Wave of Digital Disruption ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงวงการอุตสาหกรรมเพลงไม่เหมือนเดิมอีก และที่ทำให้ผมตัดสินใจไปเรียนต่อ ปริญญาโทด้านไอทีเพื่อที่จะจบกลับมาทำงานด้านวงการไอที ทำซอฟต์แวร์ SAP ทำ Telecom ในช่วงนั้นเนี่ยเป็นช่วงที่อุตสาหกรรมไทยเนี่ยค่อย ๆ เปลี่ยนการสื่อสารเนี่ยจากสื่อดั้งเดิมไปเป็นสื่อใหม่ที่เรียกว่าสื่อออนไลน์”
“ผมเองก็ทำงานและเติบโตอยู่ในช่วงนั้นจนกระทั่งช่วงปี 2010 ผมได้มีโอกาสทำงานกับบริษัทเทนเซ็นต์ เป็นผู้บริหารครั้งแรกดูแลเว็บไซต์ sanook.com เป็นเว็บอันดับ 1 ของประเทศไทย ณ ตอนนั้น ที่นี่พอ เริ่มงานแรกก็เจอ wave ที่ 2 ซัดเข้ามา มันเป็นช่วงที่อุตสาหกรรมสื่อมันเริ่มเปลี่ยน สื่อออนไลน์ สื่อเว็บไซต์ ที่เมื่อก่อนเคยเป็นสื่อที่ทันสมัยผ่านมา 10 ปีมันเริ่มไม่ทันสมัยแล้ว คนไทยเริ่มรู้จักกับโซเชียลมีเดีย เริ่มใช้ Facebook คนที่เคยรับข่าวสารในจอคอมพิวเตอร์เขาเริ่มเปลี่ยนเริ่มมาใช้มือถือในการรับข่าวสาร”
“หน้าที่ผมตอนนั้นคือต้อง transform องค์กร ผมเปลี่ยนจากสื่อออนไลน์ที่เป็นเว็บไซต์ base ไปเป็นสื่อออนไลน์ครบวงจรที่ทำงานบนแพลตฟอร์ม ผมปรับการทำงานของทีมจากการทำงานแบบคอมพิวเตอร์ base PC ไปเป็น Mobile First”
“หลังจากนั้น ผมได้มีโอกาสทำงานกับบริษัท LINE Application ในปี 2013 เนี่ยวันนั้นผมเชื่อว่าประเทศไทยเราเนี่ย ยังคิดภาพไม่ออกเลยว่า Line จะมีความสำคัญกับชีวิตเราขนาดนี้ สิ่งที่ผมทำที่ Line ผมเริ่มสร้าง Ecosystem ให้กับ Line โดยมี Line แชทอยู่ตรงกลางและผมสร้าง Ecosystem เพื่อตอบโจทย์ทุก ๆ ความต้องการของสมาชิก LINE ผมเซตอัปทีม Content Business ผมเซตอัปทีม Line TV ที่เป็นวิดีโอ On Demand Platform ไทย แพลตฟอร์มแรกตั้งแต่ปี 2013 ที่นี่ผมสร้างเครื่องมือผมสร้าง True ไว้กับ Line มากมาย”
“ในปี 2014 ผมได้รับโอกาสให้ทำงานกับภาครัฐ คราวนี้เจอคลื่นระดับสึนามิเลยเพราะว่า เป็นช่วงที่ภาครัฐต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง เราถูกท้าทายจากเรื่องของการเปลี่ยนแปลงเรื่องเทคโนโลยี ผมเข้าทำงานในช่วงที่นโยบายรัฐบาลต้องการปรับเปลี่ยนบทบาทเพิ่มโครงสร้างแล้วก็เปลี่ยนชื่อกระทรวงจาก ICT เดิมไปเป็นกระทรวงใหม่ที่ชื่อว่ากระทรวงดิจิตัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในช่วงนั้นผมใช้ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ที่มีช่วยงานภาครัฐขับเคลื่อนดิจิทัลในภาพที่กว้างขึ้น”
“ปัจจุบันผมเป็นรองรองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลหรือว่าเรียกแบบบ้าน ๆ เป็น founding member ที่นี่ทำงานมาตั้งแต่สำนักงานก่อตั้ง ผมเป็นรองผู้อำนวยการที่ดูแลกำกับงานในฝั่งของสังคมดิจิทัล ผมทำงานกับประชาชนกับ เกษตรกรกับชุมชนกับสถาบันการศึกษา ผมกับทีมเนี่ยเราไปส่งเสริมการใช้โดรนให้กับเกษตรกรตั้งแต่ช่วงปี 62 ตั้งแต่ที่พี่น้องเกษตรกรยังคิดภาพไม่ออกเลยว่า โดรนนี่มันสามารถใช้ปลูกข้าวปลูกอ้อยได้
ผมจับมือกับองค์กรพี่น้องอพช. องค์การพัฒนาชุมชนไปส่งเสริมชุมชนเกาะลิบงให้ใช้โดรนในการตรวจจับและรักษาพยูน โครงการนั้นเรารับรางวัลจาก UN ในฐานะที่ส่งเสริมสิ่งแวดล้อม
ผมทำงานกับกระทรวงศึกษาในการส่งเสริมเรื่องของการเรียนการสอน coding ตั้งแต่ปี 61 เราสร้างแพลตฟอร์มเราสร้างหลักสูตรอบรมครูอาจารย์ทั่วประเทศเลยฮะ ณ วันนั้นเนี่ยคุณครูยังมาถามผมเลยบอกว่า เอ๊ะ อาจารย์ไอ้วิชา coding เนี่ย วิธีการคำนวณเนี่ยมันแตกต่างจากคณิตศาสตร์ยังไง”
“ปัจจุบัน ผมขยายขึ้นมาดูแลงานในเรื่องของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี หน้าที่ผมและก็ทีมคือ เราพยายามสร้างแล้วก็ strengthen ecosystem ทางด้านดิจิทัลของประเทศให้แข็งแรงเพื่อนำไปขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมนะครับ”
