Journalism Archives - Page 4 of 6 - Decode

CATEGORY Journalism
Lorem ipsum dolor sit amet.

Journalism

สำรวจ “ของเถื่อนในม็อบ” ประเด็นใต้ดินที่อยากทำให้ถูกกฎหมาย

Reading Time: 2 minutesของเถื่อน คือ อะไร? ของเถื่อนที่เราว่านั้น มันคือประเด็นใต้ดิน ประเด็นที่สังคมไทย “ปากว่าตาขยิบ” ตั้งแต่เรื่องทำแท้ง พนักงานขายบริการ ไปจนกระทั่งการพูดถึงรสชาติเครื่องดื่มบางชนิด วันนี้ในการชุมนุมหลาย ๆ ครั้ง ประเด็นข้างเคียงข้อเรียกร้องบนเวทีเรายังเห็นประเด็นเหล่านี้ที่คนรุ่นใหม่ต้องการทำให้ดีขึ้นในเชิงกฎหมาย หรือทำให้มันถูกกฎหมาย (Legalise) เพื่อที่ว่าทุกที่อยู่แวดล้อมในวงนี้…จะได้รับสิทธิ์การคุ้มครองอย่างเต็มที่ ของเถื่อน 01: Sex Worker “สิ่งที่ยากที่สุดในการต่อสู้เรื่องนี้คือการสู้กับความเชื่อของคนที่เชื่อว่างานนี้เป็นการลดทอนศักดิ์ศรี ซึ่งไม่ใช่ศักดิ์ของคนทำงาน แต่คือศักดิ์ศรีภาพรวมของประเทศ เราต้องการให้เข้าใจสิทธิความเป็นมนุษย์มากกว่าการรักษาภาพลักษณ์ของประเทศ ประเทศของเรายังอยู่ในกรอบผู้หญิงดี ถ้าเราพ้นกรอบนี้มาได้ประเด็นการต่อสู้ของเราน่าจะรอด” ชัชลาวัณย์ เมืองจันทร์ ตัวแทนกลุ่ม sex worker บอกเล่าถึงความต้องการที่อยากเห็นอาชีพนี้และคนในสังคมมีส่วนร่วมลงชื่อเสนอร่างยกเลิก  พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 จำนวน 10,000 รายชื่อ เพื่อให้งานขายบริการไม่ผิดกฎหมาย จากอยู่ใต้พรมเป็นขึ้นมามีสิทธิเท่าเทียมกับแรงงานคนอื่น ๆ นายจ้างจะได้ไม่เอาเปรียบ ไม่เอาเงินไปหักส่วย ไม่ถูกล่อซื้อ ไม่ต้องถูกจับ ซึ่งทุกวันนี้ยังมีการล่อซื้ออยู่แต่ไม่มีข่าวให้เห็นมากนัก ส่วนใหญ่พวกเขาทำงานที่ บาร์ คาราโอเกะ และอาบอบนวด มีทั้งคนไทยและคนต่างชาติ รวมกลุ่มกันมากว่า 20 ปีแล้ว […]

Decode
Journalism

สักวัน…ข่าว “ลุงพล”จะจบไป แต่ “ข่าวเรียกเรตติ้ง” ไม่มีทางจบที่รุ่นเรา

Reading Time: 5 minutesข่าวดังที่เริ่มต้นจากประเด็นที่มีคุณค่าข่าว เด็กน้อยวัย 3 ขวบหายตัวไป ต่อมาถูกพบเป็นศพ และต้องสืบสวนว่าทั้งหมดมีที่มาอย่างไร ระหว่างทางของคดี “ที่ยังไม่จบ” ตัวละครแวดล้อมเพิ่มมาเรื่อย ๆ ลุงพล “ไชย์พล วิภา” วัย 44 ปีคือหนึ่งในนั้น เรื่องราวชีวิตลุงพลแบบเรียลลิตี้เพิ่มขึ้นวันต่อวัน

กัลยาวีร์ แววคล้ายหงษ์
Journalism

ลาก่อน “ลุงพล” การลาออกครั้งสุดท้ายของคนข่าวภาคสนาม ในสภาพอึดอัด เลยเถิด เกินพอกับระบบ ‘ข้างในอยากได้’

Reading Time: 2 minutesข่าวดังที่เริ่มต้นจากประเด็นที่มีคุณค่าข่าว เด็กน้อยวัย 3 ขวบหายตัวไป ต่อมาถูกพบเป็นศพ และต้องสืบสวนว่าทั้งหมดมีที่มาอย่างไร ระหว่างทางของคดี “ที่ยังไม่จบ” ตัวละครแวดล้อมเพิ่มมาเรื่อย ๆ ลุงพล “ไชย์พล วิภา” วัย 44 ปีคือหนึ่งในนั้น เรื่องราวชีวิตลุงพลแบบเรียลลิตี้เพิ่มขึ้นวันต่อวัน

กัลยาวีร์ แววคล้ายหงษ์
Journalism

การรวมกลุ่มของไรเดอร์ส่งอาหาร-การต่อรองกับแพลตฟอร์มข้ามชาติยักษ์ใหญ่

Reading Time: 4 minutesความนิยมในการสั่งอาหารผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ทำให้เกิดการขยายตัวของงานส่งอาหารรายชิ้น ที่มีชื่อเรียกอย่างเก๋ไก๋ว่า ‘งานกิ๊ก’ (gig work) โดยพนักงานขี่มอเตอร์ไซต์ส่งอาหารหรือ “ไรเดอร์” ที่บริษัทแพลตฟอร์มกำหนดสถานะเป็น “พาร์ทเนอร์” หรือหุ้นส่วน แต่กระบวนการทำงานที่เป็นจริงไม่ต่างจากพนักงานของบริษัท

สถาบันแรงงานและเศรษฐกิจที่เป็นธรรม
Journalism

ชายผ้าเหลืองเชื่อมชุมชนกับ “พระกฎษดา ขันติกโร” เพื่อเพื่อนผู้ป่วยระยะสุดท้าย

Reading Time: 3 minutes“ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอถวายภัตตาหาร…” คำกล่าวถวายสังฆทานที่ไม่อาจรับรู้ได้จากการฟัง ด้วยเสียงนั้นถูกกล่าวโดยหญิงชราอ่อนแรงลงทุกขณะ ที่วาระสุดท้ายของชีวิตใกล้เข้ามาแล้ว หลังเป็นผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่นอนติดเตียงมานาน จนไม่มีโอกาสได้ทำบุญอย่างที่เคยปฏิบัติ “พระกฎษดา ขันติกโร” จึงรับนิมนต์ในครั้งนั้น ก่อนที่วันต่อมาคุณยายจะจากไปอย่างสงบ พร้อมความเชื่อของครอบครัวว่าท่านได้เกาะชายผ้าเหลืองพระไป

สมิตานัน หยงสตาร์
Journalism

เพดานของคนข่าว ในวิกฤต(ศรัทธา)มีข้อจำกัด และการกลับมาของสื่อมืออาชีพ-พื้นที่กลาง ทำยากแต่จำเป็นต้องทำ

Reading Time: 3 minutesDecode ขอจ่อไมค์ไปที่นักข่าวจากสื่อทุกแขนง ไม่ว่าจะเป็นสื่อกระแสหลัก หรือ สื่อออนไลน์ เพื่อถามถึงเงื่อนไขในการทำงานของสื่อมวลชน ณ วันนี้ ว่าแม้ใจอยากจะรายงานแต่เหตุผลอะไรที่กลบเสียงนั้นให้หายไป และพวกเขามีความคิดเห็นอย่างไรกับการที่ประชาชนเรียกร้องให้สื่อกลับมาทำหน้าที่ (เสียที) พร้อมทั้งร่วมหาคำตอบกับโจทย์สุดหินสำหรับคนทำสื่อ ว่าในวันที่เพดานขยายกว้างขึ้นไปทุกที เราชาวสื่อมวลชนจะรายงานข่าวนี้อย่างไร

ภาวิณี คงฤทธิ์
Journalism

อาการ Echo Chamber อัลกอริทึมของความเห็นต่าง สื่อกระแสหลักอยู่ตรงไหนของการแก้ปัญหา

Reading Time: 2 minutesวันนี้เราเห็นนักเรียน นักศึกษา คนรุ่นใหม่นัดกันทางออนไลน์ และเจอกันออฟไลน์เพื่อทำกิจกรรมทางการเมืองร่วมกัน ในภาวะที่ข่าวสารท่วมท้น เราเลือกรับสื่อที่เราสนใจได้ เลือกติดตามคนที่มีความเชื่อเดียวกัน ความหลากหลายวันนี้หมายถึง “ความเห็นต่าง” และเข้าใจการมีอยู่จริงของฝ่ายเห็นต่างอย่างไร

กัลยาวีร์ แววคล้ายหงษ์
Journalism

แม่ปูคาชำรุด มนุษย์ฆ่าตัวตาย ความป่วยไข้ในระยะฟักตัว

Reading Time: 4 minutesGate 42 สองชั่วโมงครึ่งของการรอเรียกขึ้นเครื่องบินโดยสาร โดยมีเชียงใหม่เป็นปลายทางดูจะผิดวิสัยสำหรับคนเชียงใหม่ที่กลับบ้านอยู่บ่อยครั้ง อาจเพราะการเดินทางครั้งนี้มีสองอย่างที่น่ากลัว และสองอย่างที่แน่นอน

ภัทราภรณ์ ศรีทองแท้
Journalism

ชีวิตใต้ปกครองของอัลกอริทึม

Reading Time: < 1 minuteจะเผด็จการหรือประชาธิปไตย แฟร์ไหมถ้าชีวิตคุณถูกำหนดโดยอัลกอริทึม สังเกตง่ายๆจากเว็บไซต์ของเฟซบุ๊ก หากเราคลิก ‘การตั้งค่า’ จากนั้นคลิก ‘ข้อมูล Facebook ของคุณ’ ที่คอลัมน์ด้านซ้าย เราจะเจอ “ดาวน์โหลดข้อมูลของคุณ”

วิรดา แซ่ลิ่ม
Journalism

จุดจบที่เจ็บปวด ชีวิตแรงงานใต้อำนาจทุน

Reading Time: 3 minutes“จนวันสุดท้าย ผมยังทำงานปกติ” รีดเสื้อผ้า ใส่ชุดมาทำงานในตอนเช้า แต่ภาพของโรงงานในวันนั้นต่างไปจากเดิม พนักงานหลายร้อยคนยืนมุงนอกรั้วด้วยความมึน งง เรากลายเป็นคนนอกโรงงาน เราเข้าไปทำงานไม่ได้แล้ว บริษัทปิดตัวลง ทุกอย่างเกิดขึ้น และ ดำเนินไปโดยไม่ทันได้ตั้งตัว รู้สึกตัวอีกที…“ผมกลายเป็นคนตกงาน” ทำงานมานาน กรณีเลิกจ้างกะทันหัน​ยังไม่เคยเจอกับตัวเอง เจอจริง ๆ พูดได้เลยว่า ช็อก!!!

วิภาพร วัฒนวิทย์
Journalism

อาสาอุบัติใหม่ เพื่อนบ้านในสงครามโควิด

Reading Time: 3 minutesท่ามกลางโรคอุบัติใหม่อย่างโควิด19 ที่เปรียบเสมือนอาวุธสงครามอันร้ายกาจและเป็นภัยต่อเผ่าพันธุ์มนุษย์ ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างมากขึ้นเมื่อผสมโรงเข้ากับมาตรการที่ออกมาไม่ว่าจะ #Stayhome หรือ #SocialDistancing งานนี้เรียกได้ว่าเป็นอาวุธสงครามที่กวาดล้างแทบจะทุกวงการจริงๆ ตั้งแต่ ธุรกิจ การศึกษา คมนาคม หรือแม้แต่การทำงานด้านอาสาก็ไม่เว้น ส่งผลให้คำว่า ‘การรวมตัว’ กันทำงานด้านอาสานั้นคงอยู่รูปแบบเดิมไม่ได้แล้ว

พลอยธิดา เกตุแก้ว
Journalism

อุ่นแดดที่ตากใบ ความไม่บังเอิญบนเส้นทางสายใหม่ตากใบ-กลันตัน

Reading Time: 2 minutesอุ่นแดด 1,171 กิโลเมตร จากกรุงเทพถึงตากใบ … เราถูกเชื้อเชิญมาที่นี่พร้อมความหวังของชาวบ้านที่ลุกโชนขึ้นกับการก่อรูปก่อร่างเส้นทางใหม่ของการท่องเที่ยวเชิงชุมชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ จากตากใบ นราธิวาส ถึง กลันตัน มาเลเซีย… 6 โมง 10 นาที พระอาทิตย์โผล่พ้นผืนน้ำไม่ผิดเวลาจากที่ชาวบ้านบอกไว้แม้แต่นาทีเดียว เบื้องหน้าคือทะเลอ่าวไทยไกลสุดลูกหูลูกตา เบื้องหลังคือแม่น้ำตากใบที่ทอดตัวยาวมาจากแม่น้ำสุไหงโกลก สะพานไม้เก่าขนาบคู่สะพานคอนกรีตที่เพิ่งสร้างใหม่ ชาวบ้านที่นี่เรียกว่า ‘สะพานคอย 100 ปี’ สะพานที่ตัดขวางข้ามแม่น้ำตากใบมายัง “เกาะยาว​”  ที่เรายืนอยู่นี้ มันเชื่อมพี่น้องมุสลิมชาวเกาะยาวกับพี่น้องไทยพุทธบนแผ่นดินใหญ่มาเนิ่นนานนับร้อยปี ที่นี่ถูกปักหมุดไว้ให้เป็น 1 ในจุดหมายของเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงชุมชนที่ชาวบ้านกำลังสร้างขึ้นมา เพื่อหวังว่า 3 จังหวัดชายแดนใต้จะกลายเป็นปลายทางหนึ่งของนักท่องที่ยวต่างชาติหรือภายในประเทศเอง …แต่ดูเหมือนภาพความสวยงามเบื้องหน้ากลับขัดแย้งกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 4 มกราคม 2547 หลังเหตุการณ์ปล้นปืนจากกองพันพัฒนาที่ 4 ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ หลังกระสุนนัดแรกถูกลั่นไกออกไป ดูเมือนแรงสั่นสะเทือนของกระสุนนัดนั้นจะสร้างรอยปริแตกให้เกิดขึ้นทั่วทุกพื้นที่ชายแดนใต้ “หลังเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้น ความสัมพันธ์ของพวกเรา 2 ชุมชนก็เปลี่ยนไป จากเคยกินนอนด้วยกัน เดินไปโรงเรียนด้วยกัน ไปมาหาสู่กัน มันกลายเป็นความไม่สนิทใจ ความสงสัยที่เราก็ไม่รู้ว่ามันคืออะไรแต่มันรู้สึกแบบนั้น” คำบอกเล่าของอาจารย์จักรคนในพื้นที่ชุมชนวัดชลธราสิงเห ย้อนให้เราฟังถึงความสัมพันธ์ในครั้งก่อน […]

กาญจนา ปลอดกรรม