ความหลากหลายทางเพศ Archives - Decode

TAG ความหลากหลายทางเพศ
Lorem ipsum dolor sit amet.

Gender & Sexuality

วาระแห่งความภาคภูมิในตัวเอง 

Reading Time: 2 minutesประเทศเต็มไปด้วยคำตอบอันปราศจากคำถาม วีรพร นิติประภา มิถุนายนถูกถือว่าเป็นเดือน Pride หรือเดือนแห่งความภาคภูมิในตัวเองของผู้มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งมีการจัดขบวนพาเหรดเดินและงานเฉลิมฉลองในหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย แต่น้อยคนจะรู้ว่างานนี้มีจุดเริ่มต้นมาจากการเรียกร้องทางการเมืองที่น่าสนใจมากครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ เรื่องทั้งหมดเริ่มจากเหตุการณ์ที่ถูกเรียกภายหลังว่า Stonewall Riots หรือจราจลสโตนวอลล์ ย่านกรีนนิชวิลเลจ ในนิวยอร์กซิตี้ วันที่ 28 เดือนมิถุนายน–3 กรกฎาคม ปี 1969 …กว่าครึ่งศตวรรษมาแล้ว การปะทะจราจลครั้งนี้ไม่ใช่ความขัดแย้งครั้งแรกระหว่างทางการอเมริกันกับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ ในช่วงทศวรรษที่ 60s ก็มีการชุมนุมเรียกร้องของนักเคลื่อนไหว LGBT ตามหัวเมืองใหญ่ทั่วอเมริกามาตลอด พักนึกภาพตามสักนิดก่อน แรกเริ่มเดิมทีก่อนหน้าหลายพันปี การเป็นคนรักเพศเดียวกันได้รับการต่อต้านจากคริสตจักรมาตลอด ไม่เพียงแต่คนที่รักเพศเดียวกันจะถูกตราหน้าว่าเป็นคนบาป ในหลายประเทศนี่ยังเป็นเรื่องผิดกฎหมาย และมีโทษตั้งแต่จำคุกไปจนถึงประหารชีวิต (ปัจจุบันยังมีการลงโทษรุนแรงในหลายประเทศมุสลิมอยู่) จนมาถึงทศวรรษที่ 60s คนที่แสดงตัวเป็นเกย์  เลสเบี้ยน แดรกควีน ทอมบอยหรือข้ามเพศก็ยังถูกกีดกัน ทั้งโอกาสงาน การเช่าบ้าน กระทั่งการเข้าคลับ บาร์ สถานบันเทิงทั่วไป เรียกว่าเป็น ’คนนอก’ และไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม ที่ที่คนเหล่านี้สามารถพบปะสังสรรค์กันจึงต้องเป็นบาร์เฉพาะ และบาร์เฉพาะหรือบาร์เกย์เหล่านี้ก็เป็นบาร์ใต้ดินหรือบาร์เถื่อนด้วย เนื่องจากไม่ได้รับสิทธิ์ให้จดทะเบียนดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมายมาแต่ต้น วนเป็นงูกินหาง …และบาร์สโตนวอลล์ อินที่ว่าก็เป็นหนึ่งในนั้น นิวยอร์กในเวลานั้นก็เป็นเมืองที่มีประชากรผู้มีความหลากหลายทางเพศอยู่จำนวนมาก และการที่ตำรวจจะบุกจับและปิดบาร์เถื่อนแบบนี้ก็เป็นเหตุประจำวันอยู่แล้ว ส่วนใหญ่ก็ด้วยข้อหาไม่มีใบอนุญาตขายสุรา แต่เที่ยงคืนวันที่ 28 มิถุนายนปีนั้นดูเหมือนตำรวจจะใช้ความรุนแรงกับบรรดาแขกของบาร์สโตนวอลล์เกินความจำเป็นไปสักหน่อย โดยมีการใช้กระบองตีผู้หญิงและหญิงข้ามเพศ แต่หลังจากจับคนหลายร้อยคนไปแล้ว เรื่องก็กลับไม่จบลงแค่นั้น มีผู้คนเริ่มเข้ามาชุมนุมรอบ ๆ บาร์เพิ่ม และเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จากหลักร้อยเป็นหลายพัน มีการเรียกร้องให้ผู้หลากหลายทางเพศเปิดเผยตัวตน และเข้าร่วมชุมนุม การประท้วงยืดเยื้อหลายวัน มีความรุนแรงน้อยใหญ่เกิดขึ้นประปราย และการประท้วงครั้งนั้นเป็นชนวนนำมาซึ่งการเดินขบวนประท้วงของกลุ่ม LGBT ทั่วประเทศอีกหลายครั้ง ซึ่งนำไปสู่การเรียกร้องการได้รับยอมรับในฐานะประชากรที่เท่าเทียมในทางกฎหมายทั่วอเมริกา และลามไปยังยุโรปกับประเทศอื่น ๆ ในเวลาต่อมา รายละเอียดเรื่องนี้สามารถหาอ่านได้ในวิกิพีเดียและเว็บต่าง ๆ ได้ แต่แก่นสารของเรื่องไม่ได้อยู่ที่จราจลที่นั่นวันนั้น  หรือกระทั่งการต่อสู้ในเวลาต่อมา หากอยู่ที่การเปิดเผยตัวตนและปฏิเสธที่จะหลบซ่อนของคนที่มีความหลากหลายทางเพศต่างหาก และนั่นก็เป็นที่มาของคำว่าไพรด์ …การยอมรับตัวเองอย่างภาคภูมิ และหลังจากนั้นเมื่อมีการรำลึกถึงเหตุการณ์ในเวลาต่อมาจึงเรียกงานนี้ว่าไพรด์ จากคนไม่กี่คนที่มารวมตัวหน้าบาร์สโตนวอลล์ในปีถัดมา  งานไพรด์ค่อย ๆ ขยายกลายมาเป็นพาเหรดประจำปีของคนนับหมื่นนับล้านตามเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อเฉลิมฉลองการเปิดเผยตัวตน เพื่อแสดงความภาคภูมิในตัวเอง เพื่อกระตุ้นให้ผู้คนมีชีวิตที่เป็นตัวเองและเลิกหลบซ่อนปิดบัง นับแต่นั้นการเป็นผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ LGBT […]

ความหลากหลายทางเพศ

วาระแห่งความภาคภูมิในตัวเอง 

Reading Time: 2 minutesประเทศเต็มไปด้วยคำตอบอันปราศจากคำถาม วีรพร นิติประภา มิถุนายนถูกถือว่าเป็นเดือน Pride หรือเดือนแห่งความภาคภูมิในตัวเองของผู้มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งมีการจัดขบวนพาเหรดเดินและงานเฉลิมฉลองในหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย แต่น้อยคนจะรู้ว่างานนี้มีจุดเริ่มต้นมาจากการเรียกร้องทางการเมืองที่น่าสนใจมากครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ เรื่องทั้งหมดเริ่มจากเหตุการณ์ที่ถูกเรียกภายหลังว่า Stonewall Riots หรือจราจลสโตนวอลล์ ย่านกรีนนิชวิลเลจ ในนิวยอร์กซิตี้ วันที่ 28 เดือนมิถุนายน–3 กรกฎาคม ปี 1969 …กว่าครึ่งศตวรรษมาแล้ว การปะทะจราจลครั้งนี้ไม่ใช่ความขัดแย้งครั้งแรกระหว่างทางการอเมริกันกับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ ในช่วงทศวรรษที่ 60s ก็มีการชุมนุมเรียกร้องของนักเคลื่อนไหว LGBT ตามหัวเมืองใหญ่ทั่วอเมริกามาตลอด พักนึกภาพตามสักนิดก่อน แรกเริ่มเดิมทีก่อนหน้าหลายพันปี การเป็นคนรักเพศเดียวกันได้รับการต่อต้านจากคริสตจักรมาตลอด ไม่เพียงแต่คนที่รักเพศเดียวกันจะถูกตราหน้าว่าเป็นคนบาป ในหลายประเทศนี่ยังเป็นเรื่องผิดกฎหมาย และมีโทษตั้งแต่จำคุกไปจนถึงประหารชีวิต (ปัจจุบันยังมีการลงโทษรุนแรงในหลายประเทศมุสลิมอยู่) จนมาถึงทศวรรษที่ 60s คนที่แสดงตัวเป็นเกย์  เลสเบี้ยน แดรกควีน ทอมบอยหรือข้ามเพศก็ยังถูกกีดกัน ทั้งโอกาสงาน การเช่าบ้าน กระทั่งการเข้าคลับ บาร์ สถานบันเทิงทั่วไป เรียกว่าเป็น ’คนนอก’ และไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม ที่ที่คนเหล่านี้สามารถพบปะสังสรรค์กันจึงต้องเป็นบาร์เฉพาะ และบาร์เฉพาะหรือบาร์เกย์เหล่านี้ก็เป็นบาร์ใต้ดินหรือบาร์เถื่อนด้วย เนื่องจากไม่ได้รับสิทธิ์ให้จดทะเบียนดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมายมาแต่ต้น วนเป็นงูกินหาง …และบาร์สโตนวอลล์ อินที่ว่าก็เป็นหนึ่งในนั้น นิวยอร์กในเวลานั้นก็เป็นเมืองที่มีประชากรผู้มีความหลากหลายทางเพศอยู่จำนวนมาก และการที่ตำรวจจะบุกจับและปิดบาร์เถื่อนแบบนี้ก็เป็นเหตุประจำวันอยู่แล้ว ส่วนใหญ่ก็ด้วยข้อหาไม่มีใบอนุญาตขายสุรา แต่เที่ยงคืนวันที่ 28 มิถุนายนปีนั้นดูเหมือนตำรวจจะใช้ความรุนแรงกับบรรดาแขกของบาร์สโตนวอลล์เกินความจำเป็นไปสักหน่อย โดยมีการใช้กระบองตีผู้หญิงและหญิงข้ามเพศ แต่หลังจากจับคนหลายร้อยคนไปแล้ว เรื่องก็กลับไม่จบลงแค่นั้น มีผู้คนเริ่มเข้ามาชุมนุมรอบ ๆ บาร์เพิ่ม และเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จากหลักร้อยเป็นหลายพัน มีการเรียกร้องให้ผู้หลากหลายทางเพศเปิดเผยตัวตน และเข้าร่วมชุมนุม การประท้วงยืดเยื้อหลายวัน มีความรุนแรงน้อยใหญ่เกิดขึ้นประปราย และการประท้วงครั้งนั้นเป็นชนวนนำมาซึ่งการเดินขบวนประท้วงของกลุ่ม LGBT ทั่วประเทศอีกหลายครั้ง ซึ่งนำไปสู่การเรียกร้องการได้รับยอมรับในฐานะประชากรที่เท่าเทียมในทางกฎหมายทั่วอเมริกา และลามไปยังยุโรปกับประเทศอื่น ๆ ในเวลาต่อมา รายละเอียดเรื่องนี้สามารถหาอ่านได้ในวิกิพีเดียและเว็บต่าง ๆ ได้ แต่แก่นสารของเรื่องไม่ได้อยู่ที่จราจลที่นั่นวันนั้น  หรือกระทั่งการต่อสู้ในเวลาต่อมา หากอยู่ที่การเปิดเผยตัวตนและปฏิเสธที่จะหลบซ่อนของคนที่มีความหลากหลายทางเพศต่างหาก และนั่นก็เป็นที่มาของคำว่าไพรด์ …การยอมรับตัวเองอย่างภาคภูมิ และหลังจากนั้นเมื่อมีการรำลึกถึงเหตุการณ์ในเวลาต่อมาจึงเรียกงานนี้ว่าไพรด์ จากคนไม่กี่คนที่มารวมตัวหน้าบาร์สโตนวอลล์ในปีถัดมา  งานไพรด์ค่อย ๆ ขยายกลายมาเป็นพาเหรดประจำปีของคนนับหมื่นนับล้านตามเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อเฉลิมฉลองการเปิดเผยตัวตน เพื่อแสดงความภาคภูมิในตัวเอง เพื่อกระตุ้นให้ผู้คนมีชีวิตที่เป็นตัวเองและเลิกหลบซ่อนปิดบัง นับแต่นั้นการเป็นผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ LGBT […]

วีรพร นิติประภา
ความหลากหลายทางเพศ

เรื่องจริงกระแสรองของคนข้ามเพศสูงวัย ไม่ใช่ทุกคนจะกลับบ้านได้ จนกลายเป็นคนไร้บ้านสูงวัยในที่สุด

Reading Time: 3 minutesฟังเสียงสะท้อนที่เราไม่ได้ยินกันบ่อยนักในการรณรงค์เรื่องสิทธิผู้มีความหลากหลายทางจากประสบการณ์ตรงของผู้มีความหลากหลายทางเพศที่มีอัตลักษณ์ทับซ้อนอย่างการเป็นผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ชนบท ของ พี่หล้า ธนิชา ธนะสาร อดีตผู้ใหญ่บ้านที่นิยามตัวเองว่าเป็นทอม และ พี่ขวัญ สุขวัญ กองดี สาวประเภทสอง จากมูลนิธิซิสเตอร์

ณัฐพร เทพานนท์
ความหลากหลายทางเพศ

ความลับหลังตู้เสื้อผ้าเจ้าชายกับช่างตัดเสื้อ ความหลากหลายไม่เคยเป็นศัตรูกับมนุษย์

Reading Time: 3 minutesกาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ช่างตัดเสื้อคนหนึ่งตัดชุดให้หญิงงามแห่งนครปารีส และองค์ชายรัชทายาทแห่งเบลเยียม ทว่าด้วยกรอบจารีตในสังคม พวกเขาจึงซ่อนความลับหนึ่งที่ไม่อาจบอกใครไว้หลังตู้เสื้อผ้า… ชวนอ่านกราฟิกโนเวลสีลูกกวาดที่ให้มากกว่าเนื้อเรื่องสนุก แต่ยังแฝงไปด้วยประเด็นทางสังคมต่าง ๆ

ณัฐพร เทพานนท์
ความหลากหลายทางเพศ

ในสังคมที่ ‘กะเทยไม่เคยชนะ’ ชวน 12 พรรคการเมืองร่างสมการสำหรับคนทุกเพศ

Reading Time: 5 minutesแม้ความเท่าเทียมทางเพศจะเป็นสิ่งที่ถูกพูดถึงมากขึ้นในปัจจุบัน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ประชาชนเพศหลากหลายยังคงเผชิญกับสถานการณ์ปัญหาและความท้าทายรายวัน ตลอดช่วงชีวิต ดังนั้นคำถามแรกที่ดังกึกก้องไปทั่วงานที่ให้เหล่าตัวแทนพรรคการเมืองได้มาโชว์วิสัยทัศน์จึงเป็นคำถามที่ว่า “พรรคของท่านมีนโยบายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเพื่อความหลากหลายทางเพศอย่างไรบ้าง”

ณัฐพร เทพานนท์
ความหลากหลายทางเพศ

‘Gender quota’ มากกว่าที่นั่งในสภาฯ หาทำ! สนามการเมืองที่เอื้อต่อความเท่าเทียมทางเพศตั้งแต่ในพรรค

Reading Time: 3 minutesทำไมเราถึงต้องเพิ่มสัดส่วนของส.ส.หญิงเข้าสภา การเพิ่มสัดส่วนนี้จะเป็นการส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศหรือพิธีกรรมสำหรับพรรคการเมืองเท่านั้น จากบทเรียน วิจัย ถึงเรื่อง Gender quota ทำไมไทยถึงยังก้าวไม่พ้นหลมปิตาธิปไตยเสียที

นทธร เกตุชู
ความหลากหลายทางเพศ

เลือดแห่งการตีตรา

Reading Time: 3 minutesเป็นที่รู้กันดีว่าประเทศไทยพบกับวิกฤตเลือดหมดคลังอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างไรก็ตาม ยังมีคนบางกลุ่มถูกกีดกันการบริจาคเลือด พร้อมข้อความที่ระบุว่า ‘ไม่รับบริจาคโลหิตอย่างถาวร’ บนเว็บไซต์ของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติสภากาชาดไทย เพราะเพศสภาพของพวกเขา

ณัฐพร เทพานนท์
ความหลากหลายทางเพศ

ไม่มีเธอ ฉัน เขา เพราะเราเป็น ‘เพียงคน’

Reading Time: 4 minutesในช่วงเวลาที่การเรียกร้องในทุกมิติกำลังเติบโต สิ่งหนึ่งที่ดูแล้วจะสะท้อนการเรียกร้องแบบไทยๆ เสียเหลือเกิน คือ ‘การถกเถียงเรื่องการใช้คำ’ ด้วยระดับภาษา ความจำกัดในการแปล ความล้าหลังในการบัญญัติศัพท์ ที่ให้ความหมายไม่ตรงกับบริบทในปัจจุบันอีกต่อไป จนทำให้ใครหลายคนดูเหมือนจะ ‘woke’ และ ‘เรื่องมาก’ เกินไปอยู่บ่อย ๆ ยังเป็นสิ่งที่เราได้เห็นกันอยู่แบบรายวัน – บางทีก็รายชั่วโมงเสียด้วยซ้ำไป

ณัฐพร เทพานนท์
ความหลากหลายทางเพศ

ถ้าหลากหลายและเท่าเทียมจริง ‘Pride month’ ก็เป็นแค่อีกเดือนหนึ่ง

Reading Time: 4 minutesเราควรสร้าง ความรู้ ความเข้าใจ ‘ความหลากหลายและเท่าเทียมทางเพศ’ ให้มากขึ้นอีก? แล้วต้องสอนกันอย่างไรหรือต้องกล่าวเรื่องในไปถึงเมื่อไหร่ นั่นคือคำถามสำคัญยิ่งกว่า

นทธร เกตุชู