Futurism Archives - Page 18 of 29 - Decode

CATEGORY Futurism
Lorem ipsum dolor sit amet.

Economy

ข้าวโพดนายทุน ฝุ่นข้ามแดนในภาวะสงครามเมียนมา

Reading Time: 4 minutes กว่าทศวรรษแห่งคำถามบนแปลงข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตัวเลขส่งออกและพื้นที่ปลูกที่โตต่อเนื่อง สวนทางกับรายได้เกษตรกรบนน่านน้ำสีน้ำตาล และไฟสงครามที่เต็มไปด้วย ‘หนี้’

Futurism

อำนาจเราไม่เท่ากัน มีไหมแฟลตฟอร์ม (ทางเลือก) ที่เป็นธรรม

Reading Time: 3 minutes ซีรีย์ “กรรมกรดิจิทัล” นำเสนอประเด็นของคนงานกิ๊กในภาพรวม ความแตกต่างจากงานฟรีแลนซ์ รวมถึงปัญหาระหว่างการทำงานของไรเดอร์จนนำไปสู่การรวมกลุ่มแล้ว

สถาบันแรงงานและเศรษฐกิจที่เป็นธรรม
Futurism

Start Up ความโรแมนติกในโลกไร้สวัสดิการ และทุนนิยมที่มีแต่เรื่องโชคดี ?

Reading Time: 2 minutes ซีรีส์ทำอย่างละเอียดและชวนติดตาม ททำให้คิดถึงเส้นทางการประสบความสำเร็จในทุนนิยมเสรีนิยมใหม่ในบริบทเอเชีย การวิ่งตามความฝันสามารถอาศัยแค่ความมุ่งมั่นและพยายามส่วนบุคคลได้จริงหรือ เราปรารถนาให้ด้านสว่างของระบบทุนนิยมฉายมาที่เราทุกครั้งราวกับถูกรางวัลที่หนึ่งติดกันซ้ำแล้วซ้ำอีกได้หรือไม่

รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี
Futurism

เพราะเราต่างมีส่วนสร้างพลเมือง ประชาธิปไตยจะไม่ใช่แค่วิชาสังคม

Reading Time: 2 minutes Decode สรุปความจากวงเสวนา ‘พลเมืองประชาธิปไตยและพลังขับเคลื่อนสังคมของเยาวชน (Democratic Citizens and Civic Engagement of the Youth)’ ช่วงที่ 2 นิเวศการเรียนรู้ความเป็นพลเมือง ซึ่งจัดขึ้นโดย มูลนิธิการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองไทย (Thai Civic Education Foundation ร่วมกันกับภาคีเครือข่าย เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน ณ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ภาวิณี คงฤทธิ์
Futurism

ห้องเรียนของ“หน้าที่” แต่ไม่มี “สิทธิ” ของพลเมือง

Reading Time: 2 minutes เวทีเสวนา “พลเมือง ประชาธิปไตย และความเป็นธรรมทางสังคม” ที่จัดขึ้นกลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา นิ้ง-ธญานี เจริญกูล กลุ่มนักเรียนเลว และ มายมิ้น-ศุกรียา วรรณายุวัฒน์ นิสิตคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตอบเปิดเวทีในทิศทางเดียวกันว่า ความเป็นธรรมคือการที่ทุกคนมีสิทธิ์เท่ากัน ขณะเดียวกันก็ได้รับการคุ้มครองสิทธิ์นั้นเช่นกัน ทั้งสองร่วมเวทีท่ามกลาง “ครู” ในโรงเรียน และมหาวิทยาลัย

กัลยาวีร์ แววคล้ายหงษ์
Futurism

ไรเดอร์รวมตัว (อีกครั้ง) ขอกฎหมายดูแลชีวิตและสวัสดิภาพ “แรงงานแพลตฟอร์ม”

Reading Time: 2 minutes “ไรเดอร์” เข้าพบคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน และตัวแทนจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน เพื่อยื่นหนังสือ และเรียกร้องสิทธิ์การคุ้มครองสวัสดิการการทำงานผ่านระบบแพลตฟอร์มที่ตอนนี้ยังไม่มีการดูและและคุ้มครองที่เป็นธรรม โดยเฉพาะในทางกฎหมาย

กัลยาวีร์ แววคล้ายหงษ์
Futurism

พร 3 ข้อของแม่บ้านดีลิเวอรี่

Reading Time: 2 minutes “แม่บ้านเดลิเวอรี่” พวกเธอคือยักษ์ในตะเกียงวิเศษ กับพรสามข้อเรื่องสวัสดิการของตัวเอง แรงงานแพลตฟอร์ม (platform labor) เป็นแรงงานกลุ่มที่กำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในภาวะที่เศรษฐกิจถดถอยและขณะที่เกิดการว่างงานหรือการทำงานต่ำกว่าระดับ (underemployment) สูงเช่นในปัจจุบัน

ดร.เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร
Futurism

รัฐราชการพันลึก ทับซ้อนซ่อนเงื่อน(ไข)ว่าด้วยเรื่องการจ้างงานแบบภาครัฐไทย

Reading Time: 3 minutes Decode ชวน ผศ.ดร.วสันต์ เหลืองประภัสร์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาย้อนที่มาของระบบการจ้างงานข้าราชการและปัญหาการจ้างงานแบบกึ่งราชการ ไปจนถึงถอดรหัสเงื่อนไขในการปฏิรูประบบราชการไทยว่าทำไมแม้เราจะมีความพยายามปฏิรูประบบนี้แค่ไหนแต่ยังไงก็ไม่สำเร็จสักที ปิดท้ายด้วยการเสนอหนทางปฏิรูปราชการที่สามารถทำได้จริงในระบบที่ขึ้นชื่อได้ว่ามีความต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงสูงมาก

ภาวิณี คงฤทธิ์
Futurism

เครือข่ายคืออำนาจ เข้าใจอิทธิพลของแพลตฟอร์มดิจิทัลลอย่างรอบด้าน

Reading Time: 2 minutes ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา สังคมไทยได้เห็นการเจริญเติบโตอย่างก้าวกระโดดของธุรกิจแพลตฟอร์ม เช่นการเติบโตของแพลตฟอร์มเดลิเวอรีในเขตเมือง ภาพของไรเดอร์ส่งอาหารกลายเป็นภาพชินตา ฝูงชนของพนักงานเดลิเวอรี่หลากสีกลายเป็นส่วนหนึ่งของภูมิทัศน์ของเมืองใหญ่

ดร.เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร
Futurism

นัดหยุดงาน-บอยคอตเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงทั่วประเทศ ยกระดับการสร้างประชาธิปไตยและรัฐสวัสดิการถ้วนหน้า

Reading Time: < 1 minute การนัดหยุดงานจำเป็นต้องมาพร้อมกับข้อเรียกร้อง ซึ่งคือการเปลี่ยนประเด็นปากท้องในชีวิตประจำวันสู่การเป็นประเด็นทางการเมือง ซึ่งมวลชนมีความยืดหยุ่นมากกว่ารัฐ มีความสามารถในการสื่อสารระหว่างกันได้ดีกว่ารัฐ และที่สำคัญมีประสบการณ์ร่วมต่อปัญหาทางเศรษฐกิจแบบเดียวกันและเหนียวแน่นระหว่างกัน

รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี
Futurism

รุ่งอรุณของคอซอง กระโปรงบานบนจุดนัดพบซอย‘นมสด’ GIRLS! Let’s speak out! เปล่งเสียง! ปลุกการเมืองให้ตื่นขึ้น เดบิวต์ครูในศตวรรษที่ 21

Reading Time: 4 minutes อาจจะถึงเวลาแล้วที่เราทั้งสังคมต้องตั้งคำถามกับสิ่งที่เกิดขึ้น ว่าภายใต้ดีกรีความโกรธที่ทะลุปรอทแตกของนักเรียนไทย แท้จริงแล้วพวกเขากำลังเผชิญหน้ากับสิ่งใดในพื้นที่(เคย)ปลอดภัยอย่างโรงเรียน Decode เดินทางไปยังโรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อพูดคุยกับ เอ๋-วารุณี ทองอุ่น ผู้ก่อตั้งกลุ่ม บร.ไม่ง้อเผด็จการ หนึ่งในแนวร่วมกลุ่ม sisterhood ที่ขับเคลื่อนประเด็นสิทธิเสรีภาพของนักเรียนหญิงและกลุ่ม LGBTQI เอ๋ย้อนให้เราฟังถึงอะไรคือสิ่งที่ ‘นักเรียนหญิงไทย’ รวมไปถึง ‘ลูกสาวไทย’ ในวันนี้ต้องเจอ และความโกรธจากการโดนละเมิดสิทธิ์จุดประกายอะไรในตัวพวกเธอ พร้อมทั้งมองไปหาอนาคตที่รอบนี้พวกเธอขอเป็นคนกำหนดเองว่า โรงเรียนในฝันของนักเรียนสมัยนี้ควรเป็นอย่างไร

ภาวิณี คงฤทธิ์
Futurism

เพราะ…นักรบมีพื้นที่มากกว่านักการทูตในประวัติศาสตร์ไทย “เดี่ยว ธงชัย”ผู้หลงใหลประวัติศาสตร์ แต่ไม่หลงรักอย่างที่ควรจะเป็น

Reading Time: 3 minutes “ผมว่าการเปลี่ยนแปลงทุกครั้งมีความขัดแย้ง ที่ไหนมีความขัดแย้ง ที่นั่นคือที่ที่มีชีวิต ความขัดแย้งมันอยู่ในตัวเราตลอด ที่ไหนไม่มีความขัดแย้งที่นั่นคือตายแล้ว” ฟังเผิน ๆ หลายคนอาจจะตีความว่าประโยคนี้คงหนีไม่พ้นซ่อนประเด็นการเคลื่อนไหวทางการเมือง ที่กำลังร้อนแรงทะลุปรอทอยู่ขณะนี้เป็นแน่ แต่ไม่ใช่สำหรับ “ธงชัย อัชฌายกชาติ” หรือ เดี่ยว นักศึกษาชั้นปี 1 สาขาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่กำลังสะท้อนให้เห็นว่า เหตุใดการเปิดพื้นที่ให้ถกเถียงในห้องเรียนประวัติศาสตร์จึงควรเกิดขึ้น ไม่เช่นนั้นก็เท่ากับเป็นห้องเรียนที่รอการหายไปเท่านั้น

สมิตานัน หยงสตาร์
Futurism

สำรวจ “ของเถื่อนในม็อบ” ประเด็นใต้ดินที่อยากทำให้ถูกกฎหมาย

Reading Time: 2 minutes ของเถื่อน คือ อะไร? ของเถื่อนที่เราว่านั้น มันคือประเด็นใต้ดิน ประเด็นที่สังคมไทย “ปากว่าตาขยิบ” ตั้งแต่เรื่องทำแท้ง พนักงานขายบริการ ไปจนกระทั่งการพูดถึงรสชาติเครื่องดื่มบางชนิด วันนี้ในการชุมนุมหลาย ๆ ครั้ง ประเด็นข้างเคียงข้อเรียกร้องบนเวทีเรายังเห็นประเด็นเหล่านี้ที่คนรุ่นใหม่ต้องการทำให้ดีขึ้นในเชิงกฎหมาย หรือทำให้มันถูกกฎหมาย (Legalise) เพื่อที่ว่าทุกที่อยู่แวดล้อมในวงนี้…จะได้รับสิทธิ์การคุ้มครองอย่างเต็มที่ ของเถื่อน 01: Sex Worker “สิ่งที่ยากที่สุดในการต่อสู้เรื่องนี้คือการสู้กับความเชื่อของคนที่เชื่อว่างานนี้เป็นการลดทอนศักดิ์ศรี ซึ่งไม่ใช่ศักดิ์ของคนทำงาน แต่คือศักดิ์ศรีภาพรวมของประเทศ เราต้องการให้เข้าใจสิทธิความเป็นมนุษย์มากกว่าการรักษาภาพลักษณ์ของประเทศ ประเทศของเรายังอยู่ในกรอบผู้หญิงดี ถ้าเราพ้นกรอบนี้มาได้ประเด็นการต่อสู้ของเราน่าจะรอด” ชัชลาวัณย์ เมืองจันทร์ ตัวแทนกลุ่ม sex worker บอกเล่าถึงความต้องการที่อยากเห็นอาชีพนี้และคนในสังคมมีส่วนร่วมลงชื่อเสนอร่างยกเลิก  พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 จำนวน 10,000 รายชื่อ เพื่อให้งานขายบริการไม่ผิดกฎหมาย จากอยู่ใต้พรมเป็นขึ้นมามีสิทธิเท่าเทียมกับแรงงานคนอื่น ๆ นายจ้างจะได้ไม่เอาเปรียบ ไม่เอาเงินไปหักส่วย ไม่ถูกล่อซื้อ ไม่ต้องถูกจับ ซึ่งทุกวันนี้ยังมีการล่อซื้ออยู่แต่ไม่มีข่าวให้เห็นมากนัก ส่วนใหญ่พวกเขาทำงานที่ บาร์ คาราโอเกะ และอาบอบนวด มีทั้งคนไทยและคนต่างชาติ รวมกลุ่มกันมากว่า 20 ปีแล้ว […]

Decode