ขยายประเด็น Archives - Decode

TAG ขยายประเด็น
Lorem ipsum dolor sit amet.

Crack Politics

ปลุกผี ‘ชาตินิยม’ ย้อนดูบทเรียนปัญหาสามจังหวัดชายแดนใต้

Reading Time: 3 minutesขยายประเด็น นวลน้อย ธรรมเสถียร ปฏิกิริยาต่อปัญหาชายแดนไทยกับกัมพูชาหนนี้ ทำให้เห็นชัดอย่างหนึ่งว่า กระแสชาตินิยมไทยนั้นปลุกได้ง่ายมาก  เราได้เห็นท่วงทำนองชาตินิยมที่ประกอบไปด้วยการทวงบุญทวงคุณ การตำหนิว่า เขมรแอบอ้างสมบัติ หรือมรดกทางวัฒนธรรม การปลุกประเด็นทวงคืนพื้นที่บางแห่ง การสนับสนุนการใช้กำลังตัดสินปัญหา และแน่นอนว่าเราได้เห็นความพยายามที่จะทำให้เสียงที่ “เห็นต่าง” เงียบลง บางทีด้วยการข่มขู่ บางครั้งด้วยความหยาบคาย ด้วยเฮทสปีชที่กำลังกลายเป็นความเคยชินของผู้ใช้โซเชียลไปแล้ว   ชาตินิยมอาจมีข้อดีในยามที่ต้องการการรวมพลังสู้ภัยคุกคาม แต่ถ้าไม่ระวังและปล่อยเลยเถิดมันก็อาจจะกลายเป็นภัยที่กัดกินตัวเอง ยังไม่นับว่ามันอาจทำลายโอกาสในการหาทางออกต่อความขัดแย้งแบบสันติ ผู้เขียนอยากจะเล่าเรื่องของชาตินิยมกับผลกระทบที่ฝากเอาไว้อย่างยาวนานในเรื่องหนึ่ง นั่นคือผลของการใช้แนวทางชาตินิยมที่มีส่วนอย่างสำคัญต่อปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ชาตินิยมที่จับต้องได้ง่ายสำหรับเรา ๆ ท่าน ๆ คือผ่านเสียงเพลง หลายคนคงได้ยินเพลงเก่าที่นำมาร้องกันใหม่หลายเวอร์ชันอย่างเพลง “บ้านเกิดเมืองนอน” เพลงนี้อยู่ในกลุ่มเพลงปลุกใจที่เกิดขึ้นในช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่สองภายใต้อิทธิพลของกระแสชาตินิยมในยุคที่ จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งแรก เพลงนี้เป็นเพลงของคณะสุนทราภรณ์ซึ่งแปลงร่างมาจากวงโฆษณาการและทำหน้าที่ช่วยแปลงสารด้านนโยบายไปสู่การปลุกใจให้พลเรือนนำไปปฏิบัติตาม “บ้านเกิดเมืองนอน” เป็นเพลงที่ชนะการประกวดเพลงปลุกใจในปี 2488 เนื้อเพลงเรียกเร้าความภาคภูมิใจตั้งแต่คำแรก ๆ “บ้านเมืองเรารุ่งเรืองพร้อมอยู่หมู่เหล่า พวกเราล้วนพงษ์เผ่าศิวิไลซ์ เพราะฉะนั้นชวนกันยินดี เปรมปรีดีใจเรียกตนว่าไทย แดนดินผืนใหญ่มิใช่ทาสเขา”  “ก่อนนี้มีเขตแดนนับว่ากว้างใหญ่ ได้ไว้พลีเลือดเนื้อแลกเอา รบ รบ รบ ไม่หวั่นใคร มอบความเป็นไทยให้พวกเรา แต่ครั้งนานกาลเก่าชาติเราเขาเรียกชาติไทย……”    ต้องขีดเส้นใต้คำว่า คนไทยเป็น […]

ขยายประเด็น

ปลุกผี ‘ชาตินิยม’ ย้อนดูบทเรียนปัญหาสามจังหวัดชายแดนใต้

Reading Time: 3 minutesขยายประเด็น นวลน้อย ธรรมเสถียร ปฏิกิริยาต่อปัญหาชายแดนไทยกับกัมพูชาหนนี้ ทำให้เห็นชัดอย่างหนึ่งว่า กระแสชาตินิยมไทยนั้นปลุกได้ง่ายมาก  เราได้เห็นท่วงทำนองชาตินิยมที่ประกอบไปด้วยการทวงบุญทวงคุณ การตำหนิว่า เขมรแอบอ้างสมบัติ หรือมรดกทางวัฒนธรรม การปลุกประเด็นทวงคืนพื้นที่บางแห่ง การสนับสนุนการใช้กำลังตัดสินปัญหา และแน่นอนว่าเราได้เห็นความพยายามที่จะทำให้เสียงที่ “เห็นต่าง” เงียบลง บางทีด้วยการข่มขู่ บางครั้งด้วยความหยาบคาย ด้วยเฮทสปีชที่กำลังกลายเป็นความเคยชินของผู้ใช้โซเชียลไปแล้ว   ชาตินิยมอาจมีข้อดีในยามที่ต้องการการรวมพลังสู้ภัยคุกคาม แต่ถ้าไม่ระวังและปล่อยเลยเถิดมันก็อาจจะกลายเป็นภัยที่กัดกินตัวเอง ยังไม่นับว่ามันอาจทำลายโอกาสในการหาทางออกต่อความขัดแย้งแบบสันติ ผู้เขียนอยากจะเล่าเรื่องของชาตินิยมกับผลกระทบที่ฝากเอาไว้อย่างยาวนานในเรื่องหนึ่ง นั่นคือผลของการใช้แนวทางชาตินิยมที่มีส่วนอย่างสำคัญต่อปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ชาตินิยมที่จับต้องได้ง่ายสำหรับเรา ๆ ท่าน ๆ คือผ่านเสียงเพลง หลายคนคงได้ยินเพลงเก่าที่นำมาร้องกันใหม่หลายเวอร์ชันอย่างเพลง “บ้านเกิดเมืองนอน” เพลงนี้อยู่ในกลุ่มเพลงปลุกใจที่เกิดขึ้นในช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่สองภายใต้อิทธิพลของกระแสชาตินิยมในยุคที่ จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งแรก เพลงนี้เป็นเพลงของคณะสุนทราภรณ์ซึ่งแปลงร่างมาจากวงโฆษณาการและทำหน้าที่ช่วยแปลงสารด้านนโยบายไปสู่การปลุกใจให้พลเรือนนำไปปฏิบัติตาม “บ้านเกิดเมืองนอน” เป็นเพลงที่ชนะการประกวดเพลงปลุกใจในปี 2488 เนื้อเพลงเรียกเร้าความภาคภูมิใจตั้งแต่คำแรก ๆ “บ้านเมืองเรารุ่งเรืองพร้อมอยู่หมู่เหล่า พวกเราล้วนพงษ์เผ่าศิวิไลซ์ เพราะฉะนั้นชวนกันยินดี เปรมปรีดีใจเรียกตนว่าไทย แดนดินผืนใหญ่มิใช่ทาสเขา”  “ก่อนนี้มีเขตแดนนับว่ากว้างใหญ่ ได้ไว้พลีเลือดเนื้อแลกเอา รบ รบ รบ ไม่หวั่นใคร มอบความเป็นไทยให้พวกเรา แต่ครั้งนานกาลเก่าชาติเราเขาเรียกชาติไทย……”    ต้องขีดเส้นใต้คำว่า คนไทยเป็น […]

นวลน้อย ธรรมเสถียร
ขยายประเด็น

สังคมจมดราม่าหรือทฤษฎีสมคบคิด ‘เจ้าหญิงเคท’ เมื่อภาพก็ใช้ยืนยันไม่ได้

Reading Time: 4 minutesมีคำถามหนักขึ้นว่า ตกลงเจ้าหญิงเคทเธออยู่ไหนกันแน่ บ้างถามถึงขนาดว่ายังทรงมีชีวิตอยู่หรือไม่ มีบ้างที่สงสัยว่าการผ่าตัดอาจไม่ได้ผลหรือไม่ก็มีโรคที่ร้ายแรงมากกว่าที่เปิดเผยออกมา มีคนถามไปถึงการถูกทำร้ายร่างกายหรือถูกกักบริเวณก็มี รวมไปถึงที่ว่าหลบซ่อนตัวด้วย คือโลกโซเชียลนั้นเหมือนจะพร้อมจะเป็นแหล่งบ่มเพาะทฤษฎีสมคบคิดตลอดเวลา

นวลน้อย ธรรมเสถียร
ขยายประเด็น

สำรวจสันติภาพ ในมือรัฐบาลเศรษฐา 20 ปีแห่งความขัดแย้ง

Reading Time: < 1 minuteวันนี้เรามีรัฐบาลจากการเลือกตั้ง แต่กลับเงียบเชียบอย่างยิ่งในเรื่องสันติภาพภาคใต้ เราแทบไม่ได้ยินนายกรัฐมนตรีเปิดเผยแนวคิดในการแก้ไขความขัดแย้งในพื้นที่นี้ต่อสาธารณะเลย การไปพบปะกับผู้นำมาเลเซียก็เน้นหนักไปในเรื่องความร่วมมือด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก ทั้ง ๆ ที่ฝ่ายมาเลเซียนั้นแสดงท่าทีให้ความสำคัญกับการมีบทบาทช่วยแก้ไขความขัดแย้งในสามจังหวัดใต้มาแต่ต้น

นวลน้อย ธรรมเสถียร
ขยายประเด็น

หะยีสุหลงยังไม่ตาย

Reading Time: 2 minutesหะยีสุหลงเป็นที่จดจำในฐานะที่เป็นผู้ยื่นข้อเรียกร้องเจ็ดข้อให้กับรัฐบาล เป็นเจ็ดข้อเรียกร้องที่ว่ากันว่าสาระของมันยังคงทันสมัยเพราะแก่นของมันยังสะท้อนอยู่ในข้อเรียกร้องของกลุ่มขบวนการที่ต่อสู้เพื่อแยกพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้อย่างกลุ่มบีอาร์เอ็น ส่วนอีกสถานะหนึ่งก็คือสถานะการเป็นผู้ถูกบังคับให้สูญหาย

นวลน้อย ธรรมเสถียร
ขยายประเด็น

‘สื่อ’ ในสนามเลือกตั้ง

Reading Time: < 1 minuteเวลาเช่นนี้จึงทำให้เราเห็นได้ถึงความสำคัญของสื่อในฐานะที่เป็นเวทีถกเถียงกันของสังคม ในฐานะที่เป็นผู้บริหารจัดการเวทีและพื้นที่ให้กับการถกเถียงเพื่อให้ผู้เสพสื่อได้ข้อมูลจากหลายฝ่ายอย่างรอบด้าน ในเรื่องนี้เราจึงเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนของเวทีดีเบทที่นักการเมืองหลายฝ่ายเข้าร่วมกับเวทีปราศรัยหาเสียงของแต่ละพรรคการเมือง ในขณะที่การจัดการเวทีดีเบทต้องอาศัยความสามารถของผู้จัดอย่างมากในการแจกลูกโยนคำถามและคุมเกม เวทีปราศรัยเป็นเวทีพูดฝ่ายเดียวที่ไม่มีการท้าทาย

นวลน้อย ธรรมเสถียร
ขยายประเด็น

คลุกวงในว่าด้วยเรื่องสื่อและจรรยาบรรณ

Reading Time: 2 minutesเพียงแค่เราใช้หลักการของการสื่อสารแบบมืออาชีพอย่างจริงจัง มันก็จะตอบโจทย์ได้แล้ว ความเป็นมืออาชีพที่จริงเป็นเรื่องที่เดินคู่มากับเรื่องของจรรยาบรรณอย่างแนบแน่น จนถึงวันนี้ก็ยังเชื่อมั่นว่า หากเรายึดหลักการการทำสื่อแบบมืออาชีพจริงจัง สิ่งนี้น่าจะยังเป็นคำตอบได้อยู่สำหรับการรับมือการทำข่าวในพื้นที่ความขัดแย้งสามจังหวัดภาคใต้ รวมไปถึงความขัดแย้งอื่น ๆ ที่เห็นกันอยู่ในที่อื่นใดรวมไปถึงความขัดแย้งทางการเมือง ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ใช่เพราะไม่ได้ใช้หลักการการสื่อสารสันติภาพ แต่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากการไม่ได้ทำงานแบบมืออาชีพมากกว่า

นวลน้อย ธรรมเสถียร
ขยายประเด็น

เดินหน้าสู่ปีที่ 19 ของความขัดแย้ง

Reading Time: < 1 minuteความขัดแย้งที่เชื่อกันว่าสงบลงก่อนหน้า เป็นแต่เพียงการเข้าสู่จุดเปลี่ยนผ่าน ก่อนหน้าปี 2547 ความขัดแย้งในพื้นที่นี้ปรากฎตัวซ้ำซากมาเนิ่นนาน บางเวลาก็หยุดหายไป บางเวลาก็ปะทุขึ้นมาใหม่เสมือนเปลวไฟที่ได้เชื้ออย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยต้องการแหวกวงล้อมจากวิธีคิดและแนวปฏิบัติเดิม ๆ เพราะชัดเจนว่าที่ทำมานั้นไม่ได้ผล

นวลน้อย ธรรมเสถียร
ขยายประเด็น

ความตายริมฝั่งแม่น้ำโกลก

Reading Time: < 1 minuteศพของยะห์รีนั้น รายงานข่าวระบุว่าถูกกระทำอย่างยับเยินจนจำแทบไม่ได้ สิ่งที่ทำให้ครอบครัวรู้ว่านี่คือยะห์รีคือแผลเป็นที่ต้นขาซึ่งเป็นเครื่องยืนยันสำหรับภรรยาของเขา แต่มีความพยายามโต้แย้งกับครอบครัวในเรื่องนี้จนกระทั่งเกิดกระแสข่าวว่า มีการผลักดันให้มีการตรวจพิสูจน์เพิ่มเติม

นวลน้อย ธรรมเสถียร
ขยายประเด็น

สันติภาพไม่ได้อยู่แค่บนโต๊ะเจรจา

Reading Time: < 1 minuteในหมู่คนทำงานในภาคประชาสังคมชายแดนใต้ เริ่มมีการตั้งคำถามมากขึ้นและอย่างจริงจังว่ากระบวนการสันติภาพที่กำลังดำเนินอยู่นั้นมีพื้นที่ให้กับประเด็นของภาคประชาชนมากน้อยเพียงใด

นวลน้อย ธรรมเสถียร
ขยายประเด็น

จับตาการพูดคุยสันติภาพสามจังหวัดใต้ บนโจทย์ใหม่ของการหาทางออกทางการเมือง

Reading Time: < 1 minuteการนัดหมายพบปะในเดือนมกราคมจึงมีความสำคัญในเชิงของการสานต่อสิ่งที่เริ่มมาแล้วรวมทั้งกลบภาพของความแน่นิ่งไปด้วยในเวลาเดียวกัน

นวลน้อย ธรรมเสถียร