Columnist Archives - Page 2 of 36 - Decode

CATEGORY Columnist
Lorem ipsum dolor sit amet.

Columnist

สำรวจสันติภาพ ในมือรัฐบาลเศรษฐา 20 ปีแห่งความขัดแย้ง

Reading Time: < 1 minute วันนี้เรามีรัฐบาลจากการเลือกตั้ง แต่กลับเงียบเชียบอย่างยิ่งในเรื่องสันติภาพภาคใต้ เราแทบไม่ได้ยินนายกรัฐมนตรีเปิดเผยแนวคิดในการแก้ไขความขัดแย้งในพื้นที่นี้ต่อสาธารณะเลย การไปพบปะกับผู้นำมาเลเซียก็เน้นหนักไปในเรื่องความร่วมมือด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก ทั้ง ๆ ที่ฝ่ายมาเลเซียนั้นแสดงท่าทีให้ความสำคัญกับการมีบทบาทช่วยแก้ไขความขัดแย้งในสามจังหวัดใต้มาแต่ต้น

นวลน้อย ธรรมเสถียร
Columnist

จดหมายถึงลูกสาวฉบับที่ 4 : อยากให้มนุษย์เป็นอย่างไร เราก็สนับสนุนสังคมแบบนั้น

Reading Time: < 1 minute ธรรมชาติของมนุษย์อาจไม่มีสิ่งใดตายตัว แต่เราเองสามารถวางเงื่อนไขในการสร้างสิ่งที่เราพึงประสงค์ได้ หรือกล่าวโดยสรุปคือ เราอยากให้มนุษย์เป็นอย่างไร เราก็ออกแบบสังคมอย่างนั้น

รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี
Columnist

งานที่ให้ผลตอบแทนทางใจ

Reading Time: < 1 minute การหมกมุ่นทุ่มเทสร้างสรรค์ต่างหากที่จะทำให้เรารู้สึกถึงความสามารถ คุณค่าของเรา และการได้ทำสิ่งที่ชอบต่างหากที่ทำให้เราเพลิดเพลินเจริญใจ ไม่เบื่อหน่าย …ซังกะตาย การทำสิ่งหนึ่งยาวนานพอยังช่วยให้เราค้นพบข้อจำกัด ความเปราะบาง ความเข้มแข็ง รวมทั้งศักยภาพที่ซ่อนเร้นอยู่ของตัวเอง

วีรพร นิติประภา
Columnist

สุพราหมัณยัมและชัยศังกร: สองพ่อลูกเบื้องหลังการต่างประเทศอินเดียร่วมสมัย

Reading Time: 3 minutes ในบรรดารัฐมนตรีของรัฐบาลอินเดียปัจจุบันนำโดยนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี (Narendra Modi) รัฐมนตรีที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุดคือชัยศังกร

สุรัตน์ โหราชัยกุล
Columnist

จดหมายถึงลูกสาวฉบับที่ 3 : สังคมชายเป็นใหญ่ ความเหลื่อมล้ำมหาศาลในระบบทุนนิยม

Reading Time: < 1 minute ถ้ามีมนุษย์ต่างดาวมองมาที่โลกของเรา สิ่งที่พวกเขาจะแปลกใจที่สุดคือ ความเหลื่อมล้ำมหาศาล ที่ไม่น่าเชื่อว่าเราอยู่ในสังคมเดียวกัน หายใจด้วยอากาศเดียวกัน ความเหลื่อมล้ำนี้อาศัยกลไกทางเศรษฐกิจ ระบบทุนนิยมปรับเปลี่ยนตัวเองให้สะสมความมั่งคั่ง โดยที่โยนความเสี่ยงทั้งหมดให้กับแรงงาน โดยอาศัยระบบการเมืองที่สุดท้ายประชาธิปไตย เหลือเพียงแค่รูปแบบ แต่นอกจากกลไกทางการเมืองและเศรษฐกิจ กลไกทางวัฒนธรรมยังมีส่วนสำคัญในการทำให้คนยอมรับสภาพที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้  และหนึ่งในค่านิยมนั้นคือค่านิยมชายเป็นใหญ่ ที่ค้ำจุนความเหลื่อมล้ำของสังคมนี้

รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี
Columnist

โลกเดือด ชะตากรรมของมหาสมุทร (ตอนที่ 1)

Reading Time: 2 minutes อยากให้ทุกคนลองหลับตา แล้วสูดหายใจลึก ๆ รู้ไหมว่าครึ่งหนึ่งของออกซิเจนที่เราสูดเข้าไปมีที่มาจากท้องทะเล จากแพลงก์ตอนพืชจำนวนมหาศาลที่สร้างออกซิเจนไม่แพ้ป่าดงดิบ ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน ใกล้หรือไกลจากทะเลก็ตาม ทะเลเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของทุกคน

ดร.เพชร มโนปวิตร
Columnist

จดหมายถึงลูกสาวฉบับที่ 2 : มีผู้คนต่อสู้มาก่อนเรา เจ็บช้ำมาก่อนเรา และพวกเขาทำให้เรามีวันนี้

