รัฐสวัสดิการ Archives - Page 3 of 8 - Decode

TAG รัฐสวัสดิการ
Lorem ipsum dolor sit amet.

Economy

อย่าปล่อยให้คนแพ้ต้องดูแลตัวเอง ในเมื่อไม่มีใครดูแลตัวเองได้ตลอด

Reading Time: 2 minutes การผูกงานเข้ากับมูลค่านั้นเป็นผลิตผลสำคัญของระบบทุนนิยม กล่าวอีกอย่างก็คือ กิจกรรมที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจเท่านั้นที่จะถูกว่าเป็น “งาน” ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวก็ทำให้คนที่มีส่วนสร้างมูลค่ากลายมาเป็น “คนทำงาน” ส่วนคนอื่น ๆ นั้นไม่ได้ทำงานเพราะพวกเขาไม่ได้สร้างมูลค่าแต่อย่างใด ผลผลิตของการผูกงานเข้ากับมูลค่าจึงทำให้มีคนจำนวนหนึ่งที่ไม่ได้ทำงาน เพราะพวกเขาทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ไม่ได้นำไปสู่หรือไม่ได้กำลังสร้างมูลค่า แม้ว่าพวกเขาจะทำกิจกรรมนั้น ๆ จนตัวตาย พวกเขาก็ไม่ได้ถูกนับว่าทำงาน … หลาย ๆ ครั้ง ผู้ดูแลซึ่งหารายได้ไม่ได้ เพราะเขาไม่มีโอกาสออกไปหารายได้นอกบ้านก็ถูกมองว่าเป็นภาระของสังคม

รัฐสวัสดิการ

วิ่งยา-ค้าบริการ-ทัวร์สถานพินิจ สิ้นสุดทางเลื่อนของ ‘เด็กหลุด’

Reading Time: 4 minutes ปัญหาพื้นที่ที่บีบรัดให้พวกเขาไม่ได้มีครอบครัวและโรงเรียนเป็นที่ปลอดภัย มาจนถึงมาตรการนโยบายภาครัฐที่ยังไม่มีวี่แววของการรองรับพวกเขา
จากชานชาลาบ้านเกิดมาถึงหัวลำโพง นี่คือการเดินทางมาสุดขอบของเด็กที่ระบบตกสำรวจหลายคนได้มาถึง และยังไม่มีกริ่งดังให้พวกเขากลับเข้าห้องเรียนสักที

นทธร เกตุชู
รัฐสวัสดิการ

Cyberpunk 2077 Edge runner สู่ดวงจันทร์อันไกลโพ้นยังใกล้กว่าการไปถึงรัฐสวัสดิการ

Reading Time: 2 minutes การถีบตัวเองขึ้นไปเพื่อไขว่คว้าหาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอาจไม่มีจริงในเมืองแห่งนี้
เพราะตัวเลขในบัญชีต่างหาก ที่จะกำหนดว่าเราจะได้มีชีวิตอยู่อย่างไรและต้องจากไปแบบไหน

นทธร เกตุชู
รัฐสวัสดิการ

Care Income: งานดูแลทุกข์สุขคนในบ้านต้องมีค่าตอบแทน และถูกคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ

Reading Time: 2 minutes วงเสวนา “การเริ่มต้นบทสนทนาเรื่อง CARE INCOME คุณค่าและค่าตอบแทนงานของแม่และคนทำงานดูแล” ซึ่งมีการพูดถึงและอยากให้สังคมมีการผลักดันให้ “คนทำงานดูแล” มีค่าตอบแทน มีรัฐสวัสดิการ เพราะนี่ก็ถือ “เป็นการงาน” เช่นกัน ซึ่งที่ผ่านมาในปีประเทศไทยเคยลงนามในปฏิญญาและแผนปฏิบัติเพื่อความก้าวหน้าของสตรีเมื่อปี 2538 ซึ่งระบุว่า ต้องคิดมูลค่าเศรษฐกิจของงานดูแลบ้านที่ผู้หญิงทำด้วย แต่จนถึงทุกวันนี้ ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง

กัลยาวีร์ แววคล้ายหงษ์
รัฐสวัสดิการ

ทบทวนคลื่นกระแสรัฐสวัสดิการ ปี 2565

Reading Time: < 1 minute ในปี 2565 การต่อสู้เรื่องรัฐสวัสดิการยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความสำคัญที่ยังจำเป็นต้องย้ำเตือนคือแม้ว่าอาจยังไม่ได้สัมผัสถึงนโยบายที่เป็นรูปธรรม แต่การต่อสู้ได้ยกระดับและเพดานของการต่อสู้ให้การต่อสู้เพื่อการสร้างรัฐสวัสดิการในมิติต่าง ๆ กลายเป็นที่พูดถึงและยอมรับมากขึ้นในวงกว้าง หากทำการสรุปประเด็นขับเคลื่อนที่เกี่ยวพันกับเรื่องรัฐสวัสดิการที่ถูกพูดถึงในวงกว้างสามารถสรุปสามประเด็น ประเด็นแรกคือประเด็นบำนาญ ประเด็นที่สองคือ เรื่องล้างหนี้ กยศ. และเรียนมหาวิทยาลัยฟรี ส่วนประเด็นที่สามคือประเด็นการขยายวันลาคลอด 180 วัน บทความนี้จะทำการทบทวนว่าประเด็นทั้งสามถูกผลักดันไปในแนวทางใดบ้างในสังคม

รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี
รัฐสวัสดิการ

มายาคติ ‘ความสำเร็จ’

Reading Time: 2 minutes เริ่มจากแค่ว่า ทุกคนมีโอกาสที่เท่าเทียมกันในการก้าวจากดินสู่ดาวจริงหรือไม่ ข้อเท็จจริงที่แซนเดลชี้ให้เห็น (ซึ่งนักการศึกษาจำนวนมากก็ชี้ให้เห็นมานานแล้ว) นั้นตรงกันข้าม ข้อมูลชี้ว่านักศึกษาที่เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยชั้นนำในสหรัฐฯ นั้นส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่มีฐานะร่ำรวยกว่าค่าเฉลี่ยของสังคม และยิ่งนานวันเข้าสัดส่วนของเด็กจากครอบครัวที่ยากจนก็ฝ่าฟันเข้าเรียนมหาวิทยาลัยชั้นนำได้น้อยลงไปเรื่อย ๆ

รศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ
รัฐสวัสดิการ

สวัสดิการ(HPV)ล่องหน หลายพันคนล้มตายเหมือนใบไม้ร่วง

Reading Time: 2 minutes ไขรหัสการเข้าถึงวัคซีนป้องกัน HPV กับ ศาสตราจารย์ น.พ.ภิเศก ลุมพิกานนท์ อดีตประธานราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย และ กรกนก คำตา นักกิจกรรมสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ และความเป็นธรรมทางเพศ พร้อมตั้งคำถามร่วมกันว่า ในขณะที่วันเวลาล่วงเลยผ่านไปแต่ทำไมเรายังแก้ไขปัญหามะเร็งปากมดลูกกันไม่ได้สักที

ณัฐพร เทพานนท์
รัฐสวัสดิการ

Moral Hazard มายาคติและความกลัวประชาชนจะมีสวัสดิการที่ดี

Reading Time: < 1 minute “ความอันตรายทางศีลธรรม-Moral Hazard” เหมือนข้อกล่าวหาว่าหาก มีการรักษาพยาบาล ที่ไม่คิดค่าใช้จ่าย จะทำให้คนไม่ดูแลสุขภาพ หรือหากการศึกษาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายจะทำให้คนไม่ตั้งใจเรียนหนังสือหรือไปเรียนในสาขาที่ตนไม่ได้มีความสนใจหรือถนัด การกล่าวว่าถ้ามีเงินบำนาญที่เพียงพอจะทำให้คนไม่วางแผนการเงินก่อนการเกษียณ เราจะพบว่าคำกล่าวเหล่านี้เป็นคำกล่าวที่วัดจากปรากฏการณ์บางปรากฏการณ์ที่ผิวเผิน

รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี
รัฐสวัสดิการ

เป็นพ่อแม่เมื่อพร้อมกับทุกความสัมพันธ์ของสังคมไร้รัฐสวัสดิการ

Reading Time: < 1 minute “มีพ่อแม่เมื่อพร้อม” อันเป็นความโชคร้ายเพราะเอาเข้าจริงแล้วมันน่าตั้งคำถามว่า ในทุกความสัมพันธ์มนุษย์สามารถพร้อมกับมันแค่ไหน และเป็นความรับผิดชอบของเราในระดับไหนหากเกิดความไม่พร้อมขึ้นมา

รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี
รัฐสวัสดิการ

มีลูกในประเทศที่แม่ ‘ลาคลอด’ ไม่ใช่เรื่องชิลล์ ๆ

Reading Time: 3 minutes ลาคลอด 180 วัน ไม่เป็นธรรมต่อคนอื่นและผู้ประกอบการเอาเสียเลย? De/code ยกโทรศัพท์โทรหา หมอดาว เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นสิทธิลาคลอดที่ย้ำเตือนว่า ขณะที่สังคมหันมาถกเถียงกันเองนั้น ก็ได้เปิดช่องให้ระบบที่มีอำนาจอย่างรัฐ ทุนนิยม และปิตาธิปไตยลอยตัวเหนือปัญหาที่ตนก่อเสมอมา

ณัฐพร เทพานนท์
รัฐสวัสดิการ

มนต์รักทรานซิสเตอร์ ที่เธอ เขา เรายังร้องไห้ให้กับความเหลื่อมล้ำของประเทศนี้

Reading Time: < 1 minute บทละครชวนเศร้า ไม่ใช่เพราะว่า มนต์รักทรานซิสเตอร์เป็นวรรณกรรมที่งดงามหรือสูงส่ง แต่เพียงแค่ว่าความเหลื่อมล้ำ ความเศร้าที่เกิดขึ้น ที่เราเห็นในละครเวที ในบทประพันธ์ มันแทบเหมือนกับสิ่งที่เกิดเมื่อวานนี้ ความเหลื่อมล้ำที่เกาะกินในสังคมไทยมันแทบไม่เปลี่ยนแปลงเลย บางช่วงจังหวะของบทละครพาผมเสียน้ำตาเมื่อผมเทียบกับปรากฏการณ์หลายอย่างที่เกิดขึ้นในสังคมไทยในช่วงเวลาที่ผ่านมา

รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี
รัฐสวัสดิการ

#ล้างหนี้กยศ: เพราะสิทธิที่ไม่แฟร์ตั้งแต่ต้น การลงทุนการศึกษาจึงควรเป็นที่รัฐหรือเรา?

Reading Time: 5 minutes #ล้างหนี้กยศ เปิดพื้นที่ถกเถียงถึงสิทธิทางการศึกษา และมุมมองต่อการเข้าถึงการศึกษาของประชาชนได้หลากหลายอีกครั้ง แต่ในมุมมองครั้งนี้แตกต่างออกไป ไม่ใช่การพูดถึงคุณภาพการศึกษา ไม่ใช่การพูดถึงการปฏิรูปการศึกษา แต่กลับไปยังประเด็นพื้นฐานว่า แล้วการศึกษา คือ หน้าที่และสิทธิที่ใครควรจะต้องรับผิดชอบ ระหว่างรัฐหรือเรา

กัลยาวีร์ แววคล้ายหงษ์
รัฐสวัสดิการ

“ฉันจ่ายเงินค่าเทอมเองทั้งหมดและฉันจะจ่ายให้พวกคุณด้วยเพราะเราต้องการสังคมที่ก้าวหน้า” ลบมายาคติ ‘ล้างหนี้การศึกษา’ กรณีสหรัฐอเมริกา

Reading Time: < 1 minute “ฉันทำงานหนักมาทั้งชีวิตเพื่อจ่ายให้ตัวเองได้เรียนมหาวิทยาลัย และวันนี้ฉันและครอบครัวก็ยินดีที่จะจ่ายภาษีเพื่อให้คนอื่นได้เรียนเช่นกัน เพราะเรา ต้องการสังคมที่ก้าวหน้า เราต้องการสังคมที่อุดมไปด้วยคนมีการศึกษา”

รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี