วีรพร นิติประภา Archives - Decode

TAG วีรพร นิติประภา
Lorem ipsum dolor sit amet.

Gender & Sexuality

วาระแห่งความภาคภูมิในตัวเอง 

Reading Time: 2 minutesประเทศเต็มไปด้วยคำตอบอันปราศจากคำถาม วีรพร นิติประภา มิถุนายนถูกถือว่าเป็นเดือน Pride หรือเดือนแห่งความภาคภูมิในตัวเองของผู้มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งมีการจัดขบวนพาเหรดเดินและงานเฉลิมฉลองในหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย แต่น้อยคนจะรู้ว่างานนี้มีจุดเริ่มต้นมาจากการเรียกร้องทางการเมืองที่น่าสนใจมากครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ เรื่องทั้งหมดเริ่มจากเหตุการณ์ที่ถูกเรียกภายหลังว่า Stonewall Riots หรือจราจลสโตนวอลล์ ย่านกรีนนิชวิลเลจ ในนิวยอร์กซิตี้ วันที่ 28 เดือนมิถุนายน–3 กรกฎาคม ปี 1969 …กว่าครึ่งศตวรรษมาแล้ว การปะทะจราจลครั้งนี้ไม่ใช่ความขัดแย้งครั้งแรกระหว่างทางการอเมริกันกับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ ในช่วงทศวรรษที่ 60s ก็มีการชุมนุมเรียกร้องของนักเคลื่อนไหว LGBT ตามหัวเมืองใหญ่ทั่วอเมริกามาตลอด พักนึกภาพตามสักนิดก่อน แรกเริ่มเดิมทีก่อนหน้าหลายพันปี การเป็นคนรักเพศเดียวกันได้รับการต่อต้านจากคริสตจักรมาตลอด ไม่เพียงแต่คนที่รักเพศเดียวกันจะถูกตราหน้าว่าเป็นคนบาป ในหลายประเทศนี่ยังเป็นเรื่องผิดกฎหมาย และมีโทษตั้งแต่จำคุกไปจนถึงประหารชีวิต (ปัจจุบันยังมีการลงโทษรุนแรงในหลายประเทศมุสลิมอยู่) จนมาถึงทศวรรษที่ 60s คนที่แสดงตัวเป็นเกย์  เลสเบี้ยน แดรกควีน ทอมบอยหรือข้ามเพศก็ยังถูกกีดกัน ทั้งโอกาสงาน การเช่าบ้าน กระทั่งการเข้าคลับ บาร์ สถานบันเทิงทั่วไป เรียกว่าเป็น ’คนนอก’ และไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม ที่ที่คนเหล่านี้สามารถพบปะสังสรรค์กันจึงต้องเป็นบาร์เฉพาะ และบาร์เฉพาะหรือบาร์เกย์เหล่านี้ก็เป็นบาร์ใต้ดินหรือบาร์เถื่อนด้วย เนื่องจากไม่ได้รับสิทธิ์ให้จดทะเบียนดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมายมาแต่ต้น วนเป็นงูกินหาง …และบาร์สโตนวอลล์ อินที่ว่าก็เป็นหนึ่งในนั้น นิวยอร์กในเวลานั้นก็เป็นเมืองที่มีประชากรผู้มีความหลากหลายทางเพศอยู่จำนวนมาก และการที่ตำรวจจะบุกจับและปิดบาร์เถื่อนแบบนี้ก็เป็นเหตุประจำวันอยู่แล้ว ส่วนใหญ่ก็ด้วยข้อหาไม่มีใบอนุญาตขายสุรา แต่เที่ยงคืนวันที่ 28 มิถุนายนปีนั้นดูเหมือนตำรวจจะใช้ความรุนแรงกับบรรดาแขกของบาร์สโตนวอลล์เกินความจำเป็นไปสักหน่อย โดยมีการใช้กระบองตีผู้หญิงและหญิงข้ามเพศ แต่หลังจากจับคนหลายร้อยคนไปแล้ว เรื่องก็กลับไม่จบลงแค่นั้น มีผู้คนเริ่มเข้ามาชุมนุมรอบ ๆ บาร์เพิ่ม และเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จากหลักร้อยเป็นหลายพัน มีการเรียกร้องให้ผู้หลากหลายทางเพศเปิดเผยตัวตน และเข้าร่วมชุมนุม การประท้วงยืดเยื้อหลายวัน มีความรุนแรงน้อยใหญ่เกิดขึ้นประปราย และการประท้วงครั้งนั้นเป็นชนวนนำมาซึ่งการเดินขบวนประท้วงของกลุ่ม LGBT ทั่วประเทศอีกหลายครั้ง ซึ่งนำไปสู่การเรียกร้องการได้รับยอมรับในฐานะประชากรที่เท่าเทียมในทางกฎหมายทั่วอเมริกา และลามไปยังยุโรปกับประเทศอื่น ๆ ในเวลาต่อมา รายละเอียดเรื่องนี้สามารถหาอ่านได้ในวิกิพีเดียและเว็บต่าง ๆ ได้ แต่แก่นสารของเรื่องไม่ได้อยู่ที่จราจลที่นั่นวันนั้น  หรือกระทั่งการต่อสู้ในเวลาต่อมา หากอยู่ที่การเปิดเผยตัวตนและปฏิเสธที่จะหลบซ่อนของคนที่มีความหลากหลายทางเพศต่างหาก และนั่นก็เป็นที่มาของคำว่าไพรด์ …การยอมรับตัวเองอย่างภาคภูมิ และหลังจากนั้นเมื่อมีการรำลึกถึงเหตุการณ์ในเวลาต่อมาจึงเรียกงานนี้ว่าไพรด์ จากคนไม่กี่คนที่มารวมตัวหน้าบาร์สโตนวอลล์ในปีถัดมา  งานไพรด์ค่อย ๆ ขยายกลายมาเป็นพาเหรดประจำปีของคนนับหมื่นนับล้านตามเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อเฉลิมฉลองการเปิดเผยตัวตน เพื่อแสดงความภาคภูมิในตัวเอง เพื่อกระตุ้นให้ผู้คนมีชีวิตที่เป็นตัวเองและเลิกหลบซ่อนปิดบัง นับแต่นั้นการเป็นผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ LGBT […]

วีรพร นิติประภา

วาระแห่งความภาคภูมิในตัวเอง 

Reading Time: 2 minutesประเทศเต็มไปด้วยคำตอบอันปราศจากคำถาม วีรพร นิติประภา มิถุนายนถูกถือว่าเป็นเดือน Pride หรือเดือนแห่งความภาคภูมิในตัวเองของผู้มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งมีการจัดขบวนพาเหรดเดินและงานเฉลิมฉลองในหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย แต่น้อยคนจะรู้ว่างานนี้มีจุดเริ่มต้นมาจากการเรียกร้องทางการเมืองที่น่าสนใจมากครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ เรื่องทั้งหมดเริ่มจากเหตุการณ์ที่ถูกเรียกภายหลังว่า Stonewall Riots หรือจราจลสโตนวอลล์ ย่านกรีนนิชวิลเลจ ในนิวยอร์กซิตี้ วันที่ 28 เดือนมิถุนายน–3 กรกฎาคม ปี 1969 …กว่าครึ่งศตวรรษมาแล้ว การปะทะจราจลครั้งนี้ไม่ใช่ความขัดแย้งครั้งแรกระหว่างทางการอเมริกันกับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ ในช่วงทศวรรษที่ 60s ก็มีการชุมนุมเรียกร้องของนักเคลื่อนไหว LGBT ตามหัวเมืองใหญ่ทั่วอเมริกามาตลอด พักนึกภาพตามสักนิดก่อน แรกเริ่มเดิมทีก่อนหน้าหลายพันปี การเป็นคนรักเพศเดียวกันได้รับการต่อต้านจากคริสตจักรมาตลอด ไม่เพียงแต่คนที่รักเพศเดียวกันจะถูกตราหน้าว่าเป็นคนบาป ในหลายประเทศนี่ยังเป็นเรื่องผิดกฎหมาย และมีโทษตั้งแต่จำคุกไปจนถึงประหารชีวิต (ปัจจุบันยังมีการลงโทษรุนแรงในหลายประเทศมุสลิมอยู่) จนมาถึงทศวรรษที่ 60s คนที่แสดงตัวเป็นเกย์  เลสเบี้ยน แดรกควีน ทอมบอยหรือข้ามเพศก็ยังถูกกีดกัน ทั้งโอกาสงาน การเช่าบ้าน กระทั่งการเข้าคลับ บาร์ สถานบันเทิงทั่วไป เรียกว่าเป็น ’คนนอก’ และไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม ที่ที่คนเหล่านี้สามารถพบปะสังสรรค์กันจึงต้องเป็นบาร์เฉพาะ และบาร์เฉพาะหรือบาร์เกย์เหล่านี้ก็เป็นบาร์ใต้ดินหรือบาร์เถื่อนด้วย เนื่องจากไม่ได้รับสิทธิ์ให้จดทะเบียนดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมายมาแต่ต้น วนเป็นงูกินหาง …และบาร์สโตนวอลล์ อินที่ว่าก็เป็นหนึ่งในนั้น นิวยอร์กในเวลานั้นก็เป็นเมืองที่มีประชากรผู้มีความหลากหลายทางเพศอยู่จำนวนมาก และการที่ตำรวจจะบุกจับและปิดบาร์เถื่อนแบบนี้ก็เป็นเหตุประจำวันอยู่แล้ว ส่วนใหญ่ก็ด้วยข้อหาไม่มีใบอนุญาตขายสุรา แต่เที่ยงคืนวันที่ 28 มิถุนายนปีนั้นดูเหมือนตำรวจจะใช้ความรุนแรงกับบรรดาแขกของบาร์สโตนวอลล์เกินความจำเป็นไปสักหน่อย โดยมีการใช้กระบองตีผู้หญิงและหญิงข้ามเพศ แต่หลังจากจับคนหลายร้อยคนไปแล้ว เรื่องก็กลับไม่จบลงแค่นั้น มีผู้คนเริ่มเข้ามาชุมนุมรอบ ๆ บาร์เพิ่ม และเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จากหลักร้อยเป็นหลายพัน มีการเรียกร้องให้ผู้หลากหลายทางเพศเปิดเผยตัวตน และเข้าร่วมชุมนุม การประท้วงยืดเยื้อหลายวัน มีความรุนแรงน้อยใหญ่เกิดขึ้นประปราย และการประท้วงครั้งนั้นเป็นชนวนนำมาซึ่งการเดินขบวนประท้วงของกลุ่ม LGBT ทั่วประเทศอีกหลายครั้ง ซึ่งนำไปสู่การเรียกร้องการได้รับยอมรับในฐานะประชากรที่เท่าเทียมในทางกฎหมายทั่วอเมริกา และลามไปยังยุโรปกับประเทศอื่น ๆ ในเวลาต่อมา รายละเอียดเรื่องนี้สามารถหาอ่านได้ในวิกิพีเดียและเว็บต่าง ๆ ได้ แต่แก่นสารของเรื่องไม่ได้อยู่ที่จราจลที่นั่นวันนั้น  หรือกระทั่งการต่อสู้ในเวลาต่อมา หากอยู่ที่การเปิดเผยตัวตนและปฏิเสธที่จะหลบซ่อนของคนที่มีความหลากหลายทางเพศต่างหาก และนั่นก็เป็นที่มาของคำว่าไพรด์ …การยอมรับตัวเองอย่างภาคภูมิ และหลังจากนั้นเมื่อมีการรำลึกถึงเหตุการณ์ในเวลาต่อมาจึงเรียกงานนี้ว่าไพรด์ จากคนไม่กี่คนที่มารวมตัวหน้าบาร์สโตนวอลล์ในปีถัดมา  งานไพรด์ค่อย ๆ ขยายกลายมาเป็นพาเหรดประจำปีของคนนับหมื่นนับล้านตามเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อเฉลิมฉลองการเปิดเผยตัวตน เพื่อแสดงความภาคภูมิในตัวเอง เพื่อกระตุ้นให้ผู้คนมีชีวิตที่เป็นตัวเองและเลิกหลบซ่อนปิดบัง นับแต่นั้นการเป็นผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ LGBT […]

วีรพร นิติประภา
วีรพร นิติประภา

กาลครั้งหนึ่ง…พระเคยเป็นยิ่งกว่าเพื่อน

Reading Time: < 1 minuteวีรพร นิติประภา ชวนสำรวจฉากใหม่ของพระสงฆ์และพุทธไทย การมีอยู่ของพระในฐานะอวตาร ภาษาเทพ และเซฟเฮาส์ผ้าเหลือง ในกาลครั้งหนึ่ง … ที่พระเคยเป็นยิ่งกว่าเพื่อน

วีรพร นิติประภา
วีรพร นิติประภา

ปัตตานีดีโค้ดเด็ด: เทศกาลที่เป็นยิ่งกว่าสำนึกรักบ้านเกิด

Reading Time: 3 minutesPattani Decoded เป็นเทศกาลประจำ 2 ปี แต่ละครั้งธีมหลักจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ โดยมีเนื้อหาว่าด้วยเรื่องแวววาวต่างๆ ของเมืองปัตตานี …เมืองแวววาวที่แวววาวจนต้องหรี่ตาเวลาพูดถึง ซึ่งคนนอกแทบไม่รู้ว่ามีอยู่เบื้องหลังข่าวที่ว่าแต่เรื่องความขัดแย้งและความรุนแรงซ้ำซาก 

วีรพร นิติประภา
วีรพร นิติประภา

ประเทศที่เลือนหายไปจากแผนที่โลก 

Reading Time: < 1 minuteทุกการก้าวกระโดดของแต่ละประเทศล้วนแล้วแต่ข้ามหัวประเทศไทยไป ‘วีรพร นิติประภา’ ชวนสำรวจโรคทุพลภาพทางสังคม ที่กำลังจะพาประเทศไทยเลือนหายไปจากแผนที่โลก

วีรพร นิติประภา
วีรพร นิติประภา

โครงสร้างแห่งความจำนน

Reading Time: < 1 minuteการไม่พูดไม่ส่งเสียงของเรายังทำให้เราเป็นประชากรที่ยอมจำนนได้อย่างน่าทึ่ง เรารถติดไปทำงานวันละหลายชั่วโมง เคยชินและคิดเอาเองว่าเป็นเรื่องแก้ไขไม่ได้ ในขณะที่ทั่วโลกแก้ไขปัญหานี้เสร็จจบกันไปหลายทศวรรษแล้ว 

วีรพร นิติประภา
วีรพร นิติประภา

งานที่ให้ผลตอบแทนทางใจ

Reading Time: < 1 minuteการหมกมุ่นทุ่มเทสร้างสรรค์ต่างหากที่จะทำให้เรารู้สึกถึงความสามารถ คุณค่าของเรา และการได้ทำสิ่งที่ชอบต่างหากที่ทำให้เราเพลิดเพลินเจริญใจ ไม่เบื่อหน่าย …ซังกะตาย การทำสิ่งหนึ่งยาวนานพอยังช่วยให้เราค้นพบข้อจำกัด ความเปราะบาง ความเข้มแข็ง รวมทั้งศักยภาพที่ซ่อนเร้นอยู่ของตัวเอง

วีรพร นิติประภา
วีรพร นิติประภา

พื้นที่สาธารณะของบางกอก

Reading Time: < 1 minuteประเทศเต็มไปด้วยคำตอบอันปราศจากคำถาม วีรพร นิติประภา เมืองคือที่ผู้คนอยู่อาศัยร่วมกัน  หัวใจของเมืองจึงอยู่ที่พื้นที่สาธารณะหรือพื้นที่ที่ไม่ใช่ของใครคนใดแต่เป็นของทุกคน  ไม่ใช่บ้านเรือนส่วนตัวของใครของมัน สำหรับคนชั้นกลางในกรุงเทพฯ ที่มีรายได้มากพอจะมีที่อยู่อาศัยกว้างขวางสักหน่อย …ไม่ต้องใหญ่ มีเงินเหลือพอท่องเที่ยวใกล้ไกลบ้าง …ไม่ต้องบ่อย หรือมีรายได้มากพอจะขับรถยนต์ส่วนตัวขับไปกินอาหารตามร้านชานเมืองหรือริมน้ำ …บางครั้ง พื้นที่สาธารณะอาจไม่มีความสำคัญมากนัก แต่คนจำนวนมากของกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นหนึ่งเมืองประชากรมากที่สุดในโลก นอกจากจะใช้ชีวิตประจำวันในพื้นที่จอแจพลุกพล่าน เดินทางโดยรถโดยสารยัดเยียดแออัด มีความสามารถเช่าพักที่อาศัยได้แค่ห้องเล็ก ๆ คับแคบ และหลายคน…ห้องที่ว่ายังใช้อาศัยร่วมกันทั้งครอบครัวจนล้น มิหนำซ้ำยังซ่อนอยู่ในกลางชุมชนแออัดทั้งแนวตั้งและแนวนอน …พวกเขาไม่มีรายได้มากพอจะเดินทางออกไปสูดอากาศหรือหย่อนใจที่ไหน พื้นที่สาธารณะที่มีไม่มากนักเมื่อเทียบกับอัตราประชากรจึงเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานด้วยซ้ำ มันสำคัญยิ่งยวดต่อสุขภาวะทางกายและใจ และเป็นสิ่งเหลือหล่อเลี้ยงยืนยันความเป็นมนุษย์ก็ว่าได้ ไม่ใช่แค่ที่ให้หย่อนใจซึ่งฟังดูหรูหราและไม่มีความจำเป็น พื้นที่สาธารณะในเมืองส่วนใหญ่คือทางเท้า ซึ่งก็แคบ ๆ  เป็นคอนกรีตเปลือยร้อน ๆ ใกล้ย่านชุมชนก็จะทั้งพลุกพล่านและสกปรก ไม่มีที่ให้นั่งพักเวลาเมื่อยด้วยซ้ำอย่าว่าแต่หย่อนใจ แถมยังทอดขนาบไปกับถนนจอแจที่รถติดขนัดเกือบทุกเส้น และเต็มไปด้วยควันไอเสีย พื้นที่ว่างอย่างลานคอนกรีตหรือสนามหญ้าตามหน้าอาคารก็ไม่ใช่พื้นที่สาธารณะ แต่เป็นสิทธิ์ของทั้งเอกชนและราชการ ซึ่งก็ปล่อยว่างไว้เพียงเพื่อให้สถานที่ดูร่มรื่นสวย กับสงวนไว้ใช้จัดกิจกรรมส่วนตัวเท่านั้น และมีรักษาความปลอดภัยคอยตรวจตราดูแลไม่ให้คนเข้าไปนั่งเล่นหย่อนใจ พื้นที่สาธารณะจริง ๆ จึงเหลือแค่สวนสาธารณะ ที่มีพื้นที่โล่งกว้างกับต้นไม้ใหญ่หน่อยก็มีสวนลุมพินี สวนเบญจกิตติ สวนรถไฟ สวนสราญรมย์ สวนรมณีนาถ สวนปทุมวนานุรักษ์ที่เพิ่งเปิดใหม่ กับที่น่าตื่นใจและเป็นความหวังของชาวกรุงคืออุทยานเฉลิมพระเกียรติที่ยังไม่เสร็จเปิดที่สนามม้านางเลิ้งเดิม ซึ่งสวนเหล่านี้จะว่าเข้าถึงได้ง่ายก็ง่ายเพราะอยู่ใจกลางเมือง จะว่ายากก็ยากเพราะล้อมรอบด้วยรถติดหนัก และจะว่าไปยังขาดแคลนอากาศหายใจ ส่วนสวนหลวงร.เก้า พุทธมณฑล สวนพฤกษชาติคลองจั่น สวนศรีนครเขื่อนขันธ์บางกระเจ้า ที่ร่มรื่นกว่ามากและอากาศดีก็ห่างไกล กับจะสะดวกต่อการไปมาก็ต่อเมื่อมีพาหนะส่วนตัว พื้นที่ริมน้ำนอกจากสวนสันติไชยปราการซึ่งไม่ใหญ่นักก็นึกไม่ออกว่ามีที่ไหนอีก สวนที่เหลือก็เป็นแค่ส่วนหย่อมเล็ก ๆ และไม่มีต้นไม้ใหญ่ทั่วไปตรงนั้นตรงนี้ โดยรวมการดูแลบำรุงรักษาสวนสาธารณะของ กทม.ยังต้องขอบอกว่าไม่ดีเท่าไหร่นัก  ต้นไม้แคระแกร็น ไม่ใคร่สมบูรณ์ สนามกีฬาใหญ่มีที่ปทุมวัน หัวหมาก และไทย-ญี่ปุ่นดินแดง ทั้งสามแห่งมีพื้นที่ว่างโดยรอบที่ให้เข้าไปใช้สอยหย่อนใจได้พอควร แต่ก็ยังน้อยแห่งเกินไป นอกจากนั้นก็มีวัดวาต่าง ๆ ที่มีที่นั่งและพื้นที่ให้ญาติโยมเข้าไปใช้ได้ แต่ความที่เป็นสถานศักดิ์สิทธิ์รวมทั้งยังเป็นสถานฌาปนกิจตั้งสวด ก็อาจทำให้ไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าที่ควร นอกจากนั้นก็มีห้องสมุดสาธารณะ ซึ่งก็มีหลายแห่งมาก ๆ แต่เท่าที่เคยผ่านไปไม่กี่แห่งก็ต้องยอมรับว่าไม่น่าประทับใจนัก ขนาดเล็กจ้อย หนังสือก็มีไม่กี่เล่ม ไม่น่าสนใจและเก่า หนังสือวิชาการ ความรู้ และวรรณกรรมน้อยมากทั้งที่ห้องสมุดสาธารณะคือสถานพัฒนา เพิ่มพูนความรู้ และเกื้อกูลชดเชยให้กับคนด้อยโอกาสทางการศึกษา เห็นได้ชัดว่าได้รับทุนอุดหนุนน้อย และไม่มีเจตจำนงแข็งแรงในการบริหารจัดการ มองจริงจังจะพบว่าเรามีพื้นที่สาธารณะในเมืองไม่น้อยโดยเฉพาะพื้นที่กลางแจ้ง แต่ผู้คนกลับใช้สอยไม่มากเท่าที่ควร ด้วยเหตุไม่กี่เหตุ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งก่อสร้างใหญ่จำนวนมากที่ทำให้ตัวเมืองเก็บความร้อน ปัญหาจราจรที่ไม่เคยแก้ไขได้จริงจัง ซึ่งทำให้พื้นที่สาธารณะกลายเป็นพื้นที่เปิดสำหรับมลภาวะอย่างหนักทั้งเสียงและอากาศ  รวมทั้งใช้เวลานานกว่าจะไปถึง กับขนส่งมวลชนไม่ทั่วถึงที่ทำให้การเข้าถึงพื้นที่สาธารณะเป็นไปได้ยากลำบากเกินไป เป็นเรื่องน่าตกใจไม่น้อยที่เมื่อมองลงไปจะพบว่าคุณภาพเมือง คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ สุขภาพทางกายและใจ ของคนนับสิบล้าน ตามทะเบียนราษฎร์และอาจมีจำนวนอยู่จริงมากกว่านั้นถึงเท่าตัวของเมืองขนาดเมกก้า  ตกต่ำและผุกร่อนจากปัญหาแค่ผังเมืองที่ยังคงขยายตัวไร้ระเบียบ การบริหารจัดการการจราจรและขนส่งมวลชน …ซึ่งไม่มีปัญหาใด ๆ ในโลกที่หากแก้ไขจริงจังจะแก้ไขไม่ได้

วีรพร นิติประภา
วีรพร นิติประภา

ซอฟต์พาวเวอร์ในบรรพกาล

Reading Time: < 1 minuteพอเห็นรัฐบาลที่ผ่านมาและรัฐบาลนี้ออกอาการตื่นซอฟต์พาวเวอร์กันอย่างหนักก็เลยพานนึกถึงเรื่องนี้ขึ้นมา และชวนคุยเล่นว่าอะไรเหล่านี้ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ ว๊าวแต่อย่างใด

วีรพร นิติประภา
วีรพร นิติประภา

‘ผ้าอนามัย’ ปราการสุดท้ายแห่งความเท่าเทียม

Reading Time: < 1 minuteความสามารถที่ผู้หญิงถูกผลักให้ต้องรับภาระนั่นแอง ที่กลายมาเป็นจุดเริ่มต้นของการตระหนักในความสามารถที่เท่าเทียม และก่อเกิดขบวนการเรียกร้องสิทธิสตรี

วีรพร นิติประภา
วีรพร นิติประภา

ความป่วยไข้แห่งยุคสมัย

Reading Time: < 1 minuteทุกการเสพติดจะต้องมีความสนุกหรือความรู้สึกดีอย่างเป็นผลลัพธ์  ซึ่งทำให้ติดง่ายโดยเฉพาะสิ่งที่สามารถให้ความรู้สึกดี ๆ เข้มข้น ไม่ว่าเหล้า ยา การทำงาน เซ็กซ์ การพนัน  ศัลยกรรม และอำนาจ ในประการนี้คงพอจะมองเห็นได้ว่าคนที่ติดกับการเสพติดทุกอย่างมักจะเป็นคนที่มีชีวิตไม่สนุก หรือเป็นทุกข์ เจ้าทุกข์ มีปัญหาบางอย่าง และเป็นคนที่ไม่ค่อยมีอะไรน่าสนใจนักในชีวิตให้ยึดเหนี่ยวเป็นทุน

วีรพร นิติประภา
วีรพร นิติประภา

เรียนความเป็น ‘คน’ จากมนุษย์กลายพันธุ์

Reading Time: < 1 minuteโปรดเข้าใจว่าหากเขาเข้าใจแก่นสารของการเรียนรู้ …อะไรก็หยุดยั้งเขาไม่ได้ และการสนใจใฝ่เรียนรู้จะอยู่เขาไปตลอดชีวิต เขาจะไม่หยุดนิ่ง เขาจะไม่คิดว่าเขารู้ทุกอย่าง เขาจะมีความกระหายใคร่รู้ติดตัวให้เรียนรู้ต่อไปได้ตลอดชีวิต

วีรพร นิติประภา