“มีคนถามผมเยอะมาก ๆ ว่าทำไมผมถึงกล้าที่จะออกจาก comfort zone ที่ผมถนัดแล้วก็กระโดดขึ้นมาสู้กับความท้าทายในทุกคลื่นแห่งความเปลี่ยนแปลงทุกครั้ง คำตอบของผมคือผมคิดว่าผมไม่กลัวความเปลี่ยนแปลง ผมคิดว่าความเปลี่ยนแปลงเนี่ยมันมีความเป็นไปได้เสมอ เช่นเดียวกับที่ภูมิทัศน์สื่อทุกวันนี้ เราทุกคนทราบมันเปลี่ยนรุนแรงแล้วก็รวดเร็วมาก ๆ คำถามสำคัญคงไม่ใช่อยู่ที่ว่า มันจะเปลี่ยนไปเป็นรูปแบบอะไร คำถามสำคัญก็คือ แล้วท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงนี้ เนี่ยThaiPBS ที่เป็นสื่อสาธารณะ มีช่องทีวี 2 ช่อง มีเว็บไซต์ 8 เว็บไซต์ มีแอปอีก 4 ตัว มีคน 1,200 คน งบประมาณ 2,000 ล้านบาทต่อปีแล้วโอกาสขององค์กรนี้อยู่ตรงไหนในภาพนี้ ผมอยากตอบคำถามนี้ด้วยภาพถัดไปนี่คือภูมิทัศน์ของสื่อในประเทศ ณ ปัจจุบันจริง ๆ ประเทศไทยเนี่ยเป็นประเทศที่มีสื่อเยอะมากนะฮะเรามีสื่อดั้งเดิมที่วันนี้ค่อย ๆ หายไปเรื่อย ๆ”
”เรามีสื่อดั้งเดิมอีกจำนวนมากเลยที่วันนี้พยายามที่จะ transform ตัวเองไปเป็นสื่อรูปแบบใหม่แล้วเราก็มีสื่อรูปแบบใหม่ที่เป็นยักษ์ใหญ่จากต่างประเทศที่เป็น Digital Native โดยแท้ตั้งแต่เกิดเลยที่วันนี้เข้ามายึดหัวหางคนไทยไปเรียบร้อย ถ้าเอ่ยชื่อก็คือ Netflix YouTube ดังนั้นในภาพนี้ ThaiPBS เราอยู่ตรงไหน และผมอยากเปลี่ยนคำถามใหม่ว่า จริง ๆ แล้ว สังคมอยากให้ ThaiPBS อยู่ตรงไหนในภาพ ถามว่าวันนี้ถ้าเป็นสื่อที่มีคนนิยมสูงสุด มีคนดูมากสุด เรตติงสูงสุด แล้วยังไงต่อ”
”ปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นทุกวัน กลุ่มเด็ก กลุ่มเยาวชน กลุ่มคนรุ่นใหม่-คนรุ่นเดิม กลุ่มเปราะบาง กลุ่มด้อยโอกาส ที่เขาอยากจะให้สังคมเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น เขาอยากมีพื้นที่ให้เขาได้เข้ามาร่วมให้สังคมมันดีขึ้น ผมคิดว่าเหตุผลของการดำรงอยู่ของสื่อ สาระคือการไปเคียงข้างคนเหล่านี้
ผมอยากจะขอเสนอตำแหน่งใหม่ เราจะปลี่ยนจากสื่อสาธารณะที่เน้นในการเผยแพร่เนื้อหาสาระเป็นสื่อแพลตฟอร์มสาธารณะ ที่เน้นในการสร้างความเปลี่ยนแปลงของสังคมผ่านพลังแห่งความรู้และการมีส่วนร่วม”

”วันนี้ผมจะไม่เสนอแผนในการทำงานของ ThaiPBS แต่ผมจะเสนอภาพใหม่ว่า ThaiPBS ภาพใหม่ควรเป็นอย่างไรผมอยากให้ทุกท่านจินตนาการ เรามาวาดภาพใหม่ด้วยกัน เรามา reimagine ThaiPBS from broadcaster to the impact maker เราจะไม่ทำแต่การสื่อสาร แต่เราจะลงมือเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคม”
”ในภาพใหม่นี้สังคมจะได้เห็นอะไรสังคมจะได้เห็น Inclusive Media Platform เราจะเป็นสื่อสาธารณะที่ไม่ทำหน้าที่เพียงแค่สื่อสารไปยังผู้คน แต่เราจะเปิดให้ผู้คนเข้ามาสื่อสารด้วยกัน สังคมจะได้เห็นองค์กรสื่อที่ไม่ได้มุ่งเน้นทำงานเพียงแค่เรตติงหรือว่ายอดวิว แต่เราทำงานเพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกกับสังคมที่วัดได้จริง”
”องค์กรจะได้เห็นรายได้ครับและรายได้นี้ไม่ใช่เพียงแค่กำไรเข้ามาในองค์กร แต่ส่วนหนึ่งจะต้องเปลี่ยนไปเป็นเชื้อเพลิงเพื่อขับเคลื่อนภารกิจเราให้มันยั่งยืนต่อไป วงการสื่อสารมวลชนจะได้เห็นคนรุ่นใหม่ เราจะเป็นศูนย์กลางในการผลิตคนรุ่นใหม่แห่งอนาคตที่ไม่ได้แค่ทำรายการ แต่เป็นคนที่เข้าใจสาธารณะและอยากเปลี่ยนแปลง และสุดท้ายเราจะได้เห็นองค์กรสื่อที่ทำงานบนข้อมูล ใช้ข้อมูลให้เกิดประโยชน์ในการวางนโยบายในการออกรายการที่เหมาะสม ตรงจุด ตรงเป้าหมาย”
”และแน่นอนว่าภาพนี้ ถ้าแค่มองเห็นมันไม่เพียงพอ มันต้องทำให้เกิดความเป็นจริง ผมอยากจะเริ่มต้นจากจุดแข็งของ ThaiPBS ก่อน ผมว่าวันนี้เรามี 2 จุดแข็งที่แข็งแรงมาก ๆ ทรงพลังมาก ๆ เรามีคนที่เก่งและมีอุดมการณ์ ผมรู้จักหลายคนมาก ๆ เรามีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมเรามีสภาผู้ชมฯ”
”แต่คำถามสำคัญ คือว่าท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงขนาดนี้ 2 จุดแข็งของเราจะยังคงแข็งแรงต่อไปในอีก 2 ปี 4 ปีข้างหน้าหรือไม่ เราพร้อมที่จะรับคลื่นลูกใหญ่ที่จะเข้ามาหาเราหรือยัง”
”ดังนั้นผมอยากจะเสนอว่าเรา ต้องสร้างระบบนิเวศหรือว่า ecosystem ในการขับเคลื่อน 2 จุดแข็งนี้ เราต้องสร้างบ้านขนาดใหญ่ที่แข็งแรงเพื่อรองรับคลื่นแห่งความเปลี่ยนแปลงที่จะซัดเข้ามา นี่คือภาพของ ecosystem ที่ผมจะสร้างกับ ThaiPBS”
”เราจะเริ่มต้นจากข้างในก่อน บุคลากรขององค์กรต้องติดอาวุธให้ Reskill upskill ต้องมีจรรยาบรรณในการทำงาน ต้องเท่าทันเทรนด์เท่าทันโลก ต้องมีสกิลเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของทักษะด้านดิจิทัล ใช้ข้อมูลเป็น เราต้องเปลี่ยนการทำงานขององค์กรเราให้มันราบมากขึ้นนะครับ ทำแบบ squad base การวัดผลเฉพาะแค่ KPI อาจจะไม่เพียงพอต้องดูว่า Objective จะเปลี่ยนไปแบบไหน
หลังจากนั้นบ้านก็ต้องมีโครงสร้างที่แข็งแรง เราต้องลงทุนกับข้อมูล วันนี้ข้อมูลของ ThaiPBS อยู่กระจัดกระจายหลายแพลตฟอร์มมากแบบนี้ไม่ได้ครับ เราต้องรวมให้เป็นหนึ่งเดียวฮะเพื่อให้เกิดพลังเรา ต้องเก็บข้อมูลข้างนอกจาก Social Listening จากประชาชนเก็บเข้ามาหาเรา แล้ววิเคราะห์หาอินไซต์เพื่อเอาไปกำหนดนโยบาย กำหนดโจทย์ กำหนดเนื้อหาที่เหมาะสมตรงกลุ่มเป้าหมายหลังจากนั้นถ้าเราพูดถึง ecosystem”
”เราต้องสร้างคนรุ่นใหม่ เด็กรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพ มีไฟ มีความคิดสร้างสรรค์ เราต้องบ่มเพาะเขาผ่านโปรแกรม เราต้องให้พื้นที่ในการทำงานผ่าน Innovation Hub ของเราให้แสดงฝีมือ เราต้องเปลี่ยนให้คนรุ่นใหม่เป็นพลังในการขับเคลื่อนสื่อสาระในปัจจุบันและในอนาคต”
”ทีนี้คำถามต่อไป ถ้าต้นน้ำเราดี เราจะสามารถส่งต่อวงจรคุณค่าหรือ value chain เนี่ย กลับไปสู่ความเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร เราก็ต้องสร้างปลายน้ำ เราต้องเปลี่ยนกิจการของไทยซะใหม่ จากการที่เป็นเฉพาะแค่ผู้ผลิต เราต้องเปลี่ยนเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริหารจัดการเนื้อหา ต้องทำ 2 อย่างควบคู่กัน เราต้องเปิดโอกาสให้สังคม ให้ภาคส่วนอื่น ๆ สื่อเล็ก สื่อน้อย สื่อใหญ่ องค์กรต่าง ๆ ที่เขามี know-how มี expertise มาทำงานร่วมกับเรา ผ่านกลไกที่เราจะคิดเอาไว้ คือเป็นลักษณะกองทุนหมุนเวียน”
“ความหมายคือ กองทุนนี้จะเปลี่ยนจากการจ้างผู้ผลิตเป็นราย ๆ มาอยู่ตรงกลาง ทำงานโปร่งใส ผ่านกรรมการที่มี expertise มาร่วมกันคิด ร่วมกันตัดสินใจ ทุกคนมีส่วนเข้ามาร่วมกับกองทุนนี้ มาช่วยกันขับเคลื่อน ถ้ามันเป็นการ investment ระยะสั้น ระยะยาว ที่มันเกิดผลผลิต เงินก้อนนี้กลับมาสู่องค์กร ส่วนหนึ่งปันเข้าไปในกองทุนหมุนเวียน ให้มันกลายเป็นพลังขับเคลื่อนที่มันยั่งยืน”
“ถ้าเราทำทุกอย่างสำเร็จ ThaiPBS จะร่วมพลังจากภายนอกมาเชื่อมต่อในทุก ๆ value chain ที่เราสร้างเลย แล้วถ้าทุกอย่างทำงานประสานกัน มันจะเกิด synergy เราจะไม่อยู่คนเดียว สังคมจะอยู่ข้างเรา แล้วเราจะสร้างความเปลี่ยนแปลงได้จริงในสังคม”
“ผมอยากจะขยายภาพว่า value chain ของข้อมูลเนี่ย มันจะกลายเป็นความเป็นจริงได้อย่างไร จากภาพนี้ ผมเองมีความเชี่ยวชาญอีกเรื่องนึง ก็คือเรื่องการต้านทุจริต ผมเป็นอนุปช. ทำงานเรื่องนี้มาอย่างยาวนาน ผมออกแบบหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาที่เป็นวิชาบังคับของสพฐ. ณ วันนี้ในมุมมองผมคิดว่า ปัญหาใหญ่ของประเทศเราอันหนึ่งก็คือปัญหาเรื่องการคอร์รัปชัน”
“ถ้าเราคิดแบบเดิม เราต้องทำ content กี่ร้อย content ต้องทำกี่รายการ กว่าคอร์รัปชันจะหมดไปจากประเทศเรา ผมขอเปลี่ยนใหม่ได้ไหม เรามาตั้งเป้าหมายใหม่ร่วมกัน จากวันนี้ถึงปี 2570 ดัชนีคอร์รัปชัน CPI Index ของไทย ต้องเพิ่มขึ้น 5 คะแนน ขอแบบนี้เลย วันนี้เราอยู่ที่ 34 ใช่ไหม ผมขอ 39 ขอ 40 ก็ดี จะได้เท่าเวียดนาม”
“ผมขอท้าทายโจทย์แบบนี้เลย ถ้าทุกคนเห็นด้วย เรามาดูข้อมูล content แบบไหนมันทำงาน แบบไหนไม่ทำงาน พฤติกรรมคนชอบดูแบบไหน ดูอะไรแล้วมันเกิดความรู้สึกอยากมีส่วนร่วมในการต้านทุจริต เราวิเคราะห์ได้ insight เราส่ง insight นี้ไปข้างนอก ให้ทุกคนมามีส่วนร่วม มาออกแบบ ร่วมดีไซน์ ร่วมกันจนตกผลึกได้มาเป็น concept แล้วเราโยน concept ไปยังเครื่องมือที่เราสร้างเอาไว้ผ่านกองทุน“
“ผมตั้งชื่อเล่นว่า Media Innovation Public Fund ความหมายคือ ผมจะไม่จำกัดว่าต้องเป็นเนื้อหาสาระ เป็นรายการ เป็นอะไรก็ได้ เป็นแพลตฟอร์ม เป็นเกมยังได้ ถ้ามันตอบโจทย์พันธกิจ แล้วผมจะเปิดให้ทุกภาคส่วน สื่อเล็ก สื่อใหญ่ องค์กรไม่แสวงหากำไร มหาวิทยาลัย ครีเอเตอร์ใหม่เก่ามาร่วมได้หมด ทุกอย่างทำงานผ่านคณะกรรมการกองทุน“
“ถ้าเราทำได้ เราสามารถหาเงินภายใต้รายได้เพิ่มเติมได้ เราไปคุยเลย ท่านอยากเห็นประเทศดีขึ้นไหม SCB BKB ship-in เข้ามา เดี๋ยวเราจะ ship-in เงินเข้าไป คนมาขอทุน คุณก็มาช่วยเรา คุณจะ in-cash เราว่ากัน ทุกอย่างมันต้องเป็น synergy ทำงานร่วมกัน ถ้าทำแบบนี้ได้ ผมเชื่อว่าเราไม่ได้คิดเองทำเอง ทุกคนมาช่วยเราทำ ถ้าแบบนี้เราเปลี่ยนแปลงได้จริง“
“แล้วถ้าเป้าหมายเราสำเร็จ องค์กรเอกชนก็ไปตอบโจทย์ ESG ThaiPBS ก็ตอบพันธกิจ เราคนทำสื่อก็มีพื้นที่ในการโชว์ศักยภาพ สังคมได้ประโยชน์ทุกฝ่าย
ดังนั้นผมเชื่อว่า การขับเคลื่อนเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ เราจะขับเคลื่อนเพียงแค่เรื่องใดเรื่องหนึ่งไม่ได้ นี่คือ 6-5 กลยุทธ์ที่ผมคิดว่าเราต้องขับเคลื่อนไปพร้อม ๆ กันเพื่อสร้างภาพใหม่ของ ThaiPBS“
ถาม-ตอบ ‘รัฐศาสตร์ กรสูต’ เจาะขุมทรัพย์ ‘กองทุน’ มากกว่ารายได้คือ impact

Q : จากที่อาจารย์รัฐศาสตร์พูดว่าในอินเด็กซ์ต่าง ๆ มีหลายหน่วยงานเกี่ยวข้องอยู่ ไม่ใช่เฉพาะองค์กรสื่อ และไม่ใช่เฉพาะ ThaiPBS เช่น เรื่องความโปร่งใส ป.ป.ช.บ้าง กฎหมายข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ บ้าง จะมาอ้างว่าเป็นงาน เป็น contribution ของ ThaiPBS ได้อย่างไร
A : จริง ๆ มีวิธีวัด เราสามารถทำรีเสิร์ช ทำ pre-test post-test แล้ววัดได้ว่า impact เราเกิดขึ้นจริงแค่ไหน กี่เปอร์เซ็นต์ บาง index อาจจะขึ้นแต่เราสอบตกก็ได้ เพราะเราไม่มีส่วนช่วยเลย แต่บาง index อาจจะไม่ขึ้นแต่เราช่วยได้เยอะมาก พวกนี้สามารถทำรีเสิร์ชเชิงคุณภาพได้
Q : ขออนุญาตไปยังคำถามเฉพาะ ขออนุญาตถามก่อนในฐานะกรรมการสรรหาคนนึง ซึ่งคำถามเฉพาะนี้เราจะถามผู้สมัครแต่ละรายจากเอกสารประกอบการสมัคร ตลอดจนการแสดงวิสัยทัศน์ในวันนี้ คำถามที่อยากถามคุณรัฐศาสตร์คือในวิสัยทัศน์และสิ่งที่ได้อธิบายไป คุณเสนอจะจัดตั้งกองทุนร่วมลงทุนในสตาร์ตอัปหรือผู้ผลิตเนื้อหาดิจิทัล ซึ่งผมเห็นว่า อาจจะมีความเสี่ยงสองประการ
ประการแรก คือความเสี่ยงด้านกฎหมาย ThaiPBS เคยพยายามจะลงทุนในตราสารหนี้ก็พบว่ามีปัญหา และสิ่งที่คุณรัฐศาสตร์เสนอคือการลงทุนในตราสารทุน คือหุ้น อาจมีความเสี่ยงทางกฎหมาย
ประเด็นที่สอง ต่อให้ไม่มีปัญหากฎหมาย การเอาเงินไปลงทุนในบริษัทสตาร์ตอัปมีโอกาสเสียมากกว่าได้ วิธีที่น่าจะดีกว่าคือจ้างผลิตรายการแบบเดิม แต่ให้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นของร่วมกันระหว่าง ThaiPBS กับผู้ผลิตรายการ อย่างนั้นไม่ดีกว่าหรือ ?
A : ผมเห็นต่าง และคิดว่าอาจอธิบายไม่เคลียร์ในเอกสาร จริง ๆ กองทุนนี้เราไม่ได้ลงทุนในตราสารทุน เราเป็นกองทุนที่เปิดกว้างในการให้ grant fund ที่เป็น strategic grant เป็นการลงทุนร่วมในการสร้างสรรค์ เป็นการ co-invest กับแพลตฟอร์มและผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ เป็นการลงทุนระยะสั้นและระยะยาวในการผลิตเนื้อหา ผลิตสื่อ เพื่อช่วยขับเคลื่อนเป้าหมายของเรา
ในเรื่องของกฎหมาย จริง ๆ มีกฎหมายของ ThaiPBS ที่ระบุว่าเราต้องส่งเสริมผู้ประกอบการอิสระ ผู้ผลิตสื่ออิสระ ซึ่งผมเห็นว่านี่คือวัตถุประสงค์ขององค์กรที่เราต้องทำ เขาอาจมีการจำกัดงบไว้ เช่น 10% ของรายได้ ก็ประมาณปีละ 200 ล้านบาท เราสามารถแบ่งสรรปันส่วนได้ บางส่วนยังจัดจ้างเหมือนเดิมเพราะอาจเป็นงบผูกพัน แต่อีกส่วนสามารถปันมาให้กลายเป็นกองทุนหมุนเวียน
ผมเชื่อว่า การลงทุนมีได้หลายรูปแบบ ถ้าคนที่มีศักยภาพ มีไอเดีย เราโยนโจทย์ไป เขาตอบโจทย์มา ทุกคนเห็นว่าใช่ ดี เราให้แบบเป็น grant ไม่ต้องคืนเงิน อาจเป็นก้อนเล็ก ๆ เป็น seed fund แต่ถ้าเป็นก้อนใหญ่หน่อย มีประสบการณ์ มีโครงการใหญ่ เรา co-invest, co-create ร่วมกัน แบ่งผลประโยชน์กัน เขาได้ เราก็ได้ องค์กรได้กลับมาเป็น เงินทุน
ถ้าเป็นแพลตฟอร์มระยะยาว 2 ปี 3 ปี 5 ปี แล้วตอบโจทย์เรา เรา co-invest ถ้ามีรายได้ เราขอจัดเก็บกลับมา มันอาจมีโอกาสขาดทุน แต่สิ่งที่มากกว่ารายได้คือ impact คือผลกระทบกับสังคม ซึ่งผมอยากจะวัดตรงนี้
การส่งเสริมให้เกิดเนื้อหาดี ๆ คงเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายเห็นด้วยว่าจะช่วยสร้างผลกระทบกับสังคม แต่รูปแบบในการดำเนินการยังเป็นที่สงสัย เพราะในเอกสารแสดงวิสัยทัศน์ คุณรัฐศาสตร์ใช้คำว่า equity investment และ venture capital fund ซึ่งทำให้เข้าใจว่า เป็นการลงทุนในหุ้น ถ้ามีรายได้เราก็ได้รับปันผลตามสัดส่วน
ประเด็นที่อยากเรียนถามในช่วงเวลาที่เหลือ ไม่ใช่เรื่องเทคนิคทางกฎหมายว่าทำได้หรือไม่ แต่เป็นเรื่องของความแตกต่างระหว่างการจ้างผลิตรายการที่ดีซึ่งก็สร้าง impact ได้ กับการไปร่วมลงทุนซึ่งก็อาจสร้าง impact ได้เช่นกัน ทำไมจึงคิดว่าการร่วมลงทุนจะสร้าง impact ได้มากกว่าการจ้างผลิต ?
ผมคิดว่าการจ้างก็เป็นสิ่งที่ดีและมี impact พอสมควร เราสามารถทำควบคู่กันได้ แต่สิ่งสำคัญของการเปิดกองทุนคือการเปิดโอกาสให้ทุกคนในสังคม ไม่ว่าจะเป็นสื่อไหนหรือผู้ผลิตอิสระหน้าใหม่หรือเก่า มาร่วมกันคิด ร่วมกันทำ เป็นเวทีให้ทุกคน ไม่ใช่แค่เราทำคนเดียว ผมคิดว่ามันจะเกิด synergy จริง
Q : ในฐานะที่เป็นสื่อเหมือนกันและทำหน้าที่นี้ในฐานะผู้อำนวยการของ ThaiPBS คุณรัฐศาสตร์มีแนวคิดที่จะทำข่าวในประเด็นต่อไปนี้ให้แตกต่างจากข่าวที่ ThaiPBS ได้ทำมา หรือข่าวที่สื่ออื่น ๆ ได้เคยทำมาอย่างไรให้สมกับการที่ ThaiPBS เป็นสื่อสาธารณะ ? มี 3 ประเด็นที่อยากให้คุณรัฐศาสตร์เสนอแนวคิดครับ
A : โจทย์ข้อแรกครับ เรื่องข่าวม็อบราษฎรปี 2563 ข้อที่สอง เรื่องวิกฤตโควิด ข้อที่สาม เรื่องภาษีของทรัมป์และสงครามการค้าโลกครับ
ผมว่าแนวทางการทำเนื้อหาทุกรูปแบบอยู่ที่ข้อมูลครับ เราจะเริ่มต้นจากข้อมูลก่อนนะครับ เช่น เรื่องม็อบราษฎร นอกจากการรายงานสภาพเหตุการณ์จริง ที่นักข่าวไปตรวจสอบและส่งข่าวกลับมาแล้ว เราก็ควรมีการนำเสนอความคิดเห็นจากทั้งสองฝ่ายและนำมาเทียบเคียงกันให้ได้ เพื่อให้ข้อมูลหลากหลาย และสร้างการเข้าใจที่ดีขึ้นครับ
การทำข่าวแค่รูปแบบเดียวอาจไม่เพียงพอครับ เราจะทำยังไงให้ข่าวที่ทำออกมาสามารถเป็นบทเรียนอะไรบางอย่างที่ส่งต่อไปยังสังคมในอนาคตได้ นอกจากนี้ ถ้ามีพื้นที่กลางให้เด็กรุ่นใหม่แสดงความคิดและถกกัน ก็อาจจะมีทางออกที่ดีกว่าแค่การลงถนนครับ

เรื่องโควิด เราเห็นว่าเรื่องนี้ต้องรายงานแบบ real-time ให้ได้ครับ เช่น เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่มีผู้ป่วยใหม่ หรือสถานที่ต่าง ๆ ขาดแคลนเตียงหรือยา ผู้คนก็จะอยากรู้และอยากช่วยเหลือ โดยการรายงานสถานการณ์แบบนี้จะช่วยกระตุ้นให้สังคมมีส่วนร่วมมากขึ้น
ส่วนเรื่องภาษีทรัมป์และสงครามการค้าโลก ผมคิดว่าเราควรทำสารคดีหรือข่าวที่อธิบายง่าย ๆ ในภาษาชาวบ้าน เพื่อให้คนทั่วไปเข้าใจได้ง่ายขึ้น เพราะบางทีเรื่องเหล่านี้มันซับซ้อนเกินไปสำหรับคนทั่วไปครับ
ถ้าต้องเลือกทำข่าว 1 เรื่อง ผมอยากทำข่าวที่มันต่อเนื่องครับ คือการทำข่าวการต้านทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นครับ เพราะจากข้อมูลที่ผมเคยทำงานที่ ป.ป.ช. พบว่าองค์กรเหล่านี้มีเรื่องร้องเรียนเยอะที่สุดในประเทศครับ
อย่างไรก็ตาม ที่สำคัญคือเรื่องนี้ยังเป็นพื้นที่ที่มืดอยู่ คือไม่มีการตรวจสอบหรือเปิดเผยข้อมูลมากพอ ผมอยากทำรายการที่ติดตามนายกอบต. หรือเทศบาล เพื่อทำการรายงานว่าคนที่ทำดีควรได้รับการชื่นชม และถ้ามีข้อสงสัยหรือความผิดปกติ ก็จะทำการตรวจสอบ
ถ้าให้เป็นรายการ ผมยกตัวอย่าง “นายกใกล้ฉัน” ครับ โดยจะติดตามการทำงานของเทศบาลและอบต. ทั่วประเทศ หากใครทำดีเราจะส่งเสริม หากมีข้อสงสัยจะทำการตรวจสอบและตีแผ่ให้ประชาชนรับรู้ครับ
Q : ต่อไปนี้ดูเหมือนว่าเราได้ศึกษาเรื่อง input พอสมควรไม่ว่าจะเป็นงบประมาณ กำลังคน หรือ Communication Channels ต่าง ๆ ผมอยากเรียนถามคุณรัฐศาสตร์นะครับว่ามองจากมุมของคุณรัฐศาสตร์เอง ThaiPBS มี stakeholder หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแบ่งเป็นกี่กลุ่ม ? เราแบ่ง segmentation ยังไง ? แล้วในฐานะที่เราจะเข้ามาบริหาร ThaiPBS ในอนาคต คุณรัฐศาสตร์มองว่าจะทำอย่างไรในการจัดการกับ stakeholder เหล่านี้
A : ผมคิดว่า stakeholder หลัก ๆ ของ ThaiPBS มี 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ครับ
กลุ่มแรก คือคนในองค์กรครับ เรามีประมาณ 200 คน ทั้งประจำและสัญญาจ้างครับ ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มที่สำคัญที่ต้องดูแลให้เกิดความเป็นธรรมทั้งในแง่ของการทำงานและความรู้สึกในองค์กร
กลุ่มที่สอง คือสังคมไทยครับ คือ stakeholder ตัวจริงที่เราต้องคำนึงถึงในการทำงานทุกอย่าง สิ่งที่เราทำต้องสามารถสร้างประโยชน์ทั้งสำหรับคนในองค์กรและสังคมไทยได้ ผมถึงเรียนว่าในการตั้งเป้าหมายต่าง ๆ เราต้องแฟร์กับคนในองค์กรในขณะเดียวกันก็ต้องแฟร์กับสังคมไทยด้วยว่า เราใช้เงิน 2,000 ล้านต่อปีในการทำอะไรครับ ข้อเสนอแนะจากหลายฝ่ายมักบอกว่า “ถ้าได้เงิน 2,000 ล้านทุกปี ทำไมถึงได้ผลลัพธ์แค่นี้ ?” ดังนั้นเราต้องเปลี่ยนวิธีการขับเคลื่อนและทำให้ stakeholder เห็นว่าองค์กรสื่อของเราทำงานอย่างคุ้มค่ากับเงินภาษีที่ได้รับ
Q :คุณรัฐศาสตร์พูดถึง 2 กลุ่มใหญ่ คือ คนไทยและคนในองค์กรครับ อยากให้ขยายความเรื่อง “คนไทย” ว่าคุณรัฐศาสตร์มอง segmentation ของคนไทยไว้อย่างไรบ้างครับ ?
A :จริง ๆ แล้วมีหลายกลุ่มครับท่านอาจารย์ การแบ่งกลุ่มของคนไทยในปัจจุบันมันเยอะมากครับ แต่ผมอาจจะแบ่งย่อย ๆ เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ครับ
หนึ่งคือกลุ่มที่มีโอกาส กลุ่มนี้คือคนชนชั้นกลางที่มีศักยภาพ มีโอกาสในการใช้จ่ายและทำงาน กลุ่มนี้เราจะเน้นการให้ข้อมูลข่าวสารและสร้างความรู้ให้เขาสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงสังคมได้
กลุ่มที่ขาดโอกาส กลุ่มนี้คือคนที่อยู่ในกลุ่มเปราะบาง หรือกลุ่มด้อยโอกาส เช่น คนที่ไม่มีโอกาสทางการศึกษา หรือรายได้ต่ำ กลุ่มนี้เราจำเป็นต้องให้ความสนใจและดูแลเป็นพิเศษผ่านการให้ความรู้ การส่งเสริมผ่านแคมเปญหรือแพลตฟอร์มต่าง ๆ เพื่อให้เขามีโอกาสในการพัฒนา
และกลุ่มสุดท้าย คือกลุ่มที่แทบไม่มีโอกาส กลุ่มนี้คือกลุ่มที่มีความท้าทายที่สุด เช่น คนที่เพิ่งออกจากเรือนจำครับ กลุ่มนี้หากไม่ได้รับการช่วยเหลือและไม่ได้รับโอกาสใหม่ ๆ พวกเขาก็จะกลับไปสู่วงจรเดิม ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาในสังคมมากขึ้นครับ ดังนั้นกลุ่มนี้เราต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษและจัดทำแคมเปญหรือเนื้อหาที่เหมาะสม เพื่อให้พวกเขามีโอกาสได้เริ่มต้นใหม่ในสังคมครับ
Q : คุณรัฐศาสตร์มองอย่างไรเกี่ยวกับคนไทยที่อยู่ในต่างประเทศและคนต่างประเทศที่อยู่ในประเทศไทย เนื่องจากทั้งสองกลุ่มมีผลกระทบต่อสังคมไทย ?
A : จากประสบการณ์ของผมเองที่เคยอยู่ต่างประเทศ ผมเห็นว่าคนไทยในต่างประเทศมีบทบาทสำคัญในการเสพสื่อและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างลึกซึ้ง บางครั้งการพูดคุยเกี่ยวกับการเมืองหรือประเด็นต่าง ๆ นั้นดำเนินไปตั้งแต่เช้าจรดเย็นครับ คนไทยที่อยู่ต่างประเทศหลายคนก็มีศักยภาพและบางคนก็ประสบความสำเร็จในธุรกิจต่าง ๆ จนมีรายได้ดีและต้องการกลับมาช่วยเหลือประเทศไทย แต่ปัญหาคือบางครั้งพวกเขาหาช่องทางในการทำสิ่งนี้ไม่ได้ ฉะนั้นถ้าเราเปิดช่องทางและแพลตฟอร์มให้คนเหล่านี้เข้ามามีส่วนร่วมได้ ผมเชื่อว่าจะเป็นการเสริมกำลังให้กับการพัฒนาและการทำงานของเราได้มากขึ้นครับ
Q : คุณรัฐศาสตร์ได้ติดตามความคิดเห็นของสื่อและประชาชนเกี่ยวกับการสรรหาผู้อำนวยการ สสท. ไว้อย่างไรบ้าง ?
A : จากประสบการณ์การสัมภาษณ์ครั้งนี้ ผมรู้สึกว่าแนวทางที่เปิดเผยและโปร่งใสในการสรรหาผู้นำถือเป็นสิ่งที่ดีมากครับ ผมเห็นว่าการที่มีการถ่ายทอดสดและมีการเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นทำให้กระบวนการนี้มีความโปร่งใสและมีการตรวจสอบได้ ในอนาคตผมอยากจะเห็นการทำเช่นนี้ในทุกหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้กระบวนการสรรหาผู้นำเป็นไปอย่างยุติธรรมและโปร่งใส
Q : คุณรัฐศาสตร์มองการ positioning ของ ThaiPBS ในปัจจุบันอย่างไร ? และหากเรามี positioning ที่เหมาะสมแล้ว เราจะสามารถเชื่อมโยงกับทุกกลุ่มเป้าหมายได้อย่างไร ?
A : ในปัจจุบัน สื่อทีวีเริ่มมีบทบาทลดลงไปเรื่อย ๆ และทุกคนมักจะใช้หลายแพลตฟอร์มในการเสพสื่อ Content จะมีบทบาทสำคัญมากกว่าช่องทางการเผยแพร่ ดังนั้น ThaiPBS จำเป็นต้องมุ่งสู่การเป็นแพลตฟอร์มที่สามารถเข้าถึงทุกกลุ่มผู้ชมได้ ไม่ว่าจะเป็นในประเทศหรือต่างประเทศ โดยการสร้างแพลตฟอร์มหลักที่แข็งแกร่ง และร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อขยายการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้หลากหลาย
ในส่วนของแบรนด์และอัตลักษณ์ ผมเชื่อว่าเราต้องชัดเจนในเรื่องการทำสื่อที่มีคุณค่าทางสังคม โดยไม่เน้นการทำสื่อเพื่อการค้า เช่น การหลีกเลี่ยงข่าวบันเทิง หรือเรื่องที่ไม่สร้างประโยชน์ต่อสังคม ThaiPBS จะเน้นทำเนื้อหาที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคม เช่น เรื่องของการต่อต้านคอร์รัปชัน หรือการส่งเสริมหลักนิติธรรม ซึ่งจะช่วยสร้างแบรนด์ที่มีความน่าเชื่อถือ และมีอิทธิพลในการขับเคลื่อนสังคมครับ
โดยเฉพาะการจับกระแสจากกลุ่มคนรุ่นใหม่อย่าง Gen Z หรือ Gen Y โดยการใช้ Influencer หรือ KOL ที่มีอิทธิพลในกลุ่มนั้น ๆ มาสื่อสารเนื้อหาในรูปแบบที่ง่ายและเข้าใจง่าย แต่ยังคงไว้ซึ่งคุณค่าของ ThaiPBS การใช้ช่องทางสื่อสารที่แตกต่างกัน เช่น โซเชียลมีเดีย หรือแพลตฟอร์มที่กลุ่มเป้าหมายใช้งาน จะช่วยเพิ่มการเข้าถึงและสร้างการรับรู้ได้เร็วขึ้น
เราควรเปิดตัวเองให้มากขึ้น ไม่จำกัดการสื่อสารในรูปแบบที่เป็นทางการหรือมีรูปแบบมากเกินไป แต่ให้มันมีความยืดหยุ่นและเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งจะทำให้เกิดกระแสที่ค่อย ๆ เติบโตขึ้นและกระตุ้นให้คนสนใจใน ThaiPBS ได้ครับ

Q : และการทำ engagement กับกลุ่มเป้าหมายล่ะครับ ? คุณรัฐศาสตร์มองว่าแนวทางไหนที่จะทำให้ engagement ประสบความสำเร็จ ?
A : การทำ engagement ในปัจจุบันผมเชื่อว่า ไม่สามารถทำแค่การสื่อสารแบบทางเดียวได้อีกต่อไป มันต้องเป็นการสื่อสารที่เป็นสองทางตลอดเวลา หรือที่เรียกว่า always communication ซึ่งหมายถึงการรับฟังความคิดเห็นและร่วมแสดงออกกับกลุ่มเป้าหมายผ่านกิจกรรมต่าง ๆ หรือแคมเปญที่ ThaiPBS สร้างขึ้น การตั้งคำถามที่ท้าทายหรือเปิดโอกาสให้คนมาร่วมคิดร่วมตอบจะช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วม และทำให้การสื่อสาร ไม่ใช่แค่การถ่ายทอดข้อมูล แต่เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งระหว่าง ThaiPBS กับผู้ชม
ผมเชื่อว่าการทำ engagement ต้องมาจากการมีเวทีหรือพื้นที่สำหรับการร่วมกันแสดงออก การถกเถียงในประเด็นต่าง ๆ และการสร้างความคิดร่วมกัน ซึ่งจะช่วยให้คนรู้สึกถึงความสำคัญและต้องการมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กรและสังคมไปพร้อมกันครับ
Q : การที่เปิดแพลตฟอร์มให้มีพาร์ตเนอร์เข้ามาร่วมลงทุนในฐานะ “Investment Platform” จะรักษามาตรฐานความเป็นสื่อสาธารณะได้อย่างไร ? และจะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดอิทธิพลจากกลุ่มทุนในมุมมองของสาธารณะ ?
A : ในการทำงานผ่านการให้ทุนหรือลงทุน ผมคิดว่าเราต้องมีกลไกในการกำกับดูแลที่ชัดเจน เช่น การตรวจสอบการส่งมอบงาน และการกำหนดกรอบการทำงานร่วมกันกับพาร์ตเนอร์ว่าเนื้อหาหรือโพรเจกต์ใดที่สามารถทำได้ และในส่วนที่ต้องการจำกัด เราจะมีการตรวจสอบทุกขั้นตอนก่อนที่เนื้อหาจะเผยแพร่ ซึ่งจะคล้ายกับการจ้างผลิตในแบบเดิม เมื่อโพรเจกต์หรือเนื้อหาทำเสร็จแล้ว จะต้องได้รับการอนุมัติจากเราเพื่อให้มั่นใจว่า เนื้อหานั้นยังคงรักษาความเป็นกลางและมาตรฐานของสื่อสาธารณะไว้
Q : ในส่วนของเทคโนโลยี เช่น การใช้แพลตฟอร์มที่เจ้าของเทคโนโลยีต่างประเทศอาจมีอิทธิพลผ่านอัลกอริทึม จะรักษาความเป็นอิสระและมาตรฐานของสื่อสาธารณะได้อย่างไร ?
A : ปัญหาของเทคโนโลยีและการพึ่งพาอัลกอริทึมจากต่างประเทศเป็นเรื่องที่น่ากังวล โดยเฉพาะการที่ข้อมูลและวิธีการทำงานของ AI และอัลกอริทึมเหล่านั้นไม่โปร่งใส เราจึงต้องสร้างระบบที่สามารถพึ่งพาได้ด้วยตนเอง เช่น การใช้ข้อมูลของเราเองในการฝึก AI หรือการพัฒนาโมเดลที่ไม่เชื่อมต่อกับเทคโนโลยีจากต่างประเทศ โดยใช้ข้อมูลจากผู้ใช้ (User Base) และสื่อของเราในการสร้างและพัฒนาโมเดลของเราเอง ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงที่ข้อมูลจะถูกใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ได้มาตรฐานที่เราต้องการ
การเปิดแพลตฟอร์มให้พาร์ตเนอร์เข้ามามีส่วนร่วมต้องมีการกำกับดูแลที่ชัดเจนในทุกขั้นตอน และสร้างความโปร่งใสในการอนุมัติเนื้อหา ขณะเดียวกัน การลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และพัฒนาระบบที่อิสระจากอัลกอริทึมภายนอกจะช่วยรักษาความเป็นอิสระและมาตรฐานของสื่อสาธารณะได้มากขึ้น
Q : หากเราต้องการรวบรวมข้อมูลให้ได้มากที่สุดและนำมาจัดการเอง โดยใช้แพลตฟอร์มของ ThaiPBS จะต้องมีสิ่งใดบ้าง และคุณรัฐศาสตร์มองแพลตฟอร์มของ ThaiPBS อย่างไร ?
A : การสร้างแพลตฟอร์มที่มีข้อมูลจำนวนมากและสามารถจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราจำเป็นต้องมีกลยุทธ์ 2 รูปแบบ แพลตฟอร์มนี้จะต้องรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่จากหลาย ๆ แหล่งให้เป็นระบบเดียวเพื่อให้เกิด synergy และทำให้ข้อมูลที่รวบรวมมาเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง และมีคุณภาพสูงสุด เราจะใช้ข้อมูลนี้ในการพัฒนาการบริการ หรือเนื้อหาที่ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
การทำงานร่วมกับภาคประชาสังคมหรือคนนอกองค์กรเพื่อออกแบบแพลตฟอร์มใหม่ ๆ นั้นจะช่วยให้เกิดความหลากหลายและนวัตกรรมในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เราอยากพูดคุยด้วย ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น Line, แอปพลิเคชันใหม่ ๆ หรือแม้กระทั่งช่องทางที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต การมีส่วนร่วมจากภายนอกจะช่วยสร้างการรับรู้และความเข้าใจในสังคมกว้างขึ้น
Q : ในฐานะผู้อำนวยการคนใหม่ คุณรัฐศาสตร์เห็นความท้าทายหลักที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนา ThaiPBS ในระยะสั้น (60 วันแรก) อย่างไร?
A : ผมมองว่าความท้าทายหลักที่สำคัญในองค์กรมี 3 ประการ เมื่อองค์กรต้องการเปลี่ยนแปลง สิ่งแรกที่มักเกิดขึ้นคือการต่อต้านจากคนในองค์กร การเปลี่ยนแปลงเรื่องคนจำเป็นต้องทำผ่านการสร้างวัตถุประสงค์ร่วมกันจาก bottom-up เพื่อให้คนในองค์กรมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงและเข้าใจเป้าหมายที่ต้องการไปให้ถึง
การจัดการข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญ การที่ข้อมูลในปัจจุบันยังค่อนข้างกระจัดกระจายและไม่ได้รวมศูนย์จะทำให้การตัดสินใจล่าช้าหรือผิดพลาดได้ ใน 60 วันแรกผมต้องการทำความเข้าใจกับข้อมูลที่มีอยู่ โดยเฉพาะประเภทของคอนเทนต์ที่ทำงานได้ดีและไม่ได้ดี เพื่อให้สามารถปรับปรุงและใช้ข้อมูลให้เกิดประโยชน์สูงสุด
โครงสร้างองค์กรที่ซับซ้อนในรูปแบบเดิมอาจไม่เหมาะสมในยุคที่การเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว และต้องการความยืดหยุ่น ผมจะปรับโครงสร้างองค์กรบางส่วนให้เหมาะสมกับการทำงานที่มีความรวดเร็ว โดยเฉพาะในด้านการสร้างทีมงานที่ทำงานแบบ Sprint หรือ Squad ที่สามารถทำงานระยะสั้น และสามารถปรับตัวได้หากไม่สำเร็จ
ใน 60 วันแรกของการทำงาน ผมจะเริ่มต้นจากการศึกษาข้อมูลขององค์กรและประเมินสภาพแวดล้อมที่เรามีอยู่ ผมจะร่วมกับฝ่าย HR เพื่อตรวจสอบความสามารถ (competency) ของคนในองค์กร และพัฒนาความรู้ความเข้าใจในเทรนด์ต่าง ๆ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าใจโลก และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมสื่อ
Q : ในการสร้าง collective objective ให้เกิดขึ้นในองค์กร โดยเฉพาะเมื่อมีมุมมองที่แตกต่างกันระหว่างพนักงานที่มองว่า ThaiPBS ควรจะเป็นแค่สื่อ กับพนักงานที่มองว่า ThaiPBS ควรจะเป็นมากกว่านั้นและช่วยผลักดัน ecosystem ของสื่อในประเทศให้เติบโต คุณรัฐศาสตร์จะใช้ข้อมูลอะไรในการช่วยให้พนักงานสามารถมองเห็น objective ร่วมกันได้ ?
A : ซึ่งกลับไปที่ข้อแรก เพื่อให้เกิด collective objective ที่เป็นรูปธรรมและสามารถเข้าถึงได้ทุกคนในองค์กร ผมคิดว่าเราจำเป็นต้องใช้ ข้อมูล หลายแหล่งที่เกี่ยวข้องกับทั้งภายในและภายนอกองค์กร
เราต้องเริ่มจากข้อมูลภายในองค์กร โดยเฉพาะข้อมูลจาก HR ที่บ่งชี้ถึงความสามารถ (competency) ของแต่ละคน การประเมินผลงานในอดีตจะช่วยให้เราเข้าใจจุดแข็งและจุดที่ต้องการการพัฒนา จากนั้นจะสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการ mapping ให้เห็นช่องว่าง (gap) ที่ต้องการการปรับปรุงและพัฒนาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
นอกจากข้อมูลภายในแล้ว การเข้าใจ Landscape หรือสภาพแวดล้อมของอุตสาหกรรมสื่อในปัจจุบันเป็นสิ่งสำคัญ ข้อมูลเกี่ยวกับเทรนด์และพัฒนาการของอุตสาหกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศจะช่วยให้เราเห็นภาพรวมและเข้าใจแนวทางที่องค์กรอื่น ๆ ใช้ในการดำเนินงาน สิ่งเหล่านี้จะช่วยเสริมสร้างแนวคิดและปรับทิศทางของ ThaiPBS ให้สามารถผลักดัน ecosystem ได้
สิ่งสำคัญไม่ใช่รูปแบบการทำงาน แต่คือ objective หรือเป้าหมายที่องค์กรและพนักงานทุกคนต้องการไปให้ถึง ถ้าเราสามารถระบุปัญหาหรือโจทย์ที่เราต้องการแก้ไขร่วมกันได้ เช่น การสร้างสื่อที่มีคุณภาพหรือการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชน การตั้ง objective ร่วมกันจะช่วยให้ทุกคนมุ่งไปในทิศทางเดียวกันและสามารถร่วมมือกันได้ในทุกแผนงาน
วิธีการผลักดันให้ทุกคนมองเห็น objective ร่วมกัน คือการใช้ข้อมูลในการสร้างการรับรู้และความเข้าใจร่วมกัน ว่าทุกคนมีส่วนสำคัญในการบรรลุเป้าหมายเดียวกันอย่างไร