Conflict Resolution Archives - Page 13 of 34 - Decode

CATEGORY Conflict Resolution
Lorem ipsum dolor sit amet.

Welfare state

ความเป็นธรรมด้านการเดินทาง

Reading Time: 3 minutesชาวบ้าน ชาวช่อง รศ.ดร.บุญเลิศ วิเศษปรีชา ผมขออนุญาตเริ่มต้นด้วยการชวนให้คิดถึงเรื่องสามเรื่อง เรื่องแรก คือเสียงบ่นของคนกรุงที่เดินทางด้วยรถเมล์ เรื่องสอง คือ อุบัติเหตุของคนขับขี่รถจักรยานยนต์ และเรื่องสามคือ ภาพจำว่า เมืองที่เจริญคือเมืองที่มีรถไฟฟ้า สามเรื่องข้างต้น บางคนอาจคิดว่า พอจะเกี่ยวข้องกันบ้างเพราะเกี่ยวกับการเดินทางเหมือนกัน แต่ผมขอชี้ชัด ๆ ว่า หากเรามองทั้งสามเรื่องนี้ ด้วยแนวคิด ความเป็นธรรมด้านการเดินทาง (transport justice) ก็จะพบว่า สามเรื่องนี้เกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด เพราะบ่งชี้ถึงว่า เราจะมีเมืองที่มีการเดินทางที่เป็นธรรมได้อย่างไร ผมเคยเขียนเกี่ยวกับ เมืองที่เป็นธรรม (just cities) มาแล้วอย่างน้อยสองตอน[i] ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ประเด็นความเป็นธรรม เป็นประเด็นที่ถูกให้ความสำคัญมากขึ้นในการถกเถียงเรื่องเมืองปัจจุบัน ส่งผลให้การวางแผนนโยบายเกี่ยวกับการเดินทางหันมาให้ความสำคัญกับความเป็นธรรมด้านการเดินทาง ถือเป็นส่วนหนึ่งของการทำให้เมืองมีความเป็นธรรมมากขึ้น เพราะมนุษย์เมืองส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง มีน้อยคนที่จะทำงานอยู่บ้าน หรือไม่ได้เดินทาง แต่เดิม เมื่อคิดถึงเรื่องการเดินทางสิ่งที่ถูกให้ความสำคัญก็คือ ประสิทธิภาพ (efficiency) ของการเดินทางที่มุ่งตอบโจทย์ว่า จะทำให้คนสามารถเดินทางจากจุดหนึ่งไปถึงอีกจุดหนึ่งอย่างรวดเร็วได้อย่างไร รถยนต์ จึงถูกให้ความสำคัญมากกว่าการเดินเท้าหรือการใช้จักรยาน และหากจะขนคนให้มาก ๆ การเดินทางด้วยระบบขนส่งทางราง ที่บ้านเรามักเรียกกันว่า รถไฟฟ้า หรือระบบขนส่งรถไฟรางเบา […]

Conflict Resolution

‘นิวอ่าวกุ้ง’ ที่ไม่ใช่เศรษฐกิจเสาพระภูมิ เมื่อการพัฒนาไม่จำเป็นต้องอยู่ขั้วตรงข้ามกับการอนุรักษ์

Reading Time: 3 minutesภายใต้ตัวละครที่หลากหลายและคิดต่างกัน ทั้งชาวบ้านที่เห็นด้วยกับการสร้างขุดลอกร่องน้ำเพื่อสร้างมารีน่า และชาวบ้านที่กังวลถึงผลกระทบที่จะตามมา กรมเจ้าท่าและหน่วยงานรัฐในพื้นที่ที่มีบทบาทในฐานะผู้เล่น รวมถึงนักวิชาการที่มาร่วมหาทางออกให้กับชุมชน

เหตุใด เมื่อเกิดโครงการพัฒนาในพื้นที่ธรรมชาติเหล่านี้ การพัฒนาถึงสวนทางกับการอนุรักษ์เสมอ

นทธร เกตุชู
Conflict Resolution

จับพิรุธ! ขุดร่องน้ำอ่าวกุ้ง ร่องน้ำ(ทิพย์)?

Reading Time: 4 minutesDe/code เดินทางลงพื้นที่บ้านอ่าวกุ้ง จ.ภูเก็ต เพื่อจับตาและหาข้อเท็จจริง กรณีโครงการขุดร่องน้ำอ่าวกุ้ง (ท่าเล) ที่กำลังจะกระทบวิถีชาวประมง และแหล่งปะการังที่สำคัญของพื้นที่

ณฐาภพ สังเกตุ
Conflict Resolution

‘เพื่อชีวิตกู’ เพื่อชีวิตใครในสามตัวโน้ตของอาชีพสามัญประจำเพลงเพื่อชีวิต

Reading Time: 4 minutesเพลงเพื่อชีวิตไม่เคยหายไปจากสังคมไทย สังคมไทยยังมอบการสู้ชีวิตให้กับคนหลายกลุ่มอยู่เสมอ ตั้งแต่อาชีพรับจ้างหาบเร่ ไปจนถึงพนักงานออฟฟิศเงินเดือนครึ่งแสนก็เป็นได้

นทธร เกตุชู
Conflict Resolution

พลิกฟ้าเมืองเทวดาให้เท่าเทียมผ่านการเลือกตั้ง ผู้ว่าฯกทม. : ความเหลื่อมล้ำเกิดจนตายในเมืองหลวง

Reading Time: 2 minutesการเลือกตั้ง ผู้ว่า กทม. ครั้งนี้อาจไม่ได้เป็นการเปลี่ยนแปลงทุกอย่างได้ แต่อาจเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญ ซึ่งสำหรับผู้ปรารถนาความเสมอภาค เราต้องการคนที่สามารถพลิกฟ้าเมืองเทวดาให้เท่าเทียม และท้าทายกับทุกความเหลื่อมล้ำในมหานครแห่งนี้

รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี
Conflict Resolution

เดิมพันของชุมชนโบราณ ‘เขาโต๊ะกรัง’ ความหวังสุดท้ายที่จะไม่ถูกทำลายจากนายทุนเหมืองหิน

Reading Time: 3 minutesDe/code นำเอาเรื่องราวการต่อสู้ของชาวบ้านเพื่อปกป้องเขาโต๊ะกรัง มาถ่ายทอดไว้ในบทความชิ้นนี้ และชวนไปสำรวจทรัพยากรที่ล้ำค่าในเขาโต๊ะกรัง

ณฐาภพ สังเกตุ
Conflict Resolution

กล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติ ความสำเร็จของนักดาราศาสตร์ไทย

Reading Time: < 1 minuteทันทีที่เห็นจานรูปทรงพาราโบลอยด์ขนาดใหญ่ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางกว่า 40 เมตร กำลังถูกช่างประกอบท่ามกลางแสงแดดจ้า ความง่วงก็ถูกกระชากหายไปแทนที่ด้วยความตื่นเต้น นั่นเพราะบุคคลากรตั้งแต่วิศวกรที่คุมไซต์ก่อสร้างไปจนถึงคนงานล้วนเป็นคนไทยทั้งหมด

นิศาชล คำลือ
Conflict Resolution

’ฟอกเขียว’ ในตลาดคาร์บอนเครดิต ควักเงินจ่ายเพื่อมีสิทธิ์สร้างมลภาวะเพิ่ม?

Reading Time: 3 minutesแนวคิดของคาร์บอนเครดิตคือการสร้างแรงจูงใจให้บริษัทเหล่านี้ รับผิดชอบต่อการใช้สอยประโยชน์ทรัพยากรของสาธารณะ หรือเป็นเพียงแค่ช่องโหว่ทางเศรษฐศาสตร์ ที่จะให้นายทุนสามารถปล่อยของเสียต่อไปได้ เพียงแค่ให้ตัวเลขของคาร์บอนเครดิตจากกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละบริษัทเพิ่มมากขึ้น

นทธร เกตุชู
Conflict Resolution

“คนเท่ากัน” ในทางเศรษฐกิจ เริ่มที่ “ประชาธิปไตยในที่ทำงาน” – ฉัตรชัย พุ่มพวง

Reading Time: 4 minutesเมื่อโลกการทำงานที่ ไม่มีงานไหนที่ใช้แต่แรง ไม่มีงานไหนที่ใช้แต่สมอง เราทุกคนคือแรงงาน แต่นั่นไม่ง่ายเลยกับการรวมแรงงานในวันนี้ เมื่อทั้งมายาคติ  วิถีชีวิต และวัฒนธรรม ภายใต้คำว่า “การทำงานในโลกทุนนิยม” ยังคงเกาะแน่น และรัดรึงเราให้ห่างจากการมองเห็น “พลัง” ของการรวมตัวในฐานะแรงงาน ผู้ซึ่งคือ “คนสำคัญ” และเป็นฐานความสำเร็จของนายทุนขนาดใหญ่

กัลยาวีร์ แววคล้ายหงษ์
Conflict Resolution

คุยกับ ‘เหยื่อ’ ชั้นผู้น้อยในแวดวงสีกากี มายา(คติ)หญิงเป็นเหตุให้ถูกคุกคามทางเพศ

Reading Time: 2 minutesเจล ข้าราชการสาววัย 26 เปิดใจเล่าถึงภาวะป่วยไข้ทางกายและใจ จากการคุกคามทางเพศของเพื่อนชายในสถานที่ราชการ

ทิพากร ไชย​ประสิทธิ์​
Conflict Resolution

ถ้าชีวิตต้องการความถูกต้อง รัฐสวัสดิการจึงเป็นคำตอบของ ‘เกษม เพ็ญภินันท์’

Reading Time: 2 minutesรัฐสวัสดิการไม่เพียงตอบโจทย์ทางการเมืองหรือเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังตอบโจทย์ทางจริยศาสตร์เรื่องของ well being ด้วย

ธีทัต จันทราพิชิต
Conflict Resolution

ตาดวงใหม่ของมนุษยชาติ

Reading Time: < 1 minuteSpace for Thai นิศาชล คำลือ ว่ากันว่าความงามไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเสมอไป เนื่องด้วยข้อจำกัดทางธรรมชาติที่อนุญาตให้มนุษย์มองเห็นวัตถุได้เพียงช่วงคลื่นที่ตามองเห็นเท่านั้น เมื่อดวงตาไม่อาจมองเห็น มนุษย์จึงจำเป็นจะต้องใช้สติปัญญาแทนดวงตาเพื่อมองให้เห็นถึงความงามที่ไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ในปี ค.ศ. 1990 กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลได้ถูกส่งขึ้นไปโคจรรอบโลกที่ความสูงประมาณ 570 กิโลเมตร มันสามารถมองเห็นวัตถุได้ทั้งในช่วงคลื่นที่ตามองเห็น ช่วงคลื่นแสงอินฟราเรด และช่วงคลื่นอัลตราไวโอเลต ฮับเบิลประสบความสำเร็จอย่างมากในการเป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศ ด้วยดวงตาของมันทำให้นักดาราศาสตร์สามารถศึกษาวัตถุและปรากฏการณ์ใหม่ ๆ ในอวกาศได้มากมาย สร้างผลกระทบเชิงบวกเป็นวงกว้างให้กับวงการดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และข้อมูลจากฮับเบิลยังถูกนำมาอ้างอิงในงานวิจัยของนักวิจัยอยู่เสมอ ๆ จนถึงนักวิจัยรุ่นปัจจุบัน จะเรียกว่าเป็นดวงตาของมนุษยชาติเลยก็ว่าได้ แต่คุณผู้อ่านสังเกตเห็นอะไรในความสมบูรณ์แบบนี้ไหม? หากนับตั้งแต่ปีที่ฮับเบิลถูกส่งขึ้นไปปฏิบัติหน้าที่จนถึงวันนี้ ณ ที่เขียน พบว่ากล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลมีอายุการทำงานมากว่า 32 ปีแล้ว แม้มันจะเป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศที่ถูกออกแบบมาให้สามารถส่งนักบินอวกาศไปทำการซ่อมแซมเมื่อชำรุดได้ แต่เราได้ส่งนักบินอวกาศออกไปซ่อมแซมมันอยู่เสมอมากถึง 5 ครั้งแล้ว และการส่งมนุษย์ออกไปทำงานกลางอวกาศแบบนั้น นับเป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงสูง ยิ่งเราดึงดันจะซ่อมมันอยู่เรื่อย ๆ จะยิ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้กับนักบินอวกาศ หน่วยงานอวกาศอย่างนาซ่า องค์การอวกาศยุโรป และอีกหนึ่งพันธมิตรอย่างองค์การอวกาศแคนาดาจึงได้พยายามที่จะสร้างกล้องโทรทรรศน์อวกาศรุ่นใหม่ขึ้นมาเพื่อทดแทนการทำงานของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ทั้งนี้พวกเขายังตั้งเป้าให้กล้องโทรทรรศน์อวกาศรุ่นใหม่ที่ว่าสามารถล้วงลึกจักรวาลไปได้ไกลถึงจุดกำเนิดของทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อไขปริศนาในการมีอยู่ของเอกภพ และนั่นก็คือจุดกำเนิดของ “กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์” กล้องโทรทรรศน์อวกาศชนิดสะท้อนแสงทายาทรุ่นน้องที่อ้างอิงการสร้างมาจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล เป็นเวลาเกือบสามทศวรรษในการวางแผนพัฒนาและปรับปรุง จนในที่สุด เจมส์ เวบบ์ […]

นิศาชล คำลือ
Conflict Resolution

การรวมตัวของแรงงานรุ่นใหม่ : นับหนึ่งการต่อสู้ก้าวแรกที่ไม่เคยยากเกินไป

Reading Time: < 1 minuteแรงงานสร้างสรรค์นับล้านคนสามารถรวมตัวกันเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกันและกันได้ พวกเขาก็จะไม่ต้องพึ่งพาระบบอุปถัมภ์ ไม่ต้องอิงแอบกับค่านิยมอนุรักษ์นิยม

รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี