Economy Archives - Decode

CATEGORY Economy
Lorem ipsum dolor sit amet.

Economy

ปัจเจกเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ (ไม่) เป็นธรรม

Reading Time: < 1 minute การแยก “การสร้างสรรค์” ออกจาก “การผลิต” ก็คือกลไกสำคัญที่จัดลำดับชั้นและแบ่งแยกแรงงานภายในสังคมหนึ่ง ๆ กลไกดังกล่าวนี้เองได้ทำหน้าที่ค้ำยันความเหลื่อมล้ำสารพัดแบบเอาไว้ และเป็นเครื่องมือในการปลอบประโลมความล้มเหลวผ่านการที่ผู้คนที่ล้มเหลวในระบบต้องหัดโทษตัวเองว่า สาเหตุของความล้มเหลวเกิดจากพวกเขาสร้างสรรค์ไม่พอ หรือไม่มีความคิดสร้างสรรค์ด้วย  

เก่งกิจ กิติเรียงลาภ
Economy

ปริศนาหน้าฟาร์มถึงหน้าเขียง ใครคุมราคาหมู

Reading Time: 7 minutes หลังการแพร่ระบาดของโรค ASF(อหิวาก์ตกโรคหมู) ในปี 2565 และการจับกุมหมูเถื่อนตั้งแต่ 2564-ปัจจุบัน กว่า 5 ล้านตันเป็นอย่างต่ำ จำนวนเกษตรกรที่หดหาย เพราะเสียหายหนักจากโรค ยิ่งโดนกระหน่ำซ้ำด้วยราคาขายที่ต่ำลง ในขณะที่ต้นทุนมีแต่จะแพงขึ้นทุกวัน หมูแพง เป็นเพียงฉากหน้าของการสั่นคลอนความมั่นคงทางอาหารของคนไทย เมื่อ 1 ใน 3 ของเนื้อสัตว์ที่คนไทยบริโภคมากที่สุดกำลังเผชิญปัญหากับการกินรวบที่อาจทำให้คนเลี้ยง คนขาย และคนกิน อาจต้องบริโภคหมูในราคามากกว่า 300 บาทก็เป็นได้ถ้าเรายังรู้ว่าหน้าฟาร์มถึงหน้าเขียง ใคร เป็นคนคุมราคาหมู

นทธร เกตุชู
Economy

สถานีต่อไปมรดกโลก รถไฟเร็วสูงอยุธยากับจุดคุ้มทุน? ที่ยังขุดไม่พบ

Reading Time: 5 minutes มรดกโลกหรือมรดกใคร? เมื่อรถไฟความเร็วสูงที่นำมาซึ่งโอกาสใหม่ของคนอยุธยา อาจต้องแลกมาด้วยโบราณสถาน ในวันที่อาจถูกถอดถอนจากสถานะการเป็นมรดกโลก

ธเนศ แสงทองศรีกมล
Economy

สระบุรีความเร็วสูง รางดีหรือลางร้าย?

Reading Time: 4 minutes จากใจคนทางผ่าน เมื่อรถไฟความเร็วไม่ได้นำมาซึ่งความเจริญ แต่พาคันดินสูง 7 เมตรมาทับหัวใจของคนหนองแซง ในวันที่วิถีชีวิตกำลังจะสูญหายภายใต้โครงการพัฒนาของรัฐ

ธเนศ แสงทองศรีกมล
Economy

สำนึกคนริมรางโคราช หกทศวรรษของการต่อสู้ที่ยังห่างไกลจากความมั่นคงในที่อยู่อาศัย

Reading Time: 5 minutes หกทศวรรษของคนริมราง การต่อสู้เพื่อได้มาซึ่ง ‘ความมั่นคงในที่ดิน’ ของคนโคราช ในห้วงเวลาที่โครงการพัฒนาของรัฐย่างกรายมาถึงหน้าบ้าน และ ‘รถไฟความเร็วสูง’ ที่อาจไม่มีพวกเขาอยู่ในขบวน

ธเนศ แสงทองศรีกมล
Economy

อย่าปล่อยให้คนแพ้ต้องดูแลตัวเอง ในเมื่อไม่มีใครดูแลตัวเองได้ตลอด

Reading Time: 2 minutes การผูกงานเข้ากับมูลค่านั้นเป็นผลิตผลสำคัญของระบบทุนนิยม กล่าวอีกอย่างก็คือ กิจกรรมที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจเท่านั้นที่จะถูกว่าเป็น “งาน” ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวก็ทำให้คนที่มีส่วนสร้างมูลค่ากลายมาเป็น “คนทำงาน” ส่วนคนอื่น ๆ นั้นไม่ได้ทำงานเพราะพวกเขาไม่ได้สร้างมูลค่าแต่อย่างใด ผลผลิตของการผูกงานเข้ากับมูลค่าจึงทำให้มีคนจำนวนหนึ่งที่ไม่ได้ทำงาน เพราะพวกเขาทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ไม่ได้นำไปสู่หรือไม่ได้กำลังสร้างมูลค่า แม้ว่าพวกเขาจะทำกิจกรรมนั้น ๆ จนตัวตาย พวกเขาก็ไม่ได้ถูกนับว่าทำงาน … หลาย ๆ ครั้ง ผู้ดูแลซึ่งหารายได้ไม่ได้ เพราะเขาไม่มีโอกาสออกไปหารายได้นอกบ้านก็ถูกมองว่าเป็นภาระของสังคม

เก่งกิจ กิติเรียงลาภ
Economy

อนาโตมีของ ‘อินฟลูเอนเซอร์’ รักที่จะถูกเกลียด เกลียดที่จะถูกลืม หิวแสงเพื่อจะไม่แห้งตาย

Reading Time: 2 minutes นาทีนี้ คงไม่มีใครไม่รู้จัก ‘อาชีพ’ ที่เรียกว่าอินฟลูเอนเซอร์ (หรือเรียกสั้นๆ ว่า ‘อินฟลูฯ’) กันแล้ว ว่ากันว่า เป็นอาชีพที่คนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยใฝ่ฝัน เนื่องจากถ้าประสบความสำเร็จ ถือได้ว่าเป็นอาชีพที่มีรายได้สูงลิบลิ่วเลยทีเดียว แถมยังมีชื่อเสียงไม่แพ้นักแสดงหรือดาราดังๆ อีกด้วย รายได้ของอินฟลูฯ ส่วนใหญ่ ไม่ได้มาจากแพลตฟอร์ม (แม้ว่าหลายแพลตฟอร์มจะมีการแบ่งรายได้ให้) ทว่ามาจากการร่วมงานกับแบรนด์ต่างๆ และการโฆษณาหรือ ‘ไทอิน’ สินค้าต่างๆ แฝงเข้ามาในเนื้อหาของรายการ แต่อาชีพนี้กลับต้องแลกมาด้วยการรักที่จะถูกเกลียด เกลียดที่จะถูกลืม หิวแสงเพื่อไม่ให้แห้งตาย

โตมร ศุขปรีชา
Economy

เปลี่ยน ‘วิกฤต’ แรงงานเมียนมา เป็น ‘โอกาส’ ฟื้นศก.ไทย เผือกร้อนในมือ ‘รัฐบาลอุ๊งอิ๊ง’

Reading Time: 3 minutes เรื่องใหญ่ของประเทศเพื่อนบ้านอย่าง “เมียนมา” ที่หลายเรามักเห็นตามหน้าสื่อคือ สภาพบ้านเมืองของเมียนมาในยุคเผด็จการทหาร “มิน อ่อง หล่าย” ที่พ่วงมากับสถานการณ์สงครามระหว่างฝ่ายรัฐบาลเผด็จการทหารกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ดังกรณีของการนำเสนอข่าวสงครามที่เมืองเมียวดีซึ่งปะทุขึ้นในช่วงเมษาหน้าร้อนที่ผ่านมา

ปิยวัฒน์ สีแตงสุก
Economy

พิมพ์เขียว PDP 2024 ยังเขียวไม่พอ?

Reading Time: 3 minutes ค่าไฟหนนี้มีรอบบิลที่แพงขึ้นและประชาชนกำลังจนลงกับแผนPDP2024 แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า พ.ศ.2567 -2580  ที่กำลังจะเป็นแผนบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าแผนใหม่ในอีกไม่กี่เร็ววันข้างหน้าได้อย่างชัดเจมแจ่มแจ้ง ยังเต็มไปด้วยเสียงคัดค้านจากภาควิชาการและภาคประชาชนว่าไม่ตอบโจทย์ต่อความยั่งยืน

ฟาห์เรนน์ นิยมเดชา
Economy

ฝันสลายใต้เครื่องหมาย “การพัฒนาอีอีซี”

Reading Time: 3 minutes ‘ลุงเคยพาออกทะเลไหม ?’ เราถาม
หลานชายในวัยประถมของลุงละม่อม ตอบ ‘เคยครับ’

แล้วโตขึ้นอยากทำประมงไหม เราถาม
หลานชายในวัยประถมของลุงละม่อม ไม่ตอบ

วิภาพร วัฒนวิทย์
Economy

หมอลำ เป็น จน ตาย เพราะรักหรือไร้หลักประกันในชีวิตแรงงานนอกระบบ 

Reading Time: 3 minutes ชีวิตบนเส้นทางความฝันสู่ความจริง เมื่อชุดเพชรแวววาวที่สวมใส่ล้อกับแสงไฟจากเวทีเพื่อให้ตัวนักแสดงเปล่งประกายท่ามกลางผู้ชมที่คอยเฝ้ามองข้างล่างเวทีนั้นกลับหนักอึ้งและถ่วงรั้ง เมื่อความสามารถการลำไม่ใช่แค่สิ่งเดียวที่การันตีถึงชีวิตที่มั่นคง

กุลธิดา กระจ่างกุล
Economy

แสนยานุภาพของขบวนการแรงงาน สายธารแห่งการลุกขึ้นสู้ [ตอนที่ 2]

Reading Time: 3 minutes คนทำงาน ฉัตรชัย พุ่มพวง สายธารการลุกขึ้นสู้และชัยชนะของขบวนแรงงานในสังคมไทย ในยุคต้นสมบูรณาญาสิทธิราชย์หลังจากที่ ร.5 รวบอำนาจจากเหล่าเจ้าขุนมูลนายทั่วอาณาบริเวณที่เหลือเป็นรัฐกันชนระหว่างเจ้าอาณานิคมทั้งฝรั่งเศสทั้งอังกฤษได้สำเร็จ ก่อเกิดเป็นรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ขึ้นเป็นครั้งแรก พร้อมกันนั้นได้มีการยกเลิกระบบไพร่ทาสไป เนื่องจากมีแรงงานจีนอพยพได้หลั่งไหลเข้ามาในสยามจำนวนมากตั้งแต่สมัย ร.4 ทำให้ต้นทุนของระบบไพร่ทาส เริ่มที่จะแพงและไร้ประสิทธิภาพ เมื่อเทียบกับแรงงานรับจ้างอย่างแรงงานจีน มีการปฏิรูประบบภาษีให้รวมศูนย์มาที่กษัตริย์โดยให้ทุกคนจ่ายภาษีแทนการเรียกเกณฑ์แรงงานบังคับ เมื่อสัดส่วนของแรงงานจีนในสังคมสยามมีมากขึ้น ๆ ปัญหาเรื่องสภาพการทำงานที่ย่ำแย่ จึงเข้มข้นมากขึ้นเรื่อย ๆ ปกติแล้ว เมื่อคนจีนอพยพไปอยู่ที่ไหนในโลก ก็จะมีการพยายามรวมกลุ่มกัน เป็นที่มาของคำว่า “อั้งยี่” ที่เป็นคำใช้เรียกองค์กรของแรงงานจีน ซึ่งจริง ๆ แล้วทำหน้าที่คล้ายกับสหภาพแรงงานเพื่อต่อรองกับรัฐและทุนนั่นเอง กุลีจีนเหล่านี้เป็นแรงงานกลุ่มแรก ๆ ที่สไตร์คหยุดงานในสยาม ไม่ว่าจะเป็นแรงงานจีนในเหมืองที่ภาคใต้ หรือ กุลีลากรถและกรรมกรแบกข้าวสารในพระนคร ช่วงแรกรัฐบาลสมบูรณาฯ ก็รู้สึกสะดวกในการดีลกับผู้นำของอั้งยี่ทำให้ควบคุมจัดการพวกแรงงานจีนทำได้ง่าย แต่พอนานไปเข้าก็รู้สึกได้ถึงอำนาจต่อรองที่มากเกินไป เพราะมีเหตุการณ์ที่แรงงานจีนเหล่านี้สไตร์คหยุดงาน จึงทำให้ต้องออกกฎหมายอั้งยี่ซ่องโจรออกมา เพื่อกดปราบแรงงานจีนเหล่านี้ เมื่อเกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎรในปี 2475 ขบวนแรงงานในสังคมไทยก็เติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ บางยุครวมตัวกันได้อย่างแข็งขัน บางยุคถูกฝั่งรัฐและทุนโต้กลับกดปราบ โดยเฉพาะยุคเผด็จการสฤษดิ์ ถนอม ประภาส ที่มีการใช้มาตรา 17 ประหารสุภชัย ศรีสติ ผู้นำแรงงาน […]

ฉัตรชัย พุ่มพวง