ความยุติธรรม Archives - Decode

TAG ความยุติธรรม
Lorem ipsum dolor sit amet.

Human Rights

ยาสมิน อุลลาฮฺ : เส้นทาง 32 ปีที่ ‘ลี้ภัย’ รอดตายจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ‘โรฮิงญา’ จนเกือบสูญสิ้นความเป็น ‘คน’

Reading Time: 4 minutes ความเลวร้ายในสังคมปิตาธิปไตยที่เห็นดีเห็นงามกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ตลอดจนกดขี่ เลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ ศาสนา กลายเป็นความรุนแรงที่ฝังลึกและกลายเป็นวัฏจักรวนลูปของความรุนแรงที่ไม่สิ้นสุดและเหวี่ยงชีวิตคนนับล้านให้ต้องพลัดถิ่น 

ความยุติธรรม

ยาสมิน อุลลาฮฺ : เส้นทาง 32 ปีที่ ‘ลี้ภัย’ รอดตายจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ‘โรฮิงญา’ จนเกือบสูญสิ้นความเป็น ‘คน’

Reading Time: 4 minutes ความเลวร้ายในสังคมปิตาธิปไตยที่เห็นดีเห็นงามกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ตลอดจนกดขี่ เลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ ศาสนา กลายเป็นความรุนแรงที่ฝังลึกและกลายเป็นวัฏจักรวนลูปของความรุนแรงที่ไม่สิ้นสุดและเหวี่ยงชีวิตคนนับล้านให้ต้องพลัดถิ่น 

กุลธิดา กระจ่างกุล
ความยุติธรรม

ประวัติศาสตร์ของการลอยนวลพ้นผิด

Reading Time: < 1 minute การลอยนวลพ้นผิดถูกสร้างขึ้นมาจนกลายเป็นวัฒนธรรมของรัฐไทยอย่างไร ไล่เรียงมาตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนมาถึงการรัฐประหาร 2557 ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติซึ่งในช่วงหลังสงครามโลกที่เต็มไปด้วยความไร้เสถียรภาพทางการเมือง จบลงด้วยการทำรัฐประหารของกองทัพในปี 2490 และการก่อตัวของระบอบอำนาจนิยมในสังคมไทย รัฐบาลทหารของจอมพล ป. ที่ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มการเมืองอนุรักษ์นิยมในขณะนั้นใช้ความรุนแรงหลากหลายรูปแบบในการขจัดผู้ที่เห็นต่างจากรัฐ ไม่ว่าจะเป็นการอุ้มหาย การลอบสังหาร การซ้อมทรมาน กลายเป็นแบบแผนของการใช้ความรุนแรงนอกกฎหมาย ที่รัฐแปลงตนเองจากการเป็นผู้ปกป้องคุ้มครองประชาชนกลายไปเป็นผู้ที่ใช้กำลังข่มขู่คุกคามและสังหารประชาชนเสียเอง

รศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ
ความยุติธรรม

ยุคสมัยที่กำลังจะมาถึง…โลกของคนที่เกิดหลัง 2553 สดุดีชีวิตและความยุติธรรม อำลา ‘ปัจเจกนิยม’

Reading Time: < 1 minute เราอาจมองย้อนไปว่าคนที่กำลังจะเป็นคนรุ่นใหม่ต่อไปอีกในอนาคต ก็คือคนที่เกิดหลังปี 2553 ซึ่งตอนนี้ส่วนมากกำลังอยู่ในระดับชั้นมัธยมต้น ผมเองไม่อาจสามารถสรุปคุณค่าของวันพรุ่งนี้ได้ แต่มีเรื่องสำคัญที่เราเองอาจพอวิเคราะห์ได้ว่า ความคาดหมายและมุมมองของเขาต่อโลกได้ดังนี้

รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี
ความยุติธรรม

ตากใบ กระจกสะท้อนกระบวนการยุติธรรม

Reading Time: 2 minutes ขยายประเด็น นวลน้อย ธรรมเสถียร ผ่านกันไปอีกปีหนึ่งสำหรับวันครบรอบเหตุการณ์ตากใบเมื่อ 25 ตุลาคมที่ผ่านมา หลาย ๆ ฝ่ายได้ใช้โอกาสนี้ในการแสดงออกเรื่องปัญหาความไม่เป็นธรรมซึ่งก็เหมือนกับอีกหลายเหตุการณ์ คือเมื่อถึงคราวครบรอบก็พูดกันทีหนึ่ง แต่สรุปแล้วก็อาจจะแค่ได้พูดถึงเท่านั้น อันที่จริงจะพูดว่าไม่มีอะไรใหม่เกิดขึ้นเลยก็อาจจะไม่ตรงทีเดียวนัก เพราะปีนี้เราได้เห็นกลไกของรัฐสภาออกแถลงการณ์เรื่องตากใบ โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาและเสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนการสร้างเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นกรรมาธิการวิสามัญที่เพิ่งจะตั้งขึ้นมาใหม่ ทำให้รัฐสภามีความเคลื่อนไหวในเรื่องสำคัญคือปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ในจังหวะที่สอดรับกับสถานการณ์อย่างมาก เนื้อหาแถลงการณ์ที่ออกมาเมื่อ 25 ตุลาคมที่ผ่านมามีสาระสำคัญเรียกร้องให้รัฐบาลสร้างความเป็นธรรมในกรณีตากใบ โดยระบุอย่างจำเพาะเจาะจงให้มีการดำเนินคดีอาญากับเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับการสลายการชุมนุมที่นำไปสู่การเสียชีวิตของคนจำนวน 85 คนให้ทันก่อนที่อายุความของคดีอาญาจะหมดลงในปีหน้า ยิ่งกว่านั้นยังเรียกหามาตรการที่จะจำกัดไม่ให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจเกินขอบเขต ไม่บังคับใช้กฎหมายจนเกิดการเลือกปฏิบัติและลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยเรียกร้องให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือไม่ก็ยกเลิกกฎหมายความมั่นคงที่ใช้อยู่ในพื้นที่ซึ่งมีอยู่สามฉบับคือกฎอัยการศึก พรก.ฉุกเฉินและพรบ.ความมั่นคง แถลงการณ์บอกว่า การสร้างความเป็นธรรมบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาคจะเป็นการ “ถอนฟืนออกจากไฟ” คือลดความรู้สึกเชิงลบที่ประชาชนมีต่อเจ้าหน้าที่และจะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างบรรยากาศการพูดคุยได้ แถลงการณ์จากรัฐสภาฉบับนี้ผู้เขียนถือว่ามีความหมายอย่างยิ่ง แม้ว่าในทางความเป็นจริงของชีวิต จะเป็นที่รู้กันว่าการจัดการปัญหาภาคใต้ยังคงอยู่ในมือของข้าราชการประจำฝ่ายความมั่นคงซึ่งระบบเข้มแข็งขึ้นอย่างมากภายในเวลาเกือบเก้าปีของรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา และก็ต้องยอมรับด้วยว่ากลไกของรัฐบาลพลเรือนชุดใหม่ยังไม่เข้มแข็งพอในอันที่จะกำหนดมาตรการที่เกี่ยวกับสามจังหวัดภาคใต้ได้อย่างเต็มที่ การที่พรรคการเมืองในรัฐสภาสามารถแสดงบทบาทติดตามกระบวนการสร้างสันติภาพได้อย่างเป็นทางการ อย่างน้อยก็เป็นย่างก้าวสำคัญของการที่กลไกที่เป็นตัวแทนประชาชนจะเข้ามามีส่วนในเรื่องกระบวนการแก้ปัญหาสามจังหวัดภาคใต้ได้ การออกแถลงการณ์เรื่องของเหตุการณ์ตากใบถือได้ว่าเป็นการจัดวางท่วงทำนองที่อ่านได้ว่าฝ่ายตัวแทนของประชาชนมองความขัดแย้งในพื้นที่ จชต.เป็นปัญหาด้านการเมืองอย่างชัดเจน กรณีตากใบไม่ได้มีความสำคัญต่อเฉพาะพ่อแม่ญาติพี่น้องของคนที่เสียชีวิต หรือกับสังคมและชุมชนคนในสามจังหวัดเท่านั้น แต่กับสังคมไทยโดยรวมด้วย  เพราะนี่เป็นตัวอย่างที่สำคัญมากที่สุดอันหนึ่งของปัญหาความไม่เป็นธรรมที่กำลังถูกปล่อยผ่านด้วยวิธีการเยียวยาด้วยเงินและปล่อยให้เวลาลบความทรงจำในขณะที่ช่องทางการทวงถามความยุติธรรมตามระบบถึงทางตัน และอาจจะเพราะด้วยเหตุนี้ การจัดงานรำลึกหรือการพูดถึงแม้จะดูซ้ำซากแต่ก็ยังเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับสังคมไทยเพราะเราต้องเตือนความทรงจำกันเรื่อยไปว่าปัญหาไม่ได้หายไปไหน เหตุการณ์ละเมิดแบบนี้ซึ่งถือเป็นอาชญากรรมไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม แต่ควรจะต้องเริ่มคลี่คลายกันด้วยความเป็นธรรมเป็นอันดับแรก ผู้เขียนเป็นหนึ่งในนักข่าวที่เคยสัมภาษณ์ผู้เสียหายหลายกรณีรวมทั้งตากใบและพบว่า สาระสำคัญที่ผู้เสียหายที่ถูกกระทำโดยรัฐเสนอคือพวกเขาไม่ได้ต้องการเงินมากไปกว่าความยุติธรรม ในเรื่องของตากใบที่มาพูดกันหนักในปีสองปีนี้เนื่องจากเริ่มมีผู้แสดงความเป็นห่วงกันมากกรณีอายุของคดีความที่กำลังจะหมดลงในปีหน้า จากที่ได้สนทนากับนักกฎหมายหลายคน พวกเขายอมรับว่าความเคลื่อนไหวเรื่องนี้ถึงทางตันไปนานแล้วตั้งแต่ขั้นตอนของการไต่สวนการตายซึ่งปกติแล้วถือเป็นจุดเริ่มต้นนับหนึ่งสำหรับการจะดำเนินคดีอาญาในกรณีที่พบว่ามีการตายเกิดขึ้นภายใต้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ คำสั่งไต่สวนการตายกรณีตากใบมีออกมาห้าปีให้หลังเหตุการณ์ เมื่อเดือน พ.ค.2552 ศาลสงขลาอ่านคำสั่งไต่สวนการตายกรณี 78 […]

นวลน้อย ธรรมเสถียร
ความยุติธรรม

2 ปีไม่พบผู้ก่อเหตุสังหาร ‘มานะ หงษ์ทอง’ แต่พบกล้องวงจรปิดในที่เกิดเหตุ 13 ตัว

Reading Time: 4 minutes ลงพื้นที่สอบสวนในทันทีเมื่อทราบข้อมูล และพบว่าพื้นที่ดังกล่าวที่มานะ หงษ์ทองถูกยิง มีกล้องวงจรปิดทั้งหมด 13 ตัว ในระยะโดยรอบไม่เกิน 20 ก้าวเดิน จุดที่มานะหงษ์ ทองถูกยิงเป็นบริเวณริมถนน ไม่มีมุมอับ มีแสงไฟชัดเจน ทั้งในช่วงเวลาดังกล่าวก็มีเพียงตำรวจ คฝ. ที่ควบคุมพื้นที่อย่างเบ็ดเสร็จ เป็นไปได้อย่างไรกัน? ที่ไม่สามารถหาหลักฐานหาตัวผู้ก่อเหตุได้ 

Decode
ความยุติธรรม

18 ปีตากใบ หรือความยุติธรรมจะมาสุดทาง

Reading Time: 2 minutes “รัฐไทย” ในความหมายคือองคาพยพของระบอบไม่กล้าพอที่จะดำรงความถูกต้องให้อยู่ในร่องในรอย คือการนำผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม แต่กลับกันคือการใช้เงินเพื่อเยียวยาเหยื่อ พูดให้ถึงที่สุด พวกเขาใช้เงินเพื่อปกป้องระบอบเอาไว้ มากกว่าที่จะทำให้เรื่องนี้เกิดความเป็นธรรม

ฟาห์เรนน์ นิยมเดชา
ความยุติธรรม

“เป็นเด็กตำรวจ” ปากคำพยาน หลักฐาน(ใหม่)โยงสน.ดินแดง? ฆาตกรรมซ้ำ “วาฤทธิ์ สมน้อย”

Reading Time: 4 minutes การปกปิดความจริง ข้อมูลพยานหลักฐาน และความผิดปกติของคดีวาฤทธิ์ สมน้อย ถูกรวบรวมไว้ในเรื่องราวต่อจากนี้

Decode
ความยุติธรรม

6 ตุลาฯ กวางจู ยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน

Reading Time: < 1 minute ทุกประเทศต่างมีประวัติศาสตร์บาดแผลแต่รัฐไทยเลือกที่จะลบเลือนหลบเลี่ยงอดีต ไม่แสวงหาทั้งความจริงและความยุติธรรม ในขณะที่เกาหลีใต้ เลือกที่จะเผชิญหน้ากับความจริง

รศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ
ความยุติธรรม

ทำไมคนถึงเชื่อฟังอำนาจ และยอมทนต่อความอยุติธรรม ?

Reading Time: 2 minutes ทำไมคนถึงเชื่อฟังอำนาจ? และทำไมคนยอมทนต่อความอยุติธรรม? ผมคิดว่า 2 คำถามน่าสนใจและชวนขบคิดเป็นอย่างยิ่ง เพราะสอดคล้องกับสถานการณ์หลายอย่างในสังคมไทย

รศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