Reading Time: < 1 minute ประกายไฟลามทุ่ง รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี จดหมายฉบับที่สองก่อนที่พ่อจะได้เจอหน้าลูกสาวของพ่อ ลูกจะได้เกิดและเติบโตมาในโลกที่มีหลากหลายความหมาย โลกที่บางมุมก็สวยงามและมหัศจรรย์ แต่ก็มีอีกหลายมุมที่ลูกอาจฉงนสงสัยว่า ในโลกที่สวยงามขนาดนี้เหตุใดยังมีความโหดร้ายระหว่างกันมากมาย ในความขัดแย้งนี้สิ่งที่พ่ออยากจะบอกลูกคือ โลกมนุษย์เราเคยมีช่วงเวลาที่เลวร้ายไม่ว่าพวกเราจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ เราสร้างความอดอยากขึ้นท่ามกลางความอุดมสมบูรณ์ สร้างความยากจนขึ้นมาท่ามกลางความร่ำรวย เราสร้างยารักษาโรคมากมายที่ทำให้ชีวิตมนุษย์ยืนนานเพิ่มได้หลายสิบปีพร้อม ๆ กับสร้างอาวุธสงครามที่คร่าชีวิตมนุษย์นับแสนได้ในไม่กี่วินาที และมนุษย์เราก็ก้าวพ้นความขัดแย้งเหล่านี้ได้ ไม่ได้เกิดขึ้นโดยคนที่มีสติปัญญาปราดเปรื่อง นักรบที่กล้าหาญ หรือเศรษฐีคนใด แต่มันเกิดจากการส่งเสียงของคนธรรมดา ที่ไม่ยอมจำนนต่อความไม่เป็นธรรม ก่อนหน้านี้ มนุษย์แบ่งแยกกันด้วยสีผิวและชาติกำเนิด คนสีผิวหนึ่งไม่ได้รับการคุ้มครองด้วยหลักการที่เท่าเทียมกัน ไม่ถูกคำนึงว่าเป็นมนุษย์ พวกเขาทำงานโดยไม่ได้รับค่าจ้าง ถูกกังขังเหมือนสัตว์เลี้ยง และไม่มีสิทธิ์เสียงในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความเป็นไปของสังคมที่พวกเขาอยู่ พ่อไม่ได้จะบอกลูกว่าสิ่งเหล่านี้ได้หายไปหมด มนุษย์ยังคงแบ่งแยกกดขี่ระหว่างกัน เมื่อครั้งที่มนุษย์ต่อสู้เพื่อการเลิกทาส ยังมีนายทุนจำนวนมากบอกว่าเศรษฐกิจจะล้มละลายถ้ามีการเลิกทาสและทำให้ทุกคนได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรมรวมถึงมีสิทธิเสมอภาคกับเหล่านายทาส ถ้าเราใช้หลักเศรษฐศาสตร์กำหนดความเป็นไปของโลก เรายังคงมีทาสอยู่ การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้ไม่ได้เกิดจากการคำนวณแต่เกิดจากการยืนยันต่อสู้ของคนธรรมดาที่ไร้อำนาจ ใช้วิธีที่สันติอารยะขัดขืนบ้าง และบางครั้งพวกเขาก็เดิมพันด้วยชีวิตของพวกเขาในการยืนยันสิทธิที่พวกเขาควรมีตั้งแต่แรก พวกเขาทำให้เราสามารถมีชีวิตที่ดีได้ในวันนี้ มนุษยชาติดูเหมือนจะฉลาดกว่าสิ่งมีชีวิตอื่น แต่ก็มีบางเรื่องที่พวกเขาโง่เง่ามาหลายศตวรรษ มนุษย์ที่ไม่ใช่เพศกำเนิดชายเพิ่งจะมีโอกาสที่เสมอภาคกันหน้าคูหาเลือกตั้งเมื่อไม่ร้อยกว่าปีมานี่เอง การเลือกปฏิบัติสำหรับเพศหญิง และคนที่มีเพศสภาวะไม่ตรงกับเพศกำเนิดเคยเป็นเรื่องรุนแรงในศตวรรษที่แล้ว มีหลายคนที่เสียชีวิตและถูกทำร้ายโดยกระบวนยุติธรรมอย่างเป็นทางการของรัฐ รวมถึงศาลเตี้ยของระบบชายเป็นใหญ่เพียงแค่พวกเขามีความปรารถนาในชีวิต และวิถีทางเพศที่แตกต่างไป แต่การต่อสู้ของคนธรรมดาที่ไร้อำนาจ ผลักดันให้ความเท่าเทียมกันเป็นเรื่องปกติ ทำให้ผู้หญิงธรรมดาสามารถที่จะท้าทาย มีความรักได้อย่างเสรี เมื่อสมัยพ่อเด็ก ๆ คำว่า “ชายแท้” หรือ […]

รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี
Columnist

ผังเมืองก็เรื่องของชาวบ้าน

Reading Time: 2 minutes เพราะผังเมืองเป็นมากกว่าการกำหนดการใช้ที่ดิน แต่เป็นเรื่องของการต่อรองของคนในท้องถิ่นว่าต้องการเห็นเมืองพัฒนาไปในทิศทางไหน กระจายตัวอย่างไร

รศ.ดร.บุญเลิศ วิเศษปรีชา
Columnist

คิสซิงเจอร์ในความทรงจำของอินเดีย

Reading Time: 2 minutes อาจจะเป็นเพราะคิสซิงเจอร์เป็นคนแรกที่ดำรงตำแหน่งทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ และได้กำหนดนโยบายการต่างประเทศและความมั่นคงของสหรัฐฯ ในช่วงสำคัญของสงครามเย็นเลยก็ว่าได้

สุรัตน์ โหราชัยกุล
Columnist

จดหมายถึงลูกสาวฉบับที่ 1 : ลูกเกิดมาพร้อมกับของฟรี และการให้อย่างไม่มีเงื่อนไขของมนุษยชาติ

Reading Time: < 1 minute การรอคอยส่วนมากทรมานและกระวนกระวาย แต่การรอคอย 9 เดือนนี้ ดูยาวนาน แต่ไม่ทรมาน เป็นการรอคอยที่เปี่ยมความสุข เป็นการรอคอยที่ไม่มีเงื่อนไขและความคาดหวังอะไรนอกจากที่จะได้เห็นเจ้าตัวน้อย

รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี