Columnist Archives - Page 9 of 38 - Decode

TAG Columnist
Lorem ipsum dolor sit amet.

Columnist

สืบสันดานคนใช้ เรื่องของการสืบสันดานใน ‘สืบสันดาน’

Reading Time: 2 minutes จากสงครามครูเสดถึง ‘สืบสันดาน’ สันดานจึงไม่ใช่แค่นิสัย แต่สำหรับโตมร นับเป็นความเชื่อร่วมที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบและเป็นประวัติศาสตร์

Columnist

จวบจันทร์ แจ่มฟ้า จนกว่าจะก้าวข้าม Propaganda

Reading Time: 3 minutes ศิลปะไม่เคยรับใช้ใครจริงหรือ? คงทั้งเป็นจริงและไม่เป็นจริง แต่ที่แน่ ๆ คงไม่ใช่ศิลปะในฐานะเศษเสี้ยวของประวัติศาสตร์ไทยยุคใหม่ เพราะที่นี่ ศิลปะ คือเครื่องมืออีกชิ้นที่มีหลักฐานของการต่อสู้ ตั้งแต่ชนชั้นปกครองไปจนถึงชนชั้นแรงงาน

นทธร เกตุชู
Columnist

วิกฤติศรีลังกาในสายตาเพื่อนบ้านอินเดีย

Reading Time: 2 minutes คนอินเดียมองวิกฤตประเทศศรีลังกาอย่างไร ไปคุยกับคนอินเดียทั้ง 3 คน Rajgopal  Singhal  นักลงทุนวัย 36 ปี  Shivani  Jadhav นักบัญชี (Chartered Accountant) วัย 26 ปี และ  Gopal  Podhade นักเรียนกฎหมาย วัย 24 ปี พวกเขามองวิกฤตที่เกิดขึ้นในศรีลังกาอย่างไร

ณฐาภพ สังเกตุ
Columnist

เพลงรัตติกาลในอินเดีย เสียงเรียกระหว่างการเดินทาง คือ อินเดียที่สุดแล้ว

Reading Time: 2 minutes อินเดียมีไว้ในคนหลงทาง คีย์เวิร์ดที่ถูกพูดถึงในหนังสือเล่มนี้ การตามหาเบาะแสจากห้องสีเขียวอ่อน ติดภาพพิมพ์คล้ายเล่าเรื่องกามสูตรว่ายากแล้ว เบาะสที่ต้องไปตามต่อที่โรงพยาบาลในบอมเบย์ไม่ได้ยากน้อยกว่า ไม่ชัดเจนว่าโรงพยาบาลบรีช แคนดี้ บนถนนภูลาไบเดไซ ในบอมเบย์ วันนี้เป็นอย่างไร ?

วิภาพร วัฒนวิทย์
Columnist

ย้อนรอยระบบเลือกตั้ง (ตอนที่ 1)

Reading Time: 2 minutes อยากอธิบายความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบเลือกตั้งสำหรับเยาวชนและประชาชนทั่วไป เพื่อประโยชน์ในการติดตามการถกเถียง (ที่ยังไม่จบ) เพราะไม่ว่าระบบเลือกตั้งแบบใดถูกนำมาใช้ย่อมมีผลกระทบกับพวกเราทุกคน

รศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ
Columnist

[00.00 น.] ในนามของการรอ

Reading Time: 3 minutes ยังเหลือเวลาอีกสองนาทีก่อนถึง 00.00 น. เรากำลังรออะไรอยู่ ในพ.ศ.นั้น รงค์ วงศ์สวรรค์ รอให้ถึงวันส่งต้นฉบับ ในพ.ศ.นี้ ไรเดอร์หนุ่มขี่มอเตอร์ไซค์จากปั้มเหลืองไปปั้มน้ำเงิน ดูสิว่าแก๊สโซฮอลล์ 95 จะต่างกันสักกี่มากน้อยภาวนาขอให้ทรง ๆ ทรุด ๆ ดีกว่า “ขึ้น” แต่ถ้าเป็นไปได้ก็จะ รอจนกว่าราคาน้ำมันจะ “ลด”

ภัทราภรณ์ ศรีทองแท้
Columnist

อภิปรายไว้วางใจ

Reading Time: < 1 minute อภิปรายไว้วางใจ ใน The Silent Comic กับ #Decode ปรับวอลุ่มบทสนทนาของ “ผู้คนที่เราไม่ค่อยได้ยิน” ให้ดังขึ้นด้วยท่วงทำนองของสถานการณ์ร้อนแรงในสัปดาห์

วิสุทธิ์ กุศลมโนมัย
Columnist

เด็กไทย เป็นเด็กที่ไม่มีความสุขที่สุดในโลก

Reading Time: < 1 minute เราเป็นประเทศที่ผู้ปกครองทุ่มเทมากมายมหาศาลกับการศึกษาของลูกหลาน โดยเฉพาะชนชั้นกลาง หลายคนย้ายภูมิลำเนาเข้ามาอยู่ในเมืองใหญ่ ทำงานหามรุ่งหามค่ำไม่กินไม่ใช้ เพื่อให้ลูก ๆ ได้รับการศึกษาที่ดี แต่ข่าวคราวเลวร้ายที่ออกมาบ่อยครั้งกลับน่าวิตก จนอดคิดไม่ได้ว่าการศึกษาที่เราทุ่มเทเพื่ออนาคตลูกหลานนั่นแหละที่เป็นตัวทำลายพวกเขาเสียเอง 

วีรพร นิติประภา
Columnist

สองพี่น้องตระกูลสืบแสงกับคณะราษฎรและสามจังหวัดภาคใต้

Reading Time: 2 minutes ขยายประเด็น นวลน้อย ธรรมเสถียร วันสำคัญในเดือนมิถุนายนเพิ่งผ่านพ้นไป เตือนใจให้เรานึกถึงเรื่องของการเปลี่ยนแปลงการปกครองและคณะราษฎร ในฐานะของคนที่ทำงานเกี่ยวพันกับสามจังหวัดภาคใต้ ผู้เขียนคิดไปถึงเรื่องราวของคณะราษฎรกับความพยายามแก้ปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่นี้ของคนในกลุ่ม ซึ่งพลันที่คิดเรื่องนี้ ชื่อของสองพี่น้องตระกูลสืบแสงก็ผลุบโผล่ขึ้นมาทันที เช่นเดียวกันกับชื่อบุคคลสำคัญในคณะราษฎร และรวมไปถึงผู้นำศาสนาคนสำคัญที่ถูกอุ้มหายในอดีตคือหะยีสุหลง อับดุลกาเดร์ การจะเขียนถึงเรื่องนี้ทำให้ต้องพิจารณาสองเรื่องประกอบกัน หากเราไล่ไทม์ไลน์ทางประวัติศาสตร์สองเรื่องคือเหตุการณ์ในพื้นที่ภาคใต้ กับการเมืองในกรุงเทพฯ จะพบว่าในช่วงเวลาก่อนหน้าที่จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 มีเหตุการณ์ที่น่าสนใจเกิดขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ กล่าวคือในปี 2470 หะยีสุหลงเดินทางจากตะวันออกกลางกลับบ้านเกิดคือปัตตานี โดยมาจากเมกกะที่ซึ่งเขาไปศึกษาและใช้ชีวิตมาเนิ่นนาน การกลับสู่พื้นที่หนนี้จะทำให้หะยีสุหลงกลายเป็นผู้ที่มีบทบาทอย่างสำคัญโดยเฉพาะด้านศาสนาในพื้นที่ ส่วนพี่น้องตระกูลสืบแสงในที่นี้หมายถึงจรูญ สืบแสง และเจริญ สืบแสง พวกเขาเป็นชาวปัตตานีที่แม้จะมีอาชีพคนละอย่าง ทำงานคนละด้าน แต่ในที่สุดแล้วงานของพวกเขาล้วนเป็นเรื่องรับใช้สังคม มีข้อมูลหลายประการที่ทำให้เชื่อได้ว่าพวกเขาทั้งคู่น่าจะมีบทบาทอย่างสำคัญที่ทำให้เกิดการสื่อสารสัมพันธ์ระหว่างหะยีสุหลงกับคณะราษฎร ปรากฏการณ์ที่น่าสนใจที่เกิดขึ้นในสายสัมพันธ์นี้คือทำให้เกิดการพูดคุยเพื่อจะคลี่คลายปัญหาในพื้นที่ในช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว ซึ่งถ้าจะเรียกมันว่าเป็นกระบวนการสันติภาพช่วงแรก ๆ ก็อาจจะไม่ขัดเขินจนเกินไปนัก  จรูญ สืบแสงเป็นข้าราชการทำงานด้านการเกษตร จบการศึกษาด้านนี้มาจากฟิลิปปินส์ เขาเป็นคนหนึ่งที่ได้เข้าเป็นสมาชิกพลเรือนผู้ร่วมก่อตั้งคณะราษฎร จรูญเป็นผู้ที่กระตือรือร้นอย่างมากและเขานี่เองที่เร่งรัดผลักดันใหัมีการตัดสินใจลงมือในวันเวลาที่ชัดเจน เขาน่าจะมีสายสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับปรีดี เพราะปรากฎในเกร็ดประวัติศาสตร์อ้างโดยงานเขียนในเว็บไซต์สถาบันปรีดี พนมยงค์ว่า ในการออกเดินทางลี้ภัยปี 2476 ของปรีดีซึ่งต้องผ่านไปทางสิงคโปร์นั้น จรูญเป็นหนึ่งในสามคนที่เดินทางไปส่ง แม้จะมีรายละเอียดที่ไม่ลงรอยนักว่าไปส่งที่ไหนแน่เพราะบทความหนึ่งเขียนไว้ว่าไปส่งถึงปีนัง ขณะที่อีกบทความหนึ่งบอกว่าไปถึงสิงคโปร์ อย่างไรก็ตามนายจรูญไปส่งปรีดีพร้อมกับบุคคลอีกสองคนคือหลวงทัศนัยนิยมศึก และ ร.ท.ทวน วิชัยขัทคะ (ก่อนการอภิวัฒน์สยาม 2475: […]

นวลน้อย ธรรมเสถียร
Columnist

ว่าด้วยนายพลกับทางลงจากอำนาจในประวัติศาสตร์การเมืองไทย

Reading Time: 2 minutes อำนาจเป็นสิ่งเสพติดที่มีฤทธิ์รุนแรงที่สุด เมื่อใครได้เสพเข้าไปแล้วยากที่จะถอนตัวได้ และโศกนาฏกรรมอย่างหนึ่งของผู้มีอำนาจจำนวนมากทั่วโลกคือ ไม่รู้จังหวะเวลาว่าตนเองควรจะก้าวลงจากอำนาจเมื่อใด

รศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ
Columnist

พ.ร.บ.แห่งการเหยียด

Reading Time: < 1 minute เคยได้ยินคนหลายคนพูดว่า คน LGBT รักกันชอบกันก็อยู่กันไป ‘เฉย ๆ ’ ก็ได้นี่นา ทำไมถึงจะต้องแต่งงานกันให้เอิกเกริก และทำไมถึงแค่จัดงานแต่งงานกันเฉย ๆ ไม่ได้จะต้องมาเรียกร้องจดทะเบียน มีกฎหมายรับรองกัน มิหนำซ้ำ

วีรพร นิติประภา
Columnist

โลกสมรสกับจักรวาล สถานพำนักจิตวิญญาณจึงชุบชูชีวิต

Reading Time: 3 minutes หนังสือ Places of the soul ‘สถานพำนักจิตวิญญาณ’ ของ คริสโตเฟอร์ เดย์ แปลไทยโดยอาจารย์สดใส ขันติวรพงศ์ ให้ภาพของคำว่า ‘ออกแบบ’ แตกต่างออกไป หัวใจของการออกแบบสถาปัตยกรรมที่มีชีวิตนั้น คือ การฟังวิญญาณของสถานที่และความต้องการของมนุษย์ ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับชีวิตและจิตใจของเรา

พลอยธิดา เกตุแก้ว
Columnist

สุนทรียศาสตร์ และรัฐสวัสดิการ: แด่ ถนอม ชาภักดี

Reading Time: < 1 minute ว่าด้วย “ความงาม” สิ่งที่อาจารย์บรรยายในวันนั้นสำคัญกับผมมาก และมันมีความเกี่ยวพันกับเรื่องรัฐสวัสดิการ ความเสมอภาค ความเท่าเทียมในมิติต่าง ๆ อย่างลึกซึ้ง

รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี