
YOU ARE WHAT YOU READ
Lorem ipsum dolor sit amet.
เล่นแร่แปรธาตุ ‘มหาลัย’ สู่ ‘บรรษัททางการศึกษา’ ที่ไร้เสรีภาพ
Reading Time: 3 minutesผลกระทบของรัฐประหารที่ไม่ใช่แค่สั่นคลอนต่อระบอบการเมือง แต่ยังรวมไปถึงการอุดมศึกษา ที่รัฐประหารเป็นช่วงเวลาสำคัญในการออกนอกระบบของมหาวิทยาลัย เปิดช่องทางให้ ‘อำนาจการเมืองและทุน’ เข้ามากำกับคุณค่า การเป็นที่รับรู้ของสถาบันอุดมศึกษา ในขณะเดียวกันความพยายามนี้ ก็มีเสียงสะท้อนจากภายในและภายนอกระบบ ว่าการอุดมศึกษาไทย ซุกปัญหา “ทุน” และ “อำนาจ” ไว้ใต้พรม รายงาน Failed University ที่แปลว่า มหาวิทยาลัยที่ล้มเหลว จากข้อเสนอของ ร.ศ. ดร. พันธุ์ปิติ เปี่ยมสง่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และนักวิชาการร่วมจัดทำรายงานรวบรวมปัญหาภายในอุดมศึกษา ของความพยายามนำตัวเลขการจัดอันดับแรงก์กิ้งมาเป็นตัววัดผลสำเร็จทางการศึกษา ละทิ้งการพัฒนาผู้เรียนผ่านการปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัย ไม่ส่งเสริมนักวิชาการให้ปฏิบัติหน้าที่ผลิตงานวิจัยสร้างสรรค์ สะท้อนคำขยายของรายงานที่ว่าด้วย ‘อำนาจที่ไร้เป้าหมาย เกียรติยศที่ไร้ความก้าวหน้า’ ซึ่ง รศ. สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หยิบยกรายงานมาขยายสภาวะระบบการเมือง ‘บ้านใหญ่’ ของสภามหาวิทยาลัยที่ชัดเจนหลังจากมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ใช้ตำแหน่งเก้าอี้ภายในสภาเพื่อกอบโกยผลประโยชน์ส่วนตัว ผลัดกันรับตำแหน่ง มีฐานเสียงโดยไม่จำเป็นต้องสนใจกับกระแสทิศทางความเห็นภายนอก ในฐานะผู้สอนสาขานิติศาสตร์ รศ. สมชาย ยกตัวอย่างถึงความบิดเบี้ยวของกระบวนการยุติธรรมไทย ที่ไม่เคยเห็นจุดยืนจากสำนักสาขานิติศาสตร์ ออกมาโต้แย้งจากความเห็นเชิงสถาบัน ทำให้เสียงของการโต้แย้งเป็นเพียงปัจเจก ไม่มีการระบุสังกัดเพราะถูกห้ามไม่ให้พูดถึง เสรีภาพการแสดงออกจึงเกิดขึ้นตราบที่ไม่กระทบกับอำนาจรัฐ ทั้งที่สิ่งเหล่านี้ […]
ปลุกผี ‘ชาตินิยม’ ย้อนดูบทเรียนปัญหาสามจังหวัดชายแดนใต้
Reading Time: 3 minutesขยายประเด็น นวลน้อย ธรรมเสถียร ปฏิกิริยาต่อปัญหาชายแดนไทยกับกัมพูชาหนนี้ ทำให้เห็นชัดอย่างหนึ่งว่า กระแสชาตินิยมไทยนั้นปลุกได้ง่ายมาก เราได้เห็นท่วงทำนองชาตินิยมที่ประกอบไปด้วยการทวงบุญทวงคุณ การตำหนิว่า เขมรแอบอ้างสมบัติ หรือมรดกทางวัฒนธรรม การปลุกประเด็นทวงคืนพื้นที่บางแห่ง การสนับสนุนการใช้กำลังตัดสินปัญหา และแน่นอนว่าเราได้เห็นความพยายามที่จะทำให้เสียงที่ “เห็นต่าง” เงียบลง บางทีด้วยการข่มขู่ บางครั้งด้วยความหยาบคาย ด้วยเฮทสปีชที่กำลังกลายเป็นความเคยชินของผู้ใช้โซเชียลไปแล้ว ชาตินิยมอาจมีข้อดีในยามที่ต้องการการรวมพลังสู้ภัยคุกคาม แต่ถ้าไม่ระวังและปล่อยเลยเถิดมันก็อาจจะกลายเป็นภัยที่กัดกินตัวเอง ยังไม่นับว่ามันอาจทำลายโอกาสในการหาทางออกต่อความขัดแย้งแบบสันติ ผู้เขียนอยากจะเล่าเรื่องของชาตินิยมกับผลกระทบที่ฝากเอาไว้อย่างยาวนานในเรื่องหนึ่ง นั่นคือผลของการใช้แนวทางชาตินิยมที่มีส่วนอย่างสำคัญต่อปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ชาตินิยมที่จับต้องได้ง่ายสำหรับเรา ๆ ท่าน ๆ คือผ่านเสียงเพลง หลายคนคงได้ยินเพลงเก่าที่นำมาร้องกันใหม่หลายเวอร์ชันอย่างเพลง “บ้านเกิดเมืองนอน” เพลงนี้อยู่ในกลุ่มเพลงปลุกใจที่เกิดขึ้นในช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่สองภายใต้อิทธิพลของกระแสชาตินิยมในยุคที่ จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งแรก เพลงนี้เป็นเพลงของคณะสุนทราภรณ์ซึ่งแปลงร่างมาจากวงโฆษณาการและทำหน้าที่ช่วยแปลงสารด้านนโยบายไปสู่การปลุกใจให้พลเรือนนำไปปฏิบัติตาม “บ้านเกิดเมืองนอน” เป็นเพลงที่ชนะการประกวดเพลงปลุกใจในปี 2488 เนื้อเพลงเรียกเร้าความภาคภูมิใจตั้งแต่คำแรก ๆ “บ้านเมืองเรารุ่งเรืองพร้อมอยู่หมู่เหล่า พวกเราล้วนพงษ์เผ่าศิวิไลซ์ เพราะฉะนั้นชวนกันยินดี เปรมปรีดีใจเรียกตนว่าไทย แดนดินผืนใหญ่มิใช่ทาสเขา” “ก่อนนี้มีเขตแดนนับว่ากว้างใหญ่ ได้ไว้พลีเลือดเนื้อแลกเอา รบ รบ รบ ไม่หวั่นใคร มอบความเป็นไทยให้พวกเรา แต่ครั้งนานกาลเก่าชาติเราเขาเรียกชาติไทย……” ต้องขีดเส้นใต้คำว่า คนไทยเป็น […]
ผำ ไข่น้ำ รูป นาม และความท้าทาย
Reading Time: 3 minutesช่วงราวไม่ถึงสามปีที่ผ่านมา เกิดกระแสสนใจพืชอาหารถิ่นชนิดหนึ่ง ซึ่งเดิมทีก็มีการหาอยู่หากินกันในหมู่ผู้คนในชนบทอยู่แล้ว แต่ความสนใจนั้นดูจะขยายตัวกว้างออกไปยังคนนอกวัฒนธรรมอย่างรวดเร็วราวไฟป่า นั่นก็คือกระแส “ตื่นผำ” ที่ผู้บริโภคชาวไทยหันมาสนใจและพูดถึงพืชลอยน้ำสีเขียวขนาดเล็กจิ๋ว เรียกกันหลายชื่อ ตั้งแต่ผำ (Wolffia) ไข่ผำ ไข่น้ำ ฯลฯ กันมากมายอย่างไม่เคยมีมาก่อน
‘สารหนู’ ไม่ไหลกลับ เศรษฐกิจหลับใหล
Reading Time: 4 minutesความเจ็บปวดบางอย่างอาจทิ้งแผลฝังลึกเอาไว้ เช่นเดียวกับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับแม่น้ำกกยังหลงเหลือให้เห็นซากปรักหักพังของบ้านเรือน รีสอร์ท ตลอดสองฝั่งแม่น้ำกก ต.ท่าตอน อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากพายุยางิเมื่อปลายเดือนกันยายน 2567 บางรีสอร์ททิ้งร้าง รอการซ่อมแซม ฟื้นฟู มาวันนี้ถูกซ้ำเติมอย่างหนักจากพิษ ‘สารหนู’ ข้ามพรมแดน สีที่ขุ่นข้นของแม่น้ำกกในฤดูน้ำหลากเช่นนี้ จึงเสมือนเครื่องบันทึกความเจ็บปวดซ้ำซากของผู้คน สิ่งแวดล้อม และสายน้ำกำลังจมดิ่งในความรุนแรงที่มองไม่เห็น ยิ่งเป็นหมู่บ้าน ‘ไกลปืนเที่ยง’ ตามนิยามของความห่างใกล้เชียงรายมากกว่าเชียงใหม่ ด้วยระยะทาง 96.9 กิโลเมตรจากตัวเมืองเชียงราย เราเดินทางลัดเลาะไปตามเส้นทางถนนแม่จัน-ฝาง บางขณะดินสไลด์ถนนขาดบางช่องจราจร ‘ถึงแล้ว’ บ้านแก่งทรายมูล ต.ท่าตอน อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ซึ่งติดกับประเทศเมียนมาโดยมีแม่น้ำกกเป็นแนวพรมแดน ในอดีตเป็นจุดสิ้นสุดทางหลวงแผ่นดินถ้าจะเดินทางต่อไปยังจังหวัดเชียงรายจะต้องนั่งเรือหางยาวล่องไปตามแม่น้ำกกใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมงเลยทีเดียว “แก่งกลางแม่น้ำกก เป็นที่มาของชื่อบ้านแก่งทรายมูล เมื่อก่อนจะมีทรายสีขาวเลย แต่ตอนนี้ที่เห็นนี่ไม่ใช่ทรายนะ โคลนทั้งนั้นเลย” เราเลี้ยวตามป้ายบอกทาง ‘ท่าตอน การ์เด้น รีสอร์ท’ บ้านพักหลายหลังสร้างให้กลืนไปกับสวนลิ้นจี่ที่กำลังออกผลพร้อมให้เก็บเกี่ยวในอีกไม่กี่วัน พี่สามารถ พลูเกตุ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านแก่งทรายมูล และในอีกฐานหนึ่งคือเป็นผู้ประกอบการรีสอร์ทในพื้นที่ท่าตอน พาเราย้อนกลับไปเมื่อ 7 ปีก่อน อาชีพตั้งต้นของพี่สามารถคือการประกอบกิจการจากซุ้มแพอาหาร ก่อนจะต่อยอดไปเป็นห้องพัก ร้านอาหาร รวมไปถึงสวนลิ้นจี่ในพื้นที่รวมกันประมาณ […]
‘เซาะกร่อน’ ใต้เกลียวคลื่นเศรษฐกิจพิเศษ
Reading Time: 3 minutesเซาะกร่อน (ก.) หมายถึงทำให้ร่อยหรอไปทีละน้อย ไม่แน่ว่าสุดท้ายอาจไม่เหลือพื้นที่การเติบโตของเศรษฐกิจฐานราก ไม่มีทรัพยากรที่สมบูรณ์ให้พึ่งพิง และอาจไม่เหลือวิถีชีวิตของผู้คนในภูมิภาคที่ลุ่มรวยด้วยฐานทรัพยากรอย่างภาคใต้ ไม่ใช่แค่นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ระนองและชุมพร เท่านั้น ในย่างก้าวของความเงียบ (ร่าง)พระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) 4 ฉบับกำลังย่องเข้าเทียบท่าในรัฐสภา ภาพชีวิตของคนพื้นถิ่นถูกถ่ายทอดผ่านการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ปรากฏชัดในตัวอักษรของเล่มรายงาน Land Bridge Effect ผลกระทบโครงการท่าเรือน้ำลึกแลนด์บริจน์ชุมพร – ระนอง Play Read สัปดาห์นี้จึงต้องยอมรับแต่โดยดีว่า จะมีน้ำเสียงวิชาการหน่อย ๆ เพราะเห็นควรว่า ต้องหยิบตัวเลขที่น่าสนใจจากงานศึกษาในเล่มรายงาน Land Bridge Effect มาเล่าเคล้ากับบทสนทนาของชาวระนองที่ผู้เขียนมีโอกาสพบปะสนทนาเมื่อไม่กี่วันมานี้ อย่างน้อยก็คงจะช่วยขยายเป็นภาพอนาคตให้จิตนาการได้ชัดเจนขึ้น คลื่นทะเลเล็กน้อยสามารถออกเลได้สบาย ๆ 30-50 เดซิเบล ความดังของคลื่นกระทบฝั่งในยามปกติ กำลังสร้างงานสร้างรายได้ในทุกพื้นที่ที่คลื่นซัดถึง ทุกวันนี้การทำประมงพื้นบ้านก่อให้เกิดการจ้างงานในระดับครัวเรือนและชุมชน โดยประมงขนาดเล็กทั้งเรือหัวตัด เรือโทง เรือท้ายตัด ทำให้เกิดการจ้างงานราว 1-2 คนต่อเรือหนึ่งลำ มีรายได้เฉลี่ยคนละ 450-650 บาทต่อวัน จากการใช้ระยะเวลาทำงานเพียง 4-6 ชั่วโมง ผลการสำรวจของทีมวิจัยพบว่า […]
อัลกอริทึ่มของความรุนแรงทางเพศ ในโลกที่ ‘บิ๊กเทค’ มีอำนาจเทียบเท่า ‘รัฐ’ ใครเป็นผู้ขีดเส้นเสรีภาพ
Reading Time: 6 minutesนับตั้งแต่ปี 2566-2568 เกิดการเลือกตั้งทั้งเล็ก-ใหญ่ ในสนามการเมืองระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ รวมไปถึงประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคอาเซียน แต่ไม่ได้มีเพียงความคุกรุ่นทางการเมืองที่ร้อนแรงระหว่างการเลือกตั้ง แต่ยังพบว่าเกิดการใช้ความรุนแรงบนโลกออนไลน์ที่ยังเลือก ‘เพศ’ และหลังการเลือกตั้งมีแนวโน้มว่าความรุนแรงนี้ กลายเป็นเรื่อง ‘ปกติ’ ในโซเชียลมีเดีย
เส้นบาง ๆ ของการกำกับควบคุมและอำนาจที่ล้นมือรัฐและบริษัทเทคฯ ต้องสร้างสมดุลเพื่อมอบพื้นที่ปลอดภัยข้ามพรมแดนให้กับประชาชน เมื่อปัญหานี้ไม่ใช่แค่เรื่องของนักการเมืองหญิง แต่เกี่ยวกับความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ของเราทุกคน