Crack Politics – Decode

CATEGORY Crack Politics
Lorem ipsum dolor sit amet.

Crack Politics

‘จริยธรรม’ ในฐานะเครื่องมือทางอุดมการณ์

Reading Time: 3 minutesคำว่าจริยธรรม กลายเป็นคำที่ถูกพูดถึงกันอย่างกว้างขวางในสังคมไทยในระยะหลัง ตั้งแต่มีการตัดสิทธินายกฯ รัฐมนตรีให้หลุดจากตำแหน่งด้วยข้อหาผิดมาตรฐานจริยธรรมร้ายแรง จนมาถึงกรณีที่เกี่ยวพันกับอดีต 44 ส.ส. พรรคก้าวไกล ที่ร่วมกันลงชื่อเสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ว่าจะถูกตัดสินว่าฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมร้ายแรง จนนำไปสู่การตัดสิทธิทางการเมืองของพวกเขาตลอดชีวิตหรือไม่ บทความนี้อยากจะชวนย้อนกลับไปดูที่มาที่ไปของ “จริยธรรม” ในบริบทการเมืองไทย และตั้งคำถามบางประการให้ช่วยกันขบคิด

รศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ
Crack Politics

รอมฎอน (สันติภาพ) ที่หายไปจากวงเล็บ

Reading Time: 2 minutesความไม่ต่อเนื่องในการเจรจาสันติภาพหลังปลายปี 2567 กระทั่งเข้าสู่เดือนรอมฎอนอันศักดิ์สิทธิ์ของพี่น้องชาวมุสลิม การเปิดโต๊ะเจรจาที่จะทำให้ข้อตกลงรอมฎอนสันติจึงยังไม่เกิดขึ้น De/code สัมภาษณ์พิเศษ บิ๊กเกรียง อดีตแม่ทัพภาคสี่ และเคยเป็นหนึ่งในเลขาธิการร่วมของคณะพูดคุยโต๊ะเจรจาของฝ่ายรัฐบาลไทย กลับเต็มไปด้วยข้อกังวลที่ยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจนต่อการจัดการและสร้างสันติภาพในพื้นที่

ฟาห์เรนน์ นิยมเดชา
Crack Politics

นิติรัฐนิติธรรมที่ถูกพรากจากรัฐธรรมนูญ

Reading Time: 2 minutesระบบรัฐสภาอ่อนแอ ประชาชนเสื่อมศรัทธา อำนาจตุลาการล้นเกินไร้ซึ่งการปรับตัว ขาดการยึดโยงกับประชาชน สิ่งเหล่านี้ คือผลลัพธ์ของการปฏิรูปการเมืองที่อ้างหลักการปกครองโดยประชาธิปไตย หนึ่งในมุมมองของนักวิชาการที่มองข้ามช็อตสุดท้ายหากผู้คนในระบบก้มหน้ายินยอมต่อปัญหาที่มีอยู่ เมื่อถึงช่วงเวลาที่ระบบอำนาจทางกฎหมายพังทลาย ผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือประชาชน

ณัฐณิชา มีนาภา
Crack Politics

รัฐธรรมนูญที่ปกป้องประชาธิปไตย: บทเรียนจากเกาหลีใต้

Reading Time: 3 minutesถึงเวลาที่สังคมไทยต้องเรียนรู้จากเกาหลีใต้ เราควรมาร่วมกันตั้งเป้าหมายที่จะสร้างกติกาใหม่ที่จะวางรากฐานที่เข้มแข็งให้กับประชาธิปไตยของไทยเสียที สังคมไทยล้มลุกคลุกคลานและเสียเวลาไปมากเกินควรแล้วกับการมีรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญฉบับ 2560 เป็นกติกาที่เป็นผลผลิตของระบอบเผด็จการของคณะรักษาความสงแห่งชาติ (คสช.) จึงมีปัญหาทั้งในเชิงความชอบธรรมของที่มาและเนื้อหาที่มุ่งทำให้ประชาธิปไตยอ่อนแอ การเมืองขาดเสถียรภาพ ความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างฝ่ายต่างๆ ขาดความสมดุลโดยเฉพาะการออกแบบให้องค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจมากล้นและตรวจสอบไม่ได้ ที่มาของวุฒิสภาที่ไม่ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เลือกโดยตรง และปัญหาอื่นๆ อีกหลายประการ  

รศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ
Crack Politics

ประวัติศาสตร์ของการลอยนวลพ้นผิด

Reading Time: < 1 minuteการลอยนวลพ้นผิดถูกสร้างขึ้นมาจนกลายเป็นวัฒนธรรมของรัฐไทยอย่างไร ไล่เรียงมาตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนมาถึงการรัฐประหาร 2557 ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติซึ่งในช่วงหลังสงครามโลกที่เต็มไปด้วยความไร้เสถียรภาพทางการเมือง จบลงด้วยการทำรัฐประหารของกองทัพในปี 2490 และการก่อตัวของระบอบอำนาจนิยมในสังคมไทย รัฐบาลทหารของจอมพล ป. ที่ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มการเมืองอนุรักษ์นิยมในขณะนั้นใช้ความรุนแรงหลากหลายรูปแบบในการขจัดผู้ที่เห็นต่างจากรัฐ ไม่ว่าจะเป็นการอุ้มหาย การลอบสังหาร การซ้อมทรมาน กลายเป็นแบบแผนของการใช้ความรุนแรงนอกกฎหมาย ที่รัฐแปลงตนเองจากการเป็นผู้ปกป้องคุ้มครองประชาชนกลายไปเป็นผู้ที่ใช้กำลังข่มขู่คุกคามและสังหารประชาชนเสียเอง

รศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ
Crack Politics

ความมั่นคงแบบองค์ลงของรัฐไทย

Reading Time: 3 minutesหลังๆ มานี้เราพบเจอรายการข่าวที่นำเสนอเรื่องราวของคนทรง/ร่างทรง หรือ “ผู้วิเศษ” ที่มีพลังเหนือปุถุชนทั่วไปได้ค่อนข้างบ่อย… แน่นอนว่า เรื่องแบบนี้เรียกเรตติ้งได้ดี หลังรายการจบก็ยังเป็นกระแสต่อเนื่องในโซเชียลมีเดีย มีโพสต์ที่ทั้งชื่นชมและวิจารณ์ รวมถึง “ผู้วิเศษ” บางคนกลายเป็น “มีม” ที่เอาไปล้อหยอกกับเรื่องอื่นๆ ต่อได้อีก

ปิยวัฒน์ สีแตงสุก
Crack Politics

การทูตไร้จุดยืนที่สุดในจุดเงียบกลางไฟสงครามเมียนมา?

Reading Time: 3 minutesนานาชาติ ชวนคิดและตั้งคำถามกับตัวแสดงทางการเมืองที่เปลี่ยนไป ชั่งน้ำหนักระหว่างโอกาสกับผลกระทบต่อไทยในอนาคตอันใกล้ รวมถึงบทบาทของอาเซียนที่หลายคนมักยกให้เป็นพี่ใหญ่ว่าจำเป็นต้องมีบทบาทต่อการแก้ไขปัญหาในเมียนมาหรือไม่

ฟาห์เรนน์ นิยมเดชา
Crack Politics

สันติภาพยิ่งพร่าเลือน วิธีแก้ปัญหาสามจังหวัดชายแดนใต้ยิ่งต้องทบทวน

Reading Time: 3 minutesที่ผ่านมาเรามักมีคำถามกันเสมอว่าเพดานของการแก้ไขปัญหาสามจังหวัดภาคใต้ของรัฐบาลอยู่ที่ไหน ถ้าพิจารณาเงื่อนไขการพูดคุยสันติภาพระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มบีอาร์เอ็นจะพบว่า มีการกำหนดเอาไว้ว่าการพูดคุยจะต้องกระทำโดยอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ นั่นก็น่าจะชัดแล้วว่า ยกเว้นเรื่องของการแยกดินแดนแล้วเรื่องอื่นๆที่รัฐธรรมนูญยอมให้ทำได้ย่อมเป็นไปได้ทั้งสิ้น หนทางเดินต่อไปในการแก้ปัญหาจึงไม่ใช่เรื่องลี้ลับพิสดารอันใด อยู่ที่ว่าจะเสนอกันแค่ไหนและองคาพยพต่างๆของรัฐไทยจะยอมรับกันได้หรือไม่เท่านั้น ผู้เขียนเชื่อว่าข้อเสนอของกรรมาธิการฯจะเป็นเพียงจุดตั้งต้นให้ฝ่ายต่างๆเหล่านี้ได้ต่อรองกัน อย่างน้อยที่สุดก็ในรัฐสภาซึ่งในเวลานี้เห็นชัดเจนว่าฝ่ายที่อนุรักษ์ส่วนใหญ่ไปกระจุกตัวกันอยู่ในกลุ่มสว.และสว.นั่นเองที่เกาะติดการทำงานแก้ปัญหาภาคใต้ของรัฐบาลที่ผ่านมา  

นวลน้อย ธรรมเสถียร
Crack Politics

นิติรัฐ (ที่หายไป) ในสังคมไทย

Reading Time: 3 minutesเหตุการณ์ความสับสนและผันผวนทางการเมืองในสังคมไทยในห้วงยามที่ผ่านมาทำให้ผู้เขียนขบคิดถึงปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมาย การเมือง กับสังคม และอำนาจของกฎหมายที่ส่งผลกระทบต่อการเมืองและชีวิตของผู้คนมากยิ่งขึ้น ซึ่งการบังคับใช้และการตีความกฎหมายที่ถูกตั้งคำถามรวมถึงบทบาทของฝ่ายตุลาการที่ถูกตั้งข้อสงสัยจากสาธารณชนเกี่ยวพันกับปัญหาที่ใหญ่กว่านั้น คือ ปัญหาว่าด้วย(การขาด)หลักนิติรัฐในสังคมไทย ซึ่งเป็นปมปัญหาใหญ่ที่สุดประการหนึ่งที่สังคมไทยกำลังเผชิญในปัจจุบัน 

รศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ
Crack Politics

ประชาธิปไตยที่(ไม่)ตั้งมั่นกับสามคำถามของคนรุ่นหลัง

Reading Time: < 1 minuteทุกครั้งที่เกิดเหตุการณ์ทางการเมืองหรือสังคมซึ่งสะท้อนความไม่ปกติ ในสังคมไทย ตัวผมเองมักจะมีคำถามอยู่เสมอว่า เราจะอธิบายเรื่องเหล่านี้ ให้คนรุ่นถัดไป เข้าใจได้อย่างไร เป็นภาระหน้าที่ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญเหมือนกัน ไม่ใช่เพียงแค่ในฐานะคนที่สอนหนังสือในมหาวิทยาลัย แต่ในฐานะคนที่อยู่ในสังคม เพราะมันก็ความยากในการที่จะอธิบายสิ่งหนึ่ง ที่เคยเป็นเรื่องที่คนรุ่นก่อนรู้สึกว่าปกติสามารถทำได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่ไทย ในปี 2567 และการยุบพรรคก้าวไกล

รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี
Crack Politics

‘ปาตานี’ ในสายตาคนรุ่นหลัง ยังมีไหม ‘ความหวัง’ แห่งสันติภาพ

Reading Time: 3 minutesคำว่า “ปาตานี” และ “เอกราช” ไม่ใช่คำที่ใส่เข้ามาอย่างไม่มีต้นสายปลายเหตุ คำทั้งสองเกิดจากความเข้าใจความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ของพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และความเข้าใจต่อปัญหาในพื้นที่ปัจจุบันของอีแป็งและเพื่อน บทสนทนานี้อาจจะช่วยให้เข้าใจเจตนาของพวกเขาได้บ้าง โดยตลอดทั้งบทความ (รวมถึงชื่อบทความ) จะขอเรียกพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า “พื้นที่ปาตานี” เพื่อให้สื่อสาร “เสียง” ของคู่สนทนาออกมาได้อย่างชัดเจนที่สุด

ปิยวัฒน์ สีแตงสุก
Crack Politics

สังคมที่แตกร้าว สัญญาณอันตรายของการเมืองอเมริกา

Reading Time: < 1 minuteการลอบสังหารนักการเมืองเป็นความรุนแรงที่เลวร้าย แต่มิใช่สิ่งแปลกใหม่ในสังคมการเมืองอเมริกัน ที่ผ่านมาเคยมีประธานาธิบดีถูกลอบสังหารจนถึงแก่ชีวิตแล้ว 4 ราย (อับราฮัม ลินคอล์น, จอห์น เอฟ เคนเนดี ฯลฯ) ไม่นับรวมอดีตประธานิบดีอีกหลายรายที่ตกเป็นเป้าหมายของความพยายามลอบสังหารทว่ารอดชีวิตมาได้ เหตุการณ์ความรุนแรงในวันที่ 17 ก.ค. ไม่ใช่เรื่องที่เหนือการคาดการณ์ในบรรยากาศที่สังคมอเมริกาแตกแยกอย่างรุนแรงที่สุดยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์

รศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