เก่งกิจ กิติเรียงลาภ, Author at Decode
Economy

ปัจเจกเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ (ไม่) เป็นธรรม

Reading Time: < 1 minute การแยก “การสร้างสรรค์” ออกจาก “การผลิต” ก็คือกลไกสำคัญที่จัดลำดับชั้นและแบ่งแยกแรงงานภายในสังคมหนึ่ง ๆ กลไกดังกล่าวนี้เองได้ทำหน้าที่ค้ำยันความเหลื่อมล้ำสารพัดแบบเอาไว้ และเป็นเครื่องมือในการปลอบประโลมความล้มเหลวผ่านการที่ผู้คนที่ล้มเหลวในระบบต้องหัดโทษตัวเองว่า สาเหตุของความล้มเหลวเกิดจากพวกเขาสร้างสรรค์ไม่พอ หรือไม่มีความคิดสร้างสรรค์ด้วย  

เก่งกิจ กิติเรียงลาภ

อย่าปล่อยให้คนแพ้ต้องดูแลตัวเอง ในเมื่อไม่มีใครดูแลตัวเองได้ตลอด

Reading Time: 2 minutes การผูกงานเข้ากับมูลค่านั้นเป็นผลิตผลสำคัญของระบบทุนนิยม กล่าวอีกอย่างก็คือ กิจกรรมที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจเท่านั้นที่จะถูกว่าเป็น “งาน” ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวก็ทำให้คนที่มีส่วนสร้างมูลค่ากลายมาเป็น “คนทำงาน” ส่วนคนอื่น ๆ นั้นไม่ได้ทำงานเพราะพวกเขาไม่ได้สร้างมูลค่าแต่อย่างใด ผลผลิตของการผูกงานเข้ากับมูลค่าจึงทำให้มีคนจำนวนหนึ่งที่ไม่ได้ทำงาน เพราะพวกเขาทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ไม่ได้นำไปสู่หรือไม่ได้กำลังสร้างมูลค่า แม้ว่าพวกเขาจะทำกิจกรรมนั้น ๆ จนตัวตาย พวกเขาก็ไม่ได้ถูกนับว่าทำงาน … หลาย ๆ ครั้ง ผู้ดูแลซึ่งหารายได้ไม่ได้ เพราะเขาไม่มีโอกาสออกไปหารายได้นอกบ้านก็ถูกมองว่าเป็นภาระของสังคม

เก่งกิจ กิติเรียงลาภ
เก่งกิจ กิติเรียงลาภ

งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลทุกข์

Reading Time: 2 minutes เก่งกิจ กิติเรียงลาภ เล่าถึงสังคมที่ผู้คนขยันทำงานกันอย่างมาก และ “งานคือเงิน เงินคืองาน” นั้นกลับทำให้เงินและงานไม่ค่อย “บันดาลสุข” มากนัก งานกลับกลายเป็นแหล่งที่มาของความทุกข์มากกว่าความสุข ยกเว้นช่วงสัปดาห์แรกของเงินเดือนออกที่เราอาจจะมีความสุขมากหน่อย

เก่งกิจ กิติเรียงลาภ