Playread Archives - Decode

TAG Playread
Lorem ipsum dolor sit amet.

Play Read

‘เซาะกร่อน’ ใต้เกลียวคลื่นเศรษฐกิจพิเศษ

Reading Time: 3 minutesเซาะกร่อน (ก.) หมายถึงทำให้ร่อยหรอไปทีละน้อย ไม่แน่ว่าสุดท้ายอาจไม่เหลือพื้นที่การเติบโตของเศรษฐกิจฐานราก ไม่มีทรัพยากรที่สมบูรณ์ให้พึ่งพิง และอาจไม่เหลือวิถีชีวิตของผู้คนในภูมิภาคที่ลุ่มรวยด้วยฐานทรัพยากรอย่างภาคใต้ ไม่ใช่แค่นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ระนองและชุมพร เท่านั้น ในย่างก้าวของความเงียบ (ร่าง)พระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) 4 ฉบับกำลังย่องเข้าเทียบท่าในรัฐสภา ภาพชีวิตของคนพื้นถิ่นถูกถ่ายทอดผ่านการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ปรากฏชัดในตัวอักษรของเล่มรายงาน Land Bridge Effect ผลกระทบโครงการท่าเรือน้ำลึกแลนด์บริจน์ชุมพร – ระนอง Play Read สัปดาห์นี้จึงต้องยอมรับแต่โดยดีว่า จะมีน้ำเสียงวิชาการหน่อย ๆ เพราะเห็นควรว่า ต้องหยิบตัวเลขที่น่าสนใจจากงานศึกษาในเล่มรายงาน Land Bridge Effect มาเล่าเคล้ากับบทสนทนาของชาวระนองที่ผู้เขียนมีโอกาสพบปะสนทนาเมื่อไม่กี่วันมานี้ อย่างน้อยก็คงจะช่วยขยายเป็นภาพอนาคตให้จิตนาการได้ชัดเจนขึ้น คลื่นทะเลเล็กน้อยสามารถออกเลได้สบาย ๆ 30-50 เดซิเบล ความดังของคลื่นกระทบฝั่งในยามปกติ กำลังสร้างงานสร้างรายได้ในทุกพื้นที่ที่คลื่นซัดถึง ทุกวันนี้การทำประมงพื้นบ้านก่อให้เกิดการจ้างงานในระดับครัวเรือนและชุมชน โดยประมงขนาดเล็กทั้งเรือหัวตัด เรือโทง เรือท้ายตัด ทำให้เกิดการจ้างงานราว 1-2 คนต่อเรือหนึ่งลำ มีรายได้เฉลี่ยคนละ 450-650 บาทต่อวัน จากการใช้ระยะเวลาทำงานเพียง 4-6 ชั่วโมง ผลการสำรวจของทีมวิจัยพบว่า […]

Playread

‘เซาะกร่อน’ ใต้เกลียวคลื่นเศรษฐกิจพิเศษ

Reading Time: 3 minutesเซาะกร่อน (ก.) หมายถึงทำให้ร่อยหรอไปทีละน้อย ไม่แน่ว่าสุดท้ายอาจไม่เหลือพื้นที่การเติบโตของเศรษฐกิจฐานราก ไม่มีทรัพยากรที่สมบูรณ์ให้พึ่งพิง และอาจไม่เหลือวิถีชีวิตของผู้คนในภูมิภาคที่ลุ่มรวยด้วยฐานทรัพยากรอย่างภาคใต้ ไม่ใช่แค่นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ระนองและชุมพร เท่านั้น ในย่างก้าวของความเงียบ (ร่าง)พระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) 4 ฉบับกำลังย่องเข้าเทียบท่าในรัฐสภา ภาพชีวิตของคนพื้นถิ่นถูกถ่ายทอดผ่านการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ปรากฏชัดในตัวอักษรของเล่มรายงาน Land Bridge Effect ผลกระทบโครงการท่าเรือน้ำลึกแลนด์บริจน์ชุมพร – ระนอง Play Read สัปดาห์นี้จึงต้องยอมรับแต่โดยดีว่า จะมีน้ำเสียงวิชาการหน่อย ๆ เพราะเห็นควรว่า ต้องหยิบตัวเลขที่น่าสนใจจากงานศึกษาในเล่มรายงาน Land Bridge Effect มาเล่าเคล้ากับบทสนทนาของชาวระนองที่ผู้เขียนมีโอกาสพบปะสนทนาเมื่อไม่กี่วันมานี้ อย่างน้อยก็คงจะช่วยขยายเป็นภาพอนาคตให้จิตนาการได้ชัดเจนขึ้น คลื่นทะเลเล็กน้อยสามารถออกเลได้สบาย ๆ 30-50 เดซิเบล ความดังของคลื่นกระทบฝั่งในยามปกติ กำลังสร้างงานสร้างรายได้ในทุกพื้นที่ที่คลื่นซัดถึง ทุกวันนี้การทำประมงพื้นบ้านก่อให้เกิดการจ้างงานในระดับครัวเรือนและชุมชน โดยประมงขนาดเล็กทั้งเรือหัวตัด เรือโทง เรือท้ายตัด ทำให้เกิดการจ้างงานราว 1-2 คนต่อเรือหนึ่งลำ มีรายได้เฉลี่ยคนละ 450-650 บาทต่อวัน จากการใช้ระยะเวลาทำงานเพียง 4-6 ชั่วโมง ผลการสำรวจของทีมวิจัยพบว่า […]

วิภาพร วัฒนวิทย์
Playread

นักโทษทางภูมิศาสตร์ Made by China, America First

Reading Time: 2 minutesไม่ว่าพี่เบิ้ม จะไปที่ไหน ก็มักจะเหนี่ยวรั้งตัวเองไว้ด้วยความหวาดระแวง เร้าสัญชาตญาณของแย่งชิงที่ติดตัวมาแต่ดั้งเดิม แม้ว่าจะหลุดพ้นจากโซ่ตรวนของแรงโน้มถ่วง แต่ก็ถูกจองจำด้วยภูมิศาสตร์ มันคือพันธนาการที่นิยามชาติและสามารถเป็นอะไรได้อีกในระเบียบโลกใหม่ และเป็นพันธนาการที่ผู้นำโลกอย่างจีนและอเมริกาพยายามจะดิ้นให้หลุด บางฉากจึงดำเนินต่อไปในปริศนาธรรม Wherever you go, there you are. แม้ Tim Marshall จะตั้งชื่อหนังสือ Prisoners of Geography แต่ในสำนวนแปลของ คุณากร วาณิชย์วิรุฬห์ หยั่งรากไปถึงที่ที่เราอยู่คือที่ที่หล่อหลอมเรามา ฉันนึกตลกกลับหัวกลับหาง ที่ใดมีพี่เบิ้ม ที่นั่นมักเป็นอื่น ไม่ลงรอย มันคอยกำหนดโฉมหน้าของสงคราม อำนาจ การเมือง รวมถึงพัฒนาการทางสังคมของคนกลุ่มต่าง ๆ บัดนี้พี่เบิ้มได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเกือบทุกส่วนของโลก อาจดูเหมือนว่าเทคโนโลยีเอาชนะระยะห่างระหว่างพื้นที่และเวลา ก็อย่าลืมว่า ผืนดินที่เราพำนัก ทำงาน และเลี้ยงดูลูกหลานนั้นเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมและทางเลือกของผู้นำโลกบนดาวเคราะห์สีน้ำเงิน ลิขิตชะตาชีวิตด้วยแม่น้ำ เทือกเขา ทะเลทราย ทะเลสาบ และท้องทะเล เหมือนปกหลังแห่งยุคสมัยของการขับเคี่ยวชิงดีในดินแดนอันไกลโพ้น   เพราะ ที่ราบ รัสเซียจึงแข็งกร้าว เพราะ ขุนเขา จีนและอินเดียจึงบาดหมาง เพราะ […]

ภัทราภรณ์ ศรีทองแท้
Playread

นักบันทึกเรื่องราว ‘จุดไม่อาจย้อนกลับ‘ ของสิ่งแวดล้อม

Reading Time: 2 minutesหรือเรากำลังบันทึกวิกฤตสิ่งแวดล้อม ที่ประชาชนต่างต้องต่อสู้ เพราะนี่อาจเป็นโอกาสสุดท้ายแล้วจริง ๆ  ในฐานะคนทำข่าวที่ก้าวเท้าเข้ามาในสายอาชีพยังไม่ครบปี การทำงานสื่อสารประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมไม่เคยเป็นงานง่าย ต้องร้อยเรียงสมการได้ – เสียของคนสองฝ่าย การคัดค้านของชุมชน การพัฒนาของรัฐและนายทุน ที่แฝงไปด้วยผลประโยชน์ กฎหมาย อำนาจการเมือง รวมถึงต้องเข้าใจกลไกธรรมชาติ ระบบนิเวศที่เชื่อมโยงความหลากหลายทั้งในมิติชีวิตและวัฒนธรรม ท่ามกลางโลกที่หมุนด้วยทุนนิยมเป็นแกน การพัฒนาไม่เคยหยุดยั้ง หนังสือ Earth’s Cry ที่เขียนโดยฐิติพันธ์ พัฒนมงคล สื่อมวลชนสายสิ่งแวดล้อมและอดีตประธานชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม กระตุกต่อมความคิดให้เราเชื่อมโยงภาพพิบัติภัยและการพัฒนาที่ไร้หัวใจได้อย่างชัดเจน งานข่าวสิ่งแวดล้อมในโลกที่ไม่อาจหยุดยั้งการพัฒนาจึงต้องทำการสื่อสารเชิงลึก ชี้เหตุแห่งปัญหา โดยไม่ละทิ้งว่าต้องมีทางออกให้กับทุกผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น แต่หลายครั้งที่พบว่ากว่าจะตั้งต้นเจรจาพูดคุย เข้าใจประเด็นปัญหาและตั้งหลักแก้ไข ก็จวนตัวเกินไปเพราะสิ่งแวดล้อมถูกทำลายไปแล้วไม่มากก็น้อย ยิ่งช้า ก็เท่ากับต้องเสียเวลาฟื้นฟู และในเส้นทางของการปกป้องสิ่งแวดล้อมมักมีภาพของประชาชนนักปกป้องสิทธิลุกขึ้นมาต่อสู้ เรียกร้องสิทธิของประชาชน บทสรุปของปัญหาอาจแก้ไขสำเร็จบ้างไม่สำเร็จบ้าง และบ่อยครั้งที่พบว่า ทรัพยากรธรรมชาติจวนสิ้นลมหายใจก่อนจะถึงปลายทาง ก่อนที่เราจะตระหนักได้ว่าสิ่งแวดล้อมมาถึงจุดที่ไม่อาจย้อนกลับไปเป็นดังเดิมได้อีกแล้ว ยิ่งเมื่อได้แลกเปลี่ยนกับผู้คนที่เติบโตในช่วงยุคทองของสิ่งแวดล้อมเฟื่องฟู ยิ่งนึกภาพไม่ออกว่า อะไรเป็นจุดพลิกผันให้ข่าวสิ่งแวดล้อมกลืนกลายไปเป็นเนื้อหาท้าย ๆ ในหน้าฟีดข่าว แม้กองบรรณาธิการ ‘สายสิ่งแวดล้อม’ จะยังคงมีอยู่ แต่ก็บางเบา เสมือนมีอำนาจบางอย่างถูกบดบัง กดทับให้เงียบงัน ไม่ต่างกับสิทธิของคนที่กำลังลุกขึ้นมาปกป้อง เป็นปากเสียงให้กับสิ่งแวดล้อมที่รัฐและทุนต่างไม่ได้ยิน  เรื่องบางเรื่อง อาจไม่ใช่เพราะการลงโทษของธรรมชาติ หากแต่เป็นฝีมือมนุษย์ […]

ณัฐณิชา มีนาภา
Playread

ไม่มีพรมวิเศษใน ‘รัก’ ต้องห้าม เหนือดินแดนแห่งปีศาจ

Reading Time: 2 minutesการเดินทางเข้าไปในความใกล้ชิดและซึมซับอย่างเงียบๆ ในจักรวาลแห่งเวทมนตร์ของการ์เซีย มาร์เกซ ปีศาจที่ไม่ใช่ปีศาจที่มีเลือดเนื้อ ไม่ใช่วิญญาณ แต่เป็นระบบของสังคมที่ไม่อณุญาตให้ความรักของบาทหลวงและหญิงสาวดำรงอยู่ได้ 

ฟาห์เรนน์ นิยมเดชา
Playread

Free Visa สวรรค์บนดินของ “จีนเทา” ในไทย

Reading Time: < 1 minuteทุกวันนี้ ถ้าเราเลื่อนฟีดโซเชียลมีเดีย หรือเปิดชมข่าวทางโทรทัศน์ แล้วมีข่าวคดีอะไรขึ้นมาซักอย่างหนึ่ง เมื่อลองคลิกเข้าไปอ่านเนื้อหาข่าวดี ๆ เราจะพบว่าข่าวนั้นอาจมีเรื่อง จีนเทา เข้ามาเกี่ยวข้อง ทำไม ‘จีนเทา’ เข้ามาทำความผิดในประเทศไทยได้ง่ายขนาดนั้น? จริง ๆ แล้วจีนเทาไม่ได้จู่ ๆ เกิดขึ้นมาแล้วทำความผิดในไทยเลย ก่อนหน้านี้จีนเทาอาศัยช่องว่างทางกฎหมายในประเทศจีนดำเนินการทำสิ่งผิดกฎหมายต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่นข่าวเรื่องแก๊งคอลเซ็นเตอร์ แต่ต่อมาเมื่อประชาชนจีนถูกหลอกมากขึ้นเรื่อย ๆ จนรัฐบาลรับเรื่องร้องเรียนนี้ต่อไปอีกไม่ไหว จีนจึงลงมือกวาดล้างครั้งใหญ่ ทำให้ขบวนการเหล่านี้ถูกไล่ล่า จนจีนเทาต้องกระจายตัวเองไปยังประเทศอื่น ๆ ซึ่งในบางประเทศก็ปราบปรามได้ แต่ในบางประเทศก็ยังปราบปรามไม่ได้ นอกจากทางการจีนจะปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในจีนแล้ว ยังทำให้จีนเทาที่ทำสิ่งผิดกฎหมายอื่น ๆ ในจีนกระจัดกระจายไปด้วย บวกกับกฎหมายของไทยมีช่องว่าง ผู้บังคับใช้กฎหมายก็อ่อนแอ ทำให้คนไทยได้รับความเสี่ยงเหล่านี้โดยไม่ทันได้ตั้งตัว ช่องว่างทางกฎหมายคือด่านแรกที่ทำให้จีนเทาสามารถเข้ามาทำสิ่งผิดกฎหมายได้ก็คือเรื่อง วีซา โดยเฉพาะช่วงหลังที่มีฟรีวีซา คุณชาดา เตรียมวิทยา ผู้เขียนหนังสือเรื่อง “จีนเทา : จีนใหม่ไทยแลนด์” ได้เขียนอธิบายไว้ว่า ชาวจีนที่อพยพเข้ามาใหม่นั้นได้อาศัยจังหวะนี้ในการทำสิ่งผิดกฎหมายซึ่งดูเหมือนจะส่งผลกระทบทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ และกฎหมาย และสิ่งน่ากังวลที่สุดก็คือ ผลกระทบด้านอาชญากรรมผิดกฎหมายที่แฝงตัวเข้ามาในรูปแบบต่าง ๆ  วีซาของคนจีนที่เข้ามาในไทยนั้นมีหลายประเภท เช่น วีซานักเรียน […]

จิรภา ประทุมมินทร์
Playread

แด่รักที่ไม่ลงเอย และดอกไม้ที่ไม่เคยงอกงาม

Reading Time: 2 minutesเสียงนับเลขที่ไม่มีใครนับต่อ เกมซ่อนหาที่ไม่มีผู้หา แม่ที่ไม่ยิ้มเหมือนเดิม พ่อที่เดินออกจากบ้านโดยไม่หันหลังกลับ และเด็กคนหนึ่งที่หลงเหลืออยู่ในบ้านว่างเปล่า กับโต๊ะไม้ฝุ่นเกาะและจานมาม่าเย็นชืด

ธเนศ แสงทองศรีกมล
Playread

พรรคราชการไม่มีวันตาย

Reading Time: 2 minutesก่อนจะถึงบรรทัดสุดท้าย ก็ ‘เบื่อหน่าย’ ซะก่อน หลายปีมานี้คนไทยยื่นภาษีง่ายขึ้นผ่านระบบออนไลน์ ใช่ ใช่ มันง่ายและสะดวกมากขึ้น เป็นวิธีการที่พยายามอำนวยความสะดวก ลดรูปความเป็นราชการโดยใช้ระบบออนไลน์เป็นตัวช่วย แต่แค่ลดรูปเท่านั้น รากทางความคิดเชิงระบบระเบียบยังอยู่ ต้นปี 2568 เพื่อนของเรายื่นภาษีผ่านระบบออนไลน์ ผ่านไปหลายเดือนจนเราได้เงินภาษีโอนคืนมา แต่ใน User ของเพื่อนยังแจ้งเตือนในระบบว่าขอเอกสารเพิ่ม เขาส่งเอกสารเข้าระบบตามที่มีการแจ้งว่ายังขาด มันน่าจะจบใช่ไหม ? แต่ยัง ยังไม่ได้เงินคืนแม้เวลาผ่านไปนานหลายเดือนจนเกือบถอดใจ ได้ภาษีคืนรึยัง ? เราถาม เพราะความยุ่งยากในการติดต่อเจ้าหน้าที่ทำให้เราไม่ได้รับคำถาม คำถามที่ว่าวนซ้ำมากกว่า 3 ครั้งในรอบหนึ่งเดือน ในที่สุดเพื่อนของเราก็ต่อสายโทรกลับไปที่เจ้าหน้าที่ภาษีในจังหวัดชุมพร แต่เจ้าหน้าที่สรรพากรบอกเรื่องการยื่นเอกสารเพิ่มเติมดังกล่าวยังค้างอยู่ที่ศูนย์ใหญ่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี อย่างเดียวที่ทำได้คือ รอ รอ รอต่อไป                          เดือนเศษไม่ได้รับการตอบกลับจากเจ้าหน้าที่ ผู้ยื่นภาษีติดต่อไปผ่านเบอร์โทรศัพท์หน่วยงานราชการ และอย่างที่รู้โทรไม่สำเร็จในครั้งแรก หลายวันต่อก็ยังโทรจนโชคเข้าข้าง หลังรอสายอยู่หลายนาทีเจ้าหน้าที่ปลายสายแจ้งว่ามีการกรอกหมวดหมู่ที่มารายได้พิเศษผิดประเภท ผู้ยื่นภาษียืนยันกลับว่า ไม่มีหมวดหมู่ดังกล่าวในระบบ และเราเองซึ่งมีรายรับในหมวดหมู่เดียวกันนั้นก็ยืนยันว่าไม่มีหมวดหมู่ให้เลือกกรอกตามที่เจ้าหน้าที่อ้าง ตัวเราจึงเลือกกรอกหมวดหมู่อื่นที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งไม่พบปัญหาเพราะได้เงินคืนมาจากสรรพากรมา 3-4 เดือนก่อนหน้านี้แล้ว เจ้าหน้าที่ปลายสายตอบกลับหลังคุยเป็นเวลาหลายนาที เธอบอกให้เขาเขียนเอกสารชี้แจงและขอแก้ไขหมวดหมู่เงินได้ใหม่ด้วยลายมือ เขียนในกระดาษแล้วลงนามกำกับ จากนั้นก็อัปโหลดลงในระบบออนไลน์ เจ้าหน้าที่เธอต้องการเอกสารที่ว่าไปทำไมกัน ทั้ง ๆ […]

วิภาพร วัฒนวิทย์
Playread

ไม้ขีดไฟก้านเดียวของ ชุน แท-อิล

Reading Time: 4 minutesลมหนาวในบ่ายวันที่ 13 พฤศจิกายน 2513 หน้าตลาดสันติภาพ กรุงโซล ท่ามกลางความมืดมิดของสิทธิแรงงาน สิทธิเสรีภาพ จากระบอบโครงสร้างทุนและรัฐเผด็จการ มีไม้ขีดไฟก้านหนึ่ง จุดประกายความคิดสังคมเกาหลีและจากโลกนี้ไปพร้อมเปลวไฟลุกท่วมร่าง บ่ายวันนั้น ไม้ขีดไฟก้านหนึ่งชื่อ ‘ชุน แท-อิล’ พาให้สังคมเกาหลีใต้มองเห็น ‘สิ่งที่ทุกคนเลี่ยงจะมองไม่เห็นมันไม่ได้ เพราะคุณเห็นมันทุกเวลา’ นั่นคือ ความเป็น “คนจนเหลือเฝือ” ไม่ได้ถูกขูดรีดโดยใครคนใดคนหนึ่งเท่านั้น แต่เป็นการกดทับจากระบบโครงสร้าง ที่ประกอบขึ้นโดย “คนที่มีจนเหลือเฝือ” เพียงส่วนน้อยแต่กดทับคนส่วนมากเอาไว้

นทธร เกตุชู
Playread

เดินกลับบ้านด้วยกัน สัญญะอันยอกย้อน

Reading Time: 2 minutesแล้วเดินกลับบ้านด้วยกันนะ คำเชื้อเชิญให้สำรวจและตรวจสอบคลื่นในชายฝั่งของตัวเอง ทั้งหมดจด ลึกซึ้ง และกว้างไกล เพื่อกลายเป็นส่วนหนึ่งของความเร้นลับอันไกลโพ้น และทิ้งเราไว้กับอุดมคติที่ยังคงก้องกังวานในใจราวกับถูกคลื่นซัดเข้าสู่ห้วงยามของความเป็นความตายมันไม่ยอมให้เราผ่านไปได้โดยไม่ทิ้งร่องรอย 

ภัทราภรณ์ ศรีทองแท้
Playread

ระหว่างทางกลับบ้าน

Reading Time: 2 minutesPlayread ค่ำคืนนี้ชวนผู้อ่านจัดกระเป๋าออกเดินทางกลับบ้านด้วยกัน บางขณะที่ต่างคนต่างใช้ชีวิตเราก็ต่างหาทางกลับบ้านของตัวเอง เป็นบ้านที่คุณจะได้ “พบ” เป็นบ้านที่คุณจะได้ “รัก” ในสถานพำนักอันเป็นนิรันดร์

ณัฐณิชา มีนาภา
Playread

การเดินทางเพื่อกลับมา ‘บ้าน’ แห่งแปดขุนเขา

Reading Time: 2 minutesคำถามสุดท้ายของหนังสือ แปดขุนเขา ที่เขียนโดย เปาโล คอนเย็ตติ เป็นวรรณกรรมแนวความสัมพันธ์ของเพื่อนที่ได้รับรางวัล The Strega Prize ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมาก เป็นอีกหนึ่งเล่มที่บรรดานักอ่านทั้งเทศและไทย มีไว้บนชั้นหนังสือ เป็นวรรณกรรมที่เล่าเรื่องของชายสองคน เพื่อนผู้ซึ่งเลือกเส้นทางชีวิตที่ต่างกัน ระหว่างปีเอโตร จากเมืองมิลาน (Pietro) และ บรูโน่ (Bruno) ที่เติบโตมากับภูเขา แถบ วัล ด’ออสตา (Val d’Aosta) แปดขุนเขาเป็นความเชื่อดั้งเดิมของชาวเนปาลที่เชื่อว่า “มีขุนเขาสูงยิ่งอยู่ใจกลางโลก ชื่อเขาพระสุเมรุ รอบเขาพระสุเมรุมีแปดขุนเขาและแปดมหาสมุทร”

ฟาห์เรนน์ นิยมเดชา
Playread

Empathy 101 : เปิดโหมด On เพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคม

Reading Time: 2 minutesหนังสือ “On Empathy” โดยดุจดาว วัฒนปกรณ์ นักจิตบำบัดด้วยศิลปะการเคลื่อนไหว หรือถ้าจากที่เรารู้จักก็คือคุณดุจดาว จากรายการพอดแคสต์ที่ชื่อว่า “R U OK” จะพาเราไปรู้จักกับคำคำนี้ให้ลึกซึ้งขึ้น สำหรับเราเมื่ออ่านจบขอเรียกว่าเป็น Empathy 101 ได้เลย

จิรภา ประทุมมินทร์